Saturday, 1 June 2013

Autodesk Land Desktop: การปรับแก้งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' (เขียน Batch File ด้วยตนเอง)

>> Civil 3D: การปรับแก้งานสำรวจวงรอบ ด้วยชุดคำสั่ง Map Check

ผู้เขียนขออนุญาติ ตามน้ำไปอีกหนึ่งบทความ กับงานคำนวณวงรอบ (ยัง In อยู่ o_o) 
หมายเหตุ: การสาธิตดังกล่าว เป็นการนำเอาชุดคำสั่งการเขียน Batch File (พิมพ์ค่ามุม ด้วยตนเอง) มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและคำนวณปรับแก้งานวงรอบ โดยการพิจารณาค่า "มุมภายใน" 
* วิธีการดังกล่าว ได้นำภาคทิศอะซิมัทของหมุดฯคู่แรกออก เข้ามาร่วมในการคำนวณวงรอบ ฉะนั้น...หมุดฯคู่ แรกออกใดๆ (โดยเฉพาะจากงานสำรวจฯ GPS) ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนเชิงมุม ระหว่างหมุดฯ 'มาก' (ซึ่งจะทำให้แนวเส้นอะซิมัท เหวี่ยง/Swing ออกไปจากทิศทางที่ถูกต้อง) ไม่ควร ใช้การปรับแก้ด้วยวิธีนี้
* ในการดำเนินการสำรวจฯวงรอบในสนาม 'ควรที่จะ' ทำการสเก๊ตแบบ รูปร่างของพื้นที่ ทิศทาง จำนวนหมุดวงรอบ และค่ามุม 'ภายใน' คร่าวๆ ฯลฯ ลงในสมุดสนาม ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้ศึกษา มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เวลาพิมพ์ข้อมูลสำรวจเข้าสู่ตัวโปรแกรมฯ

Hand On:
1. สร้าง Batch file >> เปิดโปรแกรม Notepad และทำการพิมพ์ข้อมูลสำรวจฯ โดยมีหลักการพิมพ์คำสั่ง NE, STN, BS และ AD ดังนี้;
ตัวอย่าง Batch file สาธิต (+ดูภาพข้างต้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาทิศทางของมุม)
บรรทัดที่ 1 > กำหนด 'ค่าพิกัด' ของจุดตั้งกล้องฯ จากตัวอย่าง NE 1 5000 1000 "BM-1" หมายความว่า ที่ หมุดฯวงรอบที่ 1 มี่ค่า Northing=5000 และค่า Easting=1000 และมีชื่อหมุดฯว่า BM-1 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

บรรทัดที่ 2 > กำหนดสถานะให้กับหมุดฯ จากตัวอย่าง STN 1 หมายความว่าหมุดฯวงรอบที่ 1 ถูกกำหนดให้เป็นจุดตั้งกล้อง

บรรทัดที่ 3 > กำหนด 'ค่าพิกัด' ของจุด Backsight จากตัวอย่าง
NE 6 5050.401 556.644 "BM-2" หมายความว่า ที่ หมุดฯวงรอบที่ 6 มี่ค่า Northing=5050.401 และค่า Easting=556.644 และมีชื่อหมุดฯว่า BM-2 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

บรรทัดที่ 4 > กำหนดสถานะให้กับหมุดฯ จากตัวอย่าง BS 6 หมายความว่าหมุดฯวงรอบที่ 6 ถูกกำหนดให้เป็นจุด Backsight


บรรทัดที่ 5 > จากตัวอย่าง AD 2 143.2240 388.028 "2" หมายความว่า กล้องฯได้ส่องไปยังเป้าหน้า (AD) ซึ่งเป็นหมุดฯวงรอบหมายเลข 2 มี่ค่ามุมภายใน 143* 22' 40" (ให้พิมพ์ค่ามุมเป็น 143.2240) และมีชื่อหมุดฯว่า 2 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

หมายเหตุ: 'ค่ามุมภายใน' ควรที่จะถูกสำรวจรังวัด ตามหลักวิธีการของงานสำรวจฯวงรอบ โดยเป็น 'ค่ามุมเฉลี่ย' ที่ได้จากการอ่านค่ามุมอย่างน้อย 4 ชุด หรือ 4 ศูนย์ ทั้งกล้องฯหน้าซ้าย และหน้าขวา (หรือจากการอ่านมุมทบ)

บรรทัดที่ 6 > STN 2 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 2 เป็นจุดตั้งกล้องฯ

บรรทัดที่ 7 > BS 1 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 1 เป็นจุด Backsight

บรรทัดที่ 8 > กล้องฯได้ส่องไปยังหมุดฯถัดไป คือหมุดฯที่ 3
AD 3 132.5038 412.331 "3"

บรรทัดที่ 9 > STN 3 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 3 เป็นจุดตั้งกล้องฯ

บรรทัดที่ 10 > BS 2 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 2 เป็นจุด Backsight

บรรทัดที่ 11> กล้องฯได้ส่องไปยังหมุดฯถัดไป คือหมุดฯที่
4 AD 4 68.3507 476.839 "4"

* ทำซ้ำในลักษณะเดียวกัน ตามตัวอย่างขั้นต้น...และเข้าบรรจบที่เป้าหน้า (AD) ซึ่งเป็นหมุดฯ Backsight (หมุดฯวงรอบที่ 6) จากตัวอย่าง คือ AD 6 74.2845 562.278 "BM-2"
* ดาวน์โหลดตัวอย่าง Batch file ข้างต้น >> Click!
* ทำการ save เป็นชื่อ Batch.txt
* ที่โปรแกรม AutoCAD Land Desktop ให้ทำการสร้างโปรเจคขึ้นมาใหม่ และทำการ copy/cut ไฟล์ Batch.txt ที่สร้างไว้ข้างต้น และนำไป Paste ที่โฟลเดอร์ survey (ตัวอย่าง C:\Land Projects 200x\Project name\survey)

2. ชุดคำสั่ง การคำนวณวงรอบ (*เปลี่ยน Workspace เป็น Survey จึงจะเห็นชุดคำสั่ง)
>> ที่แท๊ป Data Collection/Input > Batch File > Run Batch File > ทำตามคำสั่งที่ Command Line

สามารถใช้คำสั่ง Slow Motion/Walk Through เพื่อตรวจสอบทิศทาง BS./FS. ของแนวเส้นวงรอบ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Define Loop
กำหนดรายละเอียดให้กับ หมายเลขหมุดฯ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Adjustment Setting
กำหนดรายละเอียดวิธีการคำนวณวงรอบ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Adjust Loop > ที่ Command Line กด Enter (หรือใส่หมายเลขวงรอบ+Enter) > จะพบหน้าต่าง เหมือนกับขั้นตอนข้างต้น (ในกรณี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม) > Ok

จะพบหน้าต่าง แสดงผล-รายงาน การปรับแก้งานวงรอบ 3 หน้าต่าง ดังนี้
an1.trv

ba1.trv

1.lso

>> ในปัจจุบัน มีโปรแกรมประยุกต์มากมายที่มีความสามารถในการคำนวณปรับแก้งานวงรอบ อีกทั้งยังสามารถทำการปรับแก้งานวงรอบ ด้วยวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากการปรับแก้ด้วยวิธี Compass Rule และ Transit Rule (ขั้นพื้นฐาน) อาทิ
- Crandall Rule
- Least Squares
- Bowditch Rule
* ผู้เขียน ได้สาธิตวิธีการใช้งานโปรแกรมคำนวณปรับแก้งานวงรอบ ทั้ง AutoCAD Civil 3D และ AutoCAD Land Desktop...แต่ตัวผู้เขียนเอง กลับใช้โปรแกรม Traverse Pro ของพี่ประจวบ (ผู้เขียนนับถือเป็นอาจารย์ทางด้านงานสำรวจฯ) ช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณปรับแก้วงรอบ => ดาวน์โหลดโปรแกรม Traverse Pro 
* ในยุทธจักร งานสำรวจฯ...ว่ากันว่า โปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการคำนวณปรับแก้งานวงรอบ ที่ได้รับการยอมรับว่า 'ขั้นเทพ' เหนือกว่าโปรแกรมฯอื่นๆ นั่นคือ โปรแกรม MicroSurvey โดยชุดคำสั่งที่ชื่อว่า 'Star*Net' (มีคำสั่งปรับแก้ 'โครงข่ายสามเหลี่ยม' ด้วยนะเออ)
* ผู้เขียนกำลังศึกษาการใช้งาน Star*Net อยู่เช่นกัน (ค่อนข้างยากทีเดียว T_T)

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

1 comment:

  1. ขอบคุณครับ หาคนสอนงานสำรวจแบบท่านได้ยากในประเทศนี้ ขอนับถือเป็นอาจารย์ จะคอยติดตามครับ
    คมกฤต

    ReplyDelete