Wednesday 27 February 2013

Blog Archive: ดัชนีบทความ

ดัชนีบทความ:
[ 2021]

[ 2020]
Article No.117: GNSS Solutions...กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (ลงทุนฆ่าควาย แต่เสียดายพริก)
Article No.116: แผนที่เส้นทางภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในระบบ 3 มิติ (Tham Luang Physical 3D Scanning Cave Database)

[ 2019]
Article No.115: เรื่องขิงๆ กับงานสำรวจฯ Levelling ในประเทศเพื่อนบ้าน...ความ 'ย้อนแย้ง' ที่ยอมรับ 'บ่ได้'
Article No.114: Draft Google Map (Vector) to CAD as Background...ชิล ชิล
Article No.113: CHC - GPS (GNSS)...'หยวน' เขามาแรงในชั่วโมงนี้
Article No.112: คู่มือการใช้งานโปรแกรม Agisoft Metashape (Version 1.5.x)



[ 2017]
Article No.106: จำหน่าย เครื่องคิดเลข Casio fx-7400GII (มือหนึ่ง) + สูตรงานสำรวจรังวัด พร้อมคู่มือการใช้งานสูตรฯ ภาษาไทย (Survey Programs Pre-loaded)

[ 2016]

November
Article No.105: รีวิว แบบว่าๆ 'หยวนๆ'...กับ กล้องโททอล สเตชั่น จากค่าย South รุ่น NTS-342R6A

October
Article No.104: Civil 3D: การแสดงผลจำนวนจุดทศนิยมของค่าระดับ หลังจากการอัพโหลดไฟล์จุดสำรวจเข้าสู่ตัวโปรแกรมฯ

September
Article No.103: Interpolation Method of Surface Representation...เส้นสวย ด้วยการปรับแต่ง? ในงานแผนที่ฯ EP.1

August
Article No.102: Civil 3D: Land Parcels (ว่าด้วยเรื่อง การแบ่ง 'พื้นที่' ออกเป็นส่วนๆ)

[ 2015 ]

October
Article No.101: รีวิว แบบว่าๆ 'หยวนๆ'...กับ เครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียม (ระบบ GNSS) ยี่ห้อ CHC รุ่น x91

June
Article No.100: งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 5...ตารางการคำนวณ และปรับแก้งานสำรวจวงรอบ (ชิวๆ by Geospatial)

May
Article No.99: ยังหายใจอยู่ครับ!...กับภารกิจงานสำรวจฯ และก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Onshore LNG Facilities Project)

[ 2013 ]

December
Article No.98: การคำนวณหาความสำพันธ์ระหว่าง % ความลาดชัน ค่ามุมเอียง และอัตรส่วนความลาดชัน (Slope Ratio)

November
Article No.97: Leica...กว่าจะมาเป็น 'ที่สุดของโลก' ตอนที่ 1 (ปฐมบท)

October

Article No.96: หลักการออกแบบแนวลาดเอียง (Slope) สำหรับงานออกแบบถนน และงาน Grading 
Article No.95: ฟอร์เวิดอีเมล์จากนายช่างฯวิชิต กรมทางหลวงชนบท

September

Article No.94: Remote Sensing: งานสำรวจฯ แบบที่ไม่ต้องลงพื้นที่ ให้เมื่อยตุ้ม (นักสำรวจ นั่งหน้าคอมฯ)
Article No.93: การสำรวจรังวัดค่า Latitude และค่า Longitude จากทางดาราศาสตร์ เพื่อกำหนดตำแหน่งภูมิศาสตร์ ให้กับหมุดหลักฐาน
Article No.92: เก็บตกภาพบรรยากาศ งาน GIS Beyond Mapping ครั้งที่ 18

August

Article No.91: Civil 3D: การตรวจวิเคราะห์ 'ค่าระดับ' ของตัว Surface ด้วยชุดคำสั่ง Elevation
Article No.90: 'ทิศ' โบราณ...องค์ความรู้ที่กำลังจะสูญสิ้น ของชนชาวสารขันธ์

July

Article No.89: Civil 3D: งาน Grading ที่ 'เขายายเที่ยง' อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
Article No.88: ArcGIS: ArcGIS Online (โปรแกรม GIS ฟรี จากค่าย ESRI)
Article No.87: บันทึกการสำรวจ และบุกเบิกในดินแดนสยาม (Surveying and Exploring in Siam)
Article No.86: AutoCAD: การปรับ Scale ที่ Layout ให้เข้ากับขนาดกระดาษที่ต้องการพล๊อต + Viewport (ม้วนเดียวจบ)

June

Article No.85: Civil 3D: การออกแบบอุโมงค์ใต้ดิน (Advance Step)
Article No.84: Geospatial Services: บริการงานสำรวจรังวัด (Surveying Services)
Article No.83: Geoid: กับความเข้าใจที่ 'คลาดเคลื่อน'
Article No.82: Real Time: ติดตามพายุฝน
Article No.81: Real Time: ติดตาม 'เส้นทางพายุ'
Article No.80: 'เว็บบอร์ด' Land Surveyor & Mapper
Article No.79: Autodesk Land Desktop: การปรับแก้งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' (เขียน Batch File ด้วยตนเอง)

May
Article No.78: แจ้งให้ท่านทราบ...นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว
Article No.77: งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 4...ตัวอย่าง งานสำรวจฯวงรอบที่คลาดเคลื่อน 'พิมพ์นิยม'
Article No.76: งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 3...ตอบโจทย์
Article No.75: งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 2...สิ่งเล็กๆ? ที่เรียกว่า ''Error''
Article No.74: งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 1...วันวาน ในอดีต


March
Article No.70: Civil 3D: Bing Map Online

February
Article No.69: Civil 3D: การออกแบบถนน (Highway) Step by Step (ม้วนเดียวจบ)
Article No.68: Hydrographic Survey...กับ เครื่องมือสำรวจความลึก
Article No.67: Global Mapper: Contour line (Field to Finish)

January
Article No.66: Civil 3D: การออกแบบถนนด้วยคำสั่ง Grading
Article No.65: Behind the 'Geospatial' (เรื่องส่วนตัว)


[ 2012 ]

December
Article No.64: Global Mapper: จากวันนั้น ถึงวันนี้
Article No.63: การหาความสูงของสิ่งปลูกสร้าง ด้วยหลักทฤษฎีตรีโกณมิติ (YouTube)
Article No.62: กรณีศึกษาการใช้งานระบบพิกัด Lao PDR 1997 (สปป.ลาว)

November
Article No.61: Civil 3D: การกำหนดค่าระดับให้กับ Section View

October
Article No.60: AutoCAD: New Icon Command (การสร้างไอคอนคำสั่ง)
Article No.59: วิธีการโพสต์ข้อความในบล๊อค
Article No.58: AutoCAD: Layer State
Article No.57: การทำระดับด้วยกล้อง Total station (ตรีโกณมิติ)
Article No.56: Terrestrial Scanner
Article No.55: ประสบการณ์เล็กๆ กับ Leica Builder

September
Article No.54: การถ่ายค่าระดับจากหมุดที่ทราบค่ามาสู่ตัวกล้องฯ ด้วยหลักทฤษฎี 'ตรีโกณมิติ'
Article No.53: Garmin GPSMAP 62s (Unboxing)...แจ่ม?

August
Article No.52: Autodesk Land Desktop: Grading Design (การเตรียมพื้นที่) Step by Step
Article No.51: Civil 3D: Horizontal Curve Calculator (การคำนวณงานโค้งราบ)
Article No.50: Autodesk Land Desktop: การออกแบบถนน Step by Step (ม้วนเดียวจบ)

July
Article No.49: จำหน่าย เครื่องคิดเลข Casio fx-5800P (มือหนึ่ง) + สูตรงานสำรวจรังวัด (พร้อมคู่มือการใช้งานสูตรฯ)
Article No.48: สูตรงานสำรวจรังวัด สำหรับเครื่องคิดเลข Casio PB770 (รุ่นยอดตำนาน พ.ศ. 2526)
Article No.47: Civil 3D: การออกแบบ 'ทางรถไฟ' (Advance Step)
Article No.46: Tracking Progress: ติดตามเส้นทางการจัดทำสูตรงานสำรวจฯ สำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-5800P
Article No.45: Geospatial Services: บริการงานสำรวจทางชลศาสตร์ (Hydrographic Survey)
Article No.44: สูตรงานสำรวจรังวัด สำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-880P
Article No.43: Geospatial Services: บริการสร้างโปรเจ็คแผนที่ Base Map ให้กับ GPS GARMIN (โปรแกรม Licensed)
Article No.42: Civil 3D: Linework (*.fbk)

June
Article No.42: หมุดหลักฐานฯ งานสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS
Article No.41: ArcGIS: Extract Coordinates (ในกรณีที่ Shape file ไม่มีข้อมูลค่าพิกัด)
Article No.40: Civil 3D: Google Earth Surface to Excel (E,N,Z)
Article No.39: Civil 3D: Drainage Design (Sample)

May
Article No.38: Mapping Satellite (ดาวเทียมสำรวจแผนที่ฯ)

April
Article No.37: Surveyor 's Phone! (โทรศัพท์มือถือ สำหรับงานสำรวจฯ)
Article No.36: Civil 3D: Road Junction & Intersection (Basic Step)
Article No.35: Civil 3D: Project Objects to Profile View
Article No.34: Tool ติดตามแผ่นดินไหวทั่วโลก แบบ Real Time สำหรับโปรแกรม Google Earth
Article No.33: Civil 3D: วิธีการรวม Surface จากโปรแกรม Google Earth
Article No.32: Civil 3D: Traverse Adjustment (การปรับแก้งานสำรวจวงรอบ)
Article No.31: 3D Software Previews

March
Article No.30: Civil 3D: Description Keys และ การแบ่งกลุ่มข้อมูลสำรวจ ตาม Description
Article No.29: ArcGIS: The Advances of Geospatial 3D
Article No.28: Road & Grading design (Workshop)
Article No.27: Civil 3D: Create Grid (การสร้างตารางกริด)

January


[ 2011 ]
หมายเหตุ: ลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ Thaitopo

December
Article No.17: Indian Thailand-1975 (UTM) กับ การใช้งานโปรแกรมประยุกต์
Article No.11: Civil 3D: Drape Image
Article No.06: Civil 3D: Sharing Tips

Wednesday 13 February 2013

Civil 3D: การออกแบบถนน (Highway) Step by Step (ม้วนเดียวจบ)


วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'คู่มือการออกแบบถนน โดยการใช้โปรแกรม AutoCAD Civil 3D'

>> จากวันที่ผู้เขียนได้เคย 'กล่าว' ถึงการจัดทำ 'คู่มือการออกแบบถนน โดยการใช้โปรแกรม AutoCAD Civil 3D' จากบทความอ้างอิงข้างต้น มาจนถึงวันนี้ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ 'ลากยาว' มานานเกือบครึ่งปี ได้มีอีเมลล์หลายฉบับได้เขียนสอบถามในประเด็นเดียวกันนี้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง...แต่ ณ ช่วงเวลาเหล่านั้น ที่ทุกสิ่ง ทุกอย่างรอบๆตัวของผู้เขียน มีแต่คำว่า 'ยังไม่พร้อม' ทำให้ผู้เขียนได้ตอบอีเมล์ 'ขออภัย' ต่อทุกๆท่าน ที่ถามไถ่เข้ามา...

ในที่สุด เมื่อวันเวลาที่เหมาะสม หมุนเวียนมาพบกับโอกาสที่เอื้ออำนวย...และแล้ว...วันนี้ก็มาถึง
Civil 3D: การออกแบบถนน (High Way) Step by Step (ม้วนเดียวจบ)
หมายเหตุ: ผู้เขียนขออนุญาติแนะนำ ท่านผู้ศึกษาที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์งานออกแบบถนน รวมถึงศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมการทาง ควรที่จะศึกษา หาความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการออกแบบถนน ก่อนที่จะทำการศึกษาการใช้ชุดคำสั่งของตัวโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้ศึกษา สามารถเข้าใจถึงหลักการ หรือแนวทางในการออกแบบถนน ว่ามีหลักทฤษฎีการออกแบบ และการคำนวณปริมาณต่างๆ อย่างไร อาทิ การคำนวณงานโค้งราบ-โค้งดิ่ง การคำนวณงานดิน การออกแบบการยกโค้ง ฯลฯ

* การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าวเพื่อ 'การออกแบบถนน' เป็นเพียงเครื่องมือเล็กๆ (ที่ปลายอุโมงค์) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ทำการออกแบบฯเท่านั้น มิได้เป็นเนื้อหาหลักของ 'องค์ความรู้ในการออกแบบถนน' ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นทั้ง ศิลปะในการออกแบบ และการคำนวณด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ รวมถึงหลักการทางเศรษฐศาสตร์ (Cost/Value) และทางด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาทางภาคทฤษฎี ในหลายภาคการศึกษา

รายละเอียด 'ลำดับ' ชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D:
1. การเตรียมพื้นที่ (EG Surface)
2. การออกแบบแนวเส้น Alignment
3. การสร้างโปรไฟล์ ของเส้น Alignment ในแนวราบ
4. การออกแบบ หรือ กำหนดเส้นโปรไฟล์ในแนวดิ่ง FG (Finished Grade)
5. การสร้าง หรือ กำหนดแบบ Assembly 
6. การสร้างแนวเส้น Corridor
7. การสร้างเส้น Sample Line
8. การกำหนดลำดับการคำนวณปริมาตร Compute materials
9. การแสดงผลตารางปริมาตรงานดิน Total Volume Table
10. การแสดงผลรูปหน้าตัดตามขวาง Section Views
11. การนำเสนอผลงาน Create View Frame
12. Goodies

* การใช้งานชุดคำสั่งของโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ในบทความนี้ จะเลือกใช้ชุดคำสั่งจาก 'Ribbon Menu' แทนการเลือกชุดคำสั่ง จากแท๊ปเมนูบาร์หลัก หรือการพิมพ์คำสั่งที่ Command line

* ขออนุญาติ ผ่านการอธิบายในรายละเอียด สำหรับหน้าต่าง Event ต่างๆ

Hand On:
1. การเตรียมพื้นที่ (EG Surface)
>> เตรียมพื้นที่ๆ ต้องการใช้เป็น Base surface หรือ EG (Earth Ground) เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลสภาพภูมิประเทศ (เดิม) ก่อนทำการออกแบบ ซึ่ง surface ที่เตรียมขึ้นมานั้น อาจจะนำเข้าจากข้อมูลจุดสำรวจ แล้วสร้างเป็น Contour surface หรือการเตรียม surface จากข้อมูลเส้นชั้นความสูงจากแบบร่างโทโปฯที่มีอยู่เดิม หรือข้อมูลเส้นชั้นความสูงจากโฟโตแกรมเมทรี, LIDAR ฯลฯ 
*คุณภาพ, ความละเอียด และความถูกต้อง ของงานออกแบบถนน ทั้งปริมาณ และปริมาตร ต่างๆ ที่คำนวณได้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องของข้อมูล Surface ที่นำมาใช้
<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>
* ผู้เขียนขออนุญาติ ข้ามผ่านการอธิบายขั้นตอนใน 'การเตรียมพื้นที่ (Surface)'...ละไว้ในฐานที่เข้าใจ โดยมีสมมุติฐานที่ว่า ท่านผู้ศึกษาซึ่งกำลังศึกษาวิธีการออกแบบถนน โดยการใช้โปรแกรม Civil 3D อยู่นี้ ควรที่จะมีพื้นฐานการใช้โปรแกรมดังกล่าวมาพอสมควร

2. การออกแบบแนวเส้น Alignment
>> ทำการออกแบบ หรือกำหนดแนวเส้น Alignment แบบ Center line (CL) 
ที่แท๊ป Home > Alignment > Alignment Creation Tools > 
ที่แท๊ป Design Criteria  > ทำการกำหนดค่าอัตราเร็วสูงสุด (ที่ยอมให้ได้ และไม่เป็นอันตรายในการขับขี่
(สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ในภายหลัง) ของยานพาหนะ ซึ่งจะสัมพันธ์กับมาตรฐานงานถนน AASHTO ประเภทต่างๆ เมื่อติ๊กที่ออปชั่น (อ้างอิงมาตรฐาน AASHTO ในการออกแบบถนน) Use criteria-based design หรือนำเข้าไฟล์  .xml จากภายนอก ซึ่งค่ามาตรฐานของงานถนนเหล่านี้ จะเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ ของถนน
ที่มา: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

* การออกแบบแนวเส้น Alignment ในขั้นสาธิตนี้...ไม่ทำการติ๊กในช่องสี่เหลี่ยมในขั้นตอนนี้ ซึ่งจะทำการกำหนดค่าอ้างอิงมาตรฐานเหล่านี้ดัง เมื่อถึงขั้นตอนการยกโค้ง Superelvation และทำการเริ่มต้นที่กิโลเมตร 0+000 (สามารถเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากระยะทางใดๆ) > คลิก Ok จะพบกับหน้าต่าง Alignment Layout Tools > เลือก Tangent-Tangent (With Curves) *ให้แสดงองค์ประกอบของโค้งราบ

ทำการลาก (ออกแบบ) แนวเส้นถนนที่ต้องการ บน Surface จากข้อ 1 แล้วกด Enter

แสดงส่วนประกอบของโค้ง PC, PI และ PT
* สามารถแก้ไขตัวโค้งที่ออกแบบ โดยการขยับ 'กริฟ' หรือ ตรวจสอบ/แก้ไข ค่าต่างๆของส่วนประกอบของโค้งราบ โดยคลิกเลือกที่เส้น Alignment ที่ออกแบบ > เลือก Geometry Editor ที่ Ribbon Menu > หน้าต่าง Alignment Layout Tools > Alignment Grid View > Alignment Entities
* การแก้ไขการแสดงผลของจุด Markers ต่างๆ โดยเลือกที่ Edit Alignment Style 

3. การสร้างโปรไฟล์ของเส้น Alignment ในแนวราบ
>> ทำการสร้างโปรไฟล์รูปตัดตามยาว จากเส้น Alignment ที่ได้ทำการออกแบบจากข้อ 2 โดย คลิกที่เส้น Alignment ที่ออกแบบ > เลือก Surface Profile ที่ Ribbon Menu จะพบหน้าต่าง Create Profile from Surface > คลิกเลือก Based Surface (จากข้อ 1) > คลิก Add และจะพบข้อมูล Based Surface ถูกเพิ่มเข้ามาในช่อง Profile list 
* สามารถกำหนดการแสดงผลของโปรไฟล์ เริ่ม-ถึง ที่ Station ที่กำหนด > To Sample ใดๆ
คลิก Draw in Profile View ตัวโปรแกรมจะให้เลือกตำแหน่งที่ต้องการสร้างโปรไฟล์ และสร้างโปรไฟล์รูปตัดตามยาว ได้ทันที 'หรือ' คลิก OK เพื่อปิดหน้าต่าง และทำการสร้างโปรไฟล์จากคำสั่ง Profile View (การสาธิต เลือกวิธีการ คลิก OK)

ที่แท๊ป Home > Profile View > Create Profile View กำหนดการแสดงผลที่ต้องการ หรือทำตามคำสั่งตามการสาธิต คลิก Creat Profile View > เลือกตำแหน่งที่ต้องการสร้างโปรไฟล์ และสร้างโปรไฟล์รูปตัดตามยาว 

* การปรับเปลี่ยนการแสดงผลของตัวโปรไฟล์ อาทิ สเกล ตัวหนังสือ ระยะกริด ฯลฯ โดยการคลิกที่ตัวโปรไฟล์ เลือก > Edit Profile View Style 

4. การออกแบบ หรือ กำหนดเส้นโปรไฟล์ในแนวดิ่ง FG (Finished Grade)
>> ขั้นตอนนี้จะเป็นการสาธิตการออกแบบ แนวเส้น % เกรดในแนวดิ่งไปตามเส้น Alignment ที่ถูกออกแบบเอาไว้ข้างต้น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับปริมาตร งานดินตัด-ดินถม ที่จะเกิดขึ้นในภาพรวม อาทิ ถ้าตัดแนวเส้น % เกรด ให้ต่ำกว่าระดับ Surface มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดงานดินตัด หรือดินขุดที่มากขึ้น ไม่สมดุลกับงานถม เป็นต้น

* ทำการปรับค่าสเกล การแสดงผลของกราฟโปรไฟล์ให้มีค่าสูงขึ้น เพื่อสะดวกต่อการลากเส้น FG ในการออกแบบ

ที่แท๊ป Home > Profile > Profile Creation Tools > คลิกที่ตัวกราฟโปรไฟล์ จะพบกับหน้าต่าง Create Profile
คลิก Ok จะพบกับหน้าต่าง Profile Layout Tools > เลือก Draw Tangent With Curves *ให้แสดงองค์ประกอบของโค้งดิ่ง
ทำการลาก (ออกแบบ) แนวเส้นถนนในแนวดิ่ง (มุมมองภาคตัดขวาง) ที่ต้องการ บนกราฟโปรไฟล์ จากข้อ 3 โดยทำการคลิกเริ่มจาก (การสาธิต) ที่ปลายเส้นเริ่มต้น 0+000 ไปจนถึงปลายเส้นอีกด้านหนึ่ง  (ใช้การ เปิด/ปิด OSNAP ช่วยในการลากเส้น) แล้วกด Enter

* ตรวจสอบ % เกรด ว่าอยู่ในเกณฑ์การออกแบบถนน หรือข้อกำหนดของงาน ตลอดจน Cost/Value ต่างๆ ว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ (ไม่ลาดชันเกินสเป็คฯ)

* คลิกขวาที่ตัวโปรไฟล์ เลือก Profile Properties จะพบหน้าต่าง Profile View Properties ที่แท๊ป Bands ทำการปรับการแสดงผลของโปรไฟล์ โดยให้อ้างอิงตามค่าระดับ FG ที่ออกแบบ
** ผู้เขียนจะสาธิตการแสดงผลของ Band ต่างๆ เมื่อถึงขั้นตอนการสร้าง Sample Lines

* สามารถทำการปรับแก้แนวเส้น FG โดยการคลิกที่เส้น FG บนกราฟโปรไฟล์ และทำการขยับ 'กริฟ' เพื่อแก้ไขแนวโค้งดิ่งให้เหมาะสม (ตัวโปรแกรมจะทำการคำนวณ ประแก้แบบให้อัติโนมัติ)

* ตรวจสอบ/แก้ไข ค่าต่างๆของส่วนประกอบของแนว % เกรด, โค้งดิ่ง โดยคลิกเลือกที่เส้น FG ที่ออกแบบ >  เลือก Geometry Editor ที่ Ribbon Menu > หน้าต่าง Profile Layout Tools > Profile Grid View > Profile Entities

>> ขั้นตอนการออกแบบแนวเส้น FG เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ งานดินตัด-ดินถม ซึ่งนั่นคือเวลา และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น อาทิ สเป็คฯ ของ % เกรด กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 8% ในกรณีที่แนวถนนผ่านไปในในพื้นที่สูงชัน ปรากฎว่าถ้าจะให้ทำตามสเป็คฯ จะต้องทำการขุด ระเบิด ลงไปจนถึงค่าระดับที่กำหนด ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากเป็นต้น ฉะนั้น ในขั้นตอนดังกล่าว จึงเป็นขั้นตอนที่มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง และจำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ (เพราะจะหมายถึง 'เวลา และค่าใช้จ่าย')

5. การสร้าง หรือ กำหนดแบบ Assembly 
>> ถ้าเปรียบเทียบกับการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม Autodesk Land Destop ซึ่งเรียกขั้นตอนนี้ว่า 'การสร้าง Template ถนน' โดยต้องทำการลากเส้น วาดออกแบบ ด้วยตนเอง (ต้องทำตามขั้นตอนที่่ Command line กำหนด ซึ่งมีหลายขั้นตอน และค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร)...แต่สำหรับในโปรแกรม Civil 3D นั้น เรียกขั้นตอนนี้ว่า การสร้าง 'Assembly' ถนน หรือสร้างรูปหน้าตัดขวางของถนน ว่าประกอบไปด้วย 'Sub-Assembly' อะไรบ้าง อาทิ ผิวจราจร ไหล่ทาง ทางเดินเท้า คูน้ำข้างทาง แนวลาด ฯลฯ ซึ่งมีทั้ง การนำองค์ประกอบของถนนต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเอง (ให้ได้ตามสเป็คฯของงานออกแบบ)  หรือจะทำการเลือกเอาจากแบบที่ตัวโปรแกรมเตรียมไว้ให้แล้ว ซึ่งนำมาใช้ได้ทันที

5.1 การสร้าง Assembly แบบ Manual 
ที่แท๊ป Home > Assembly >  Create Assembly > คลิกวาง Assembly (CL หลัก)
คลิกที่ Assembly (CL หลัก) > เลือก Tool Palette ที่ Ribbon Menu > จะพบหน้าต่าง Tool Palette - "Metric" Subassemblies (* ถ้าเป็นหน่วยวัด Imperial ให้ทำการเปลี่ยนเป็นระบบ Metric) > คลิกเลือก Basic > เลือก Basic Lane > คลิกที่ Assembly (CL หลัก) "ทางซ้าย" กด Enter (* สังเกตุหน้าต่าง Properties จะถูกแสดงขึ้นมาพร้อมกัน ซึ่งจะบอกถึงคุณลักษณะของออปเจ็ค)
* ทำซ้ำขั้นตอนเดียวกันนี้ สำหรับด้าน "ทางขวา" ของ Assembly (CL หลัก)

* ทำการปรับแก้ไขขนาดของ Lane ที่นำเข้า (ให้ได้ขนาดตามสเป็คฯของงาน) > คลิกที่ Subassembly ด้านที่ต้องการแก้ไข > คลิกเลือกที่  Subassembly Properties ที่ Ribbon Menu > Parameters > ทำการปรับแก้ไขขนาดของ Lane (การสาธิต ปรับขนาดให้เลนของถนน มีความกว้างข้างละ 2.5 ม และขนาดความลึก 10 ซม. )
* ทำซ้ำขั้นตอนเดียวกันนี้ สำหรับด้าน "ทางซ้าย" ของ Assembly (CL หลัก)

>> ในขั้นตอนถัดไป จะเป็นการ 'เพิ่ม' องค์ประกอบต่างๆ ของถนน อาทิ ผิวจราจร ไหล่ทาง ทางเดินเท้า คูน้ำข้างทาง ฯลฯ (ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์งานออกแบบ) > คลิกเลือก 'ประเภทไหล่ทาง' ที่ต้องการจากหน้าต่าง Tool Palette > Shoulders > ShoulderExtendAll แล้วนำมาวาง ให้เชื่อมโยงต่อออกมาจากเลนถนน (Link) 
* ทำซ้ำขั้นตอนเดียวกันนี้ สำหรับด้าน "ทางขวา"

* ทำการปรับขนาดของไหล่ทาง ทั้ง 2 ข้าง > คลิกที่ Subassembly ด้านที่ต้องการแก้ไข > คลิกเลือกที่  Subassembly Properties ที่ Ribbon Menu > Parameters > ทำการปรับแก้ไขขนาดของไหล่ทาง (การสาธิต ปรับขนาดให้ไหล่ทาง มีความกว้างข้างละ 1.5 ม. มีแนวลาดกว้าง 1 ม. และปรับขนาดชั้นรองถนนให้เป็น 0.00 )

>> 'เพิ่ม' คูน้ำ ทั้ง 2 ข้างทาง > คลิกเลือก 'ประภทคูน้ำ' ที่ต้องการจาก หน้าต่าง Tool Palette > Trench > SideDitch แล้วนำมาวาง ให้เชื่อมโยงต่อออกมาจาก 'ไหล่ถนน' (Link) (*และทำการปรับขนาดของคูน้ำ ตามสเป็คฯที่ต้องการ) 

* การเพิ่ม Daylight ให้กับถนนที่ออกแบบ เพื่อกำหนดระยะลาดชัน เพื่อลดการพังทลายของหน้าดิน หรือหิน ทั้งงาน Cut&Fill > คลิกเลือก 'ประเภท Daylight' ที่ต้องการจากหน้าต่าง Tool Palette > Daylight > DayLightBench แล้วนำมาวาง ให้เชื่อมโยงต่อออกมาจากคูน้ำ (Link) 

* ทำการปรับความลาดชันของ งาน Cut&Fill ตามสเป็คฯของงาน (*การสาธิต กำหนดไว้ที่ 1:1 ทั้งงาน Cut&Fill)
* Assembly ข้างต้นจะถูกใช้เป็นแบบ ในการสาธิตนี้ (ตั้งแต่เริ่ม-สิ้นสุด)

5.2 การสร้าง Assembly แบบ Auto (เลือกจากแบบ ที่มีมาให้แล้ว)
ที่แท๊ป Home > Tool Palette (Ctr+3) > Assembly Metric > เลือกแบบที่ต้องการ > คลิกวาง 
* 'หรือ' เลือกจากแบบที่ตัวโปรแกรมเตรียมไว้ให้ แล้วนำมา 'ประยุกต์' เอาออก-เพิ่มเติม ตามต้องการ

>> เนื่องจาก 'องค์ประกอบของถนน' ที่ตัวโปรแกรมเตรียมไว้ให้นั้น มีเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้เขียนขออนุญาติที่จะไม่ลงลึกในรายละเอียด...ท่านผู้ศึกษา สามารถทำการทดสอบการเชื่อมโยง (Link) และประยุกต์ องค์ประกอบต่างๆ ด้วยตัวท่านเอง อีกทั้งยังสามารถสร้าง หรือกำหนด แบบ Sub-Assembly ขึ้นมาสำหรับ 'งานเฉพาะ' ได้ต้องการ > Generic Sub-Assembly
หรือดาวน์โหลด Extension เพื่อการออกแบบ Sub-Assembly ขึ้นมาใช้เอง (Sub-Assembly Composer)

6. การสร้างแนวเส้น Corridor 
>> ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่รวบรวมเอา ผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 1-5 มาทำการสร้างแนวเส้น Corridor ให้กับถนน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพหน้าตา รูปร่างของถนน ตลอดจนปริมาตรงาน Cut/Fill ในภาพรวมเบื้องต้น
ที่แท๊ป Home > Corridor > Create Simple Corridor 

> กด Enter เพื่อไปที่หน้าต่าง Select an alignment > คลิกเลือกที่ชื่อ Alignment ที่ออกแบบไว้  > คลิก Ok

> กด Enter เพื่อไปที่หน้าต่าง Select a Profile > คลิกเลือกที่ชื่อ Profile (FG) ที่ออกแบบไว้  > คลิก Ok

> กด Enter เพื่อไปที่หน้าต่าง Select an Assembly > คลิกเลือกที่ชื่อ Assembly ที่ออกแบบไว้  > คลิก Ok

ที่หน้าต่าง Target Mapping > Click here to set all > เลือกชื่อ Based Surface จากข้อ 1 และ คลิกที่ None เพื่อเลือก Target 

> คลิก Ok ตัวโปรแกรมจะทำการสร้าง แนวเส้น Corridor ให้กับแนวเส้น Alignment (*ตรวจสอบแนวเส้น Corridor ที่ Base Surface)

** ทำการสร้าง Surface ให้กับแนวเส้น Corridor ที่้สร้างขึ้น (เพื่อใช้เป็น Surface 'เปรียบเทียบ' ในการคำนวณปริมาตรงานดิน) > คลิกที่ แนวเส้น Corridor > Corridor Properties > ที่แท๊ป Surface > คลิกที่ไอคอน Create a corridor surface > คลิกที่เครื่องหมายบวก (+) > ติ๊ก ทีกล่องสี่เหลียม

ที่แท๊ป (จะพบ Corridor Surface ถูกเพิ่มเข้ามา) > คลิกขวา ที่ตัว surafce ที่ถูกเพิ่มเข้ามา > Add Automatically > Daylight > Ok (* ในขั้นสาธิตนี้ ผู้เขียนเลือกการกำหนดขอบเขตถนน ไปตามแนวลาด Daylight)
* สังเกตุที่ Toolspace จะสังเกตุเห็นตัวโปรแกรมทำการสร้าง Surface สำหรับ Corridor ขึ้นมาใหม่

6.1 Volumes (ปริมาตรงานดินตัด-ดินถม ในภาพรวม)
ที่แท๊ป Analyze > Volumes > Volumes > Create new volume Entry

6.2 Superelevation (ตรวจสอบอัตราการยกโค้ง)
>> ทางโค้งที่มีรัศมีแคบ การยกโค้ง (เอียงขอบถนนด้านนอกให้สูงขึ้น) ให้มีความสัมพันธ์กับความเร็วของรถ จะช่วยให้การขับขี่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยที่ตัวรถไม่หลุดโค้ง (* ความเร็วต้องไม่เกินกว่า ความเร็วที่ออกแบบไว้)

* การปรับแก้อัตราเร็ว ในแต่ละช่วงของถนน ซึ่งระยะทาง 'บางช่วง' จำเป็นต้องจำกัดความเร็วให้ต่ำลง อาทิ ช่วงโค้งวิกฤต ที่ไม่สามารถแก้ไขทางด้านงาน Cut/Fill ได้ คลิกที่เส้น Alignment (CL) > Alignment Properties > แท๊ป Design Criteria > ทำการเพิ่มสถานีที่ต้องการเริ่มการจำกัดความเร็ว (ออกแบบโค้ง ให้สัมพันธ์กับความเร็วที่กำหนด) และอ้างอิงมาตรฐาน AASHTO ในการออกแบบโค้ง

คลิกที่เส้น Alignment (CL) > Superelevation ที่ Ribbon Menu > Calculate/Edit Superelevation > Calculate Superelevation Now 

>> จะพบกับหน้าต่าง แสดงรายละเอียดอัตราการยกโค้ง แต่ละโค้ง และแสดงทิศทางยก-เทโค้ง Superelevation ที่แนวเส้น Corridor

* ทำการปรับแก้รายละเอียดอัตราการยกโค้ง (แต่ละโค้ง) > คลิกขวาที่เส้น Alignment (CL) เลือก Edit Superelevation

คลิกที่เส้น Alignment (CL) > Superelevation ที่ Ribbon Menu > Create Superelevation View

 

การตรวจสอบอัตราการยกโค้งด้วยคำสั่ง Section Editor


7. การสร้างเส้น Sample Line
>> ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการกำหนด 'ช่วงระยะทาง/สถานี' ที่จะใช้ในการคำนวณปริมาตรโดยละเอียด (*สามารถเลือกรูปแบบการกำหนดระยะทาง/สถานี ตามต้องการ) คลิกที่แนวเส้น Corridor เลือก Create Sample Lines ที่ Ribbon Menu
> กด Enter
> เลือกชื่อ Alignment จากหน้าต่าง Select Alignment
>> ที่หน้าต่าง Sample Line Tools > Sample Line Creation Methods > By Range of Station (* การสาธิตนี้ เลือกการสร้างแนวเส้น Sample Line ทุกๆ สถานี) > จะพบกับหน้าต่าง Create Sample Lines-By Station Range > ทำการกำหนดระยะไปทางซ้าย และทางขวา (* ระยะ Offset ดังกล่าว จะถูกแสดงใน Section View ในขั้นถัดไป) และทำการกำหนดระยะ Sampling ที่โค้ง เพื่อทำการสร้างแนวเส้น Sampling
** หลังจากจบขั้นตอนการสร้าง Sample Line (จะสามารถสร้าง Band ตัวสุดท้าย) > คลิกขวาที่ตัวโปรไฟล์ เลือก Profile View Properties > Bands 
การแสดงผล Band ประเภทต่างๆ

8. การกำหนดลำดับการคำนวณปริมาตร Compute materials
>> ที่แท๊ป Analyze > Compute Materials > ที่หน้าต่าง Select A Sample Line Group เลือก (ชื่อ) Alignment และ Sample Line ที่สร้างไว้ข้างต้น
* สามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยน หรือเพิ่ม Target (พื้นผิวอื่นๆ) เพื่อนำมาคำนวณหาปริมาตรวัสดุ โดยเคลิกเลือกที่ Sample Line Properties > Material List

9. การแสดงผลตารางปริมาตรงานดิน Total Volume Table
>> ที่แท๊ป Analyze > Total Volume Table กำหนด (ชื่อ) Alignment และ Sample Line ที่ต้องการ > คลิกวาง

* แสดงผลการคำนวณปริมาตร ทุกๆ สถานี ด้วยวิธี Composite
* ไม่แสดงพื้นที่ Cut/Fill Area (Composite)

แสดงผลการคำนวณปริมาตร ทุกๆ สถานี ด้วยวิธี Average End Area
* แสดงพื้นที่ Cut/Fill Area (Average End Area)


9.1 Mass Haul
>> ที่แท๊ป Analyze > Mass Haul

10. การแสดงผลโปรไฟล์รูปหน้าตัดตามขวาง Section Views
>> กำหนดรูปแบบ รายละเอียดของการแสดงผลโปรไฟล์รูปหน้าตัดตามขวาง
ที่แท๊ป Home > Section Views > Create Multi Views (*การสาธิตนี้ เลือกการแสดงผลโปรไฟล์รูปหน้าตัดตามขวาง 'ทุกๆสถานี')

11. การนำเสนอผลงาน Create View Frame
>> ที่แท๊ป Output > Create View Frames
ที่แท๊ป Output > Create Sheets
 

12. Goodies

Drive Through



* AutoCAD Civil 3D version 2012 ขึ้นไป (v.2011 ต้องลงตัวเสริม) จะมีชุดคำสั่ง Civil View ในการ Export องค์ประกอบต่างๆ ของงานถนนที่เราออกแบบ ไปทำต่อในโปรแกรม 3Ds MAX Design ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ จำลอง การออกแบบถนน ได้สมจริงมากยิ่้งขึ้น


บทส่งท้าย: 
- บทความการออกแบบถนนข้างต้น ยังมีข้อจำกัดในการอธิบายเรื่องของเมนูคำสั่ง (ที่มีมากมาย) ซึ่งท่านที่ใช้งานโปรแกรมฯดังกล่าว จะทราบเป็นอย่างดีว่านอกเหนือจากคำสั่งหลักแล้ว ยังมีเมนูคำสั่งรองลงไป 'แตกแยก ยิบย่อย หยุมหยิม' ต่อไปอีกหลายคำสั่ง หลายออปชั่น (ซึ่งต้องใช้เวลามากในการอธิบาย คำสั่งยิบย่อยเหล่านั้น) ฉะนั้น ท่านผู้ศึกษาจึงควรที่จะทำการทดสอบการใช้คำสั่งเหล่านั้น ด้วยตัวท่านเอง (Learning by Doing)...การสาธิตข้างต้น ผู้เขียนมุ่งเน้นอธิบายที่ 'เนื้อหาหลัก' ในการใช้งานชุดคำสั่งเพื่อการออกแบบถนน เป็นสำคัญ

- ในระหว่างที่ผู้เขียนกำลังจัดทำ และเรียบเรียงบทความดังกล่าว ได้รับอีเมล์สอบถามในประเด็นที่ว่า บทความให้ความรู้การออกแบบถนนข้างต้นนี้ 'อาจจะไปกระทบ' ต่อหน่วยงานภาคเอกชน ที่จัดให้มีการฝึกอบรม การใช้งานโปรแกรม Civil 3D ในการออกแบบถนน (มีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม)...ผู้เขียนจึงขออนุญาติชี้แจงว่า บทความการออกแบบถนนข้างต้นนี้ ไม่สามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบกับการฝึกอบรม (เต็มรูปแบบ) ที่มีครู หรือวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ฝึกสอน ตลอดจนมีการติดตาม และประเมินผลผู้เรียนโดยตรง...ซึ่งผลสัมฤทธิ์ จะมีมากกว่า การศึกษาด้วยตนเอง

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้ศึกษาจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้งานชุดคำสั่งการออกแบบถนน 
ด้วยโปรแกรม Civil 3D เพื่อพัฒนาต่อยอด เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ของท่านยิ่งๆขึ้นไป
ขาดตกบกพร่องประการใด...ต้องขออภัย...และขอน้อมรับทุก คำติ-ชม
Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United