Saturday 28 July 2012

สูตรงานสำรวจรังวัด สำหรับเครื่องคิดเลข Casio PB770 (รุ่นยอดตำนาน พ.ศ. 2526)



>> ผู้เขียนต้องขออนุญาติสารภาพว่า ปีที่เครื่องคิดเลขรุ่นนี้ออกวางจำหน่ายนั้น ผู้เขียนยังเรียนอยู่ชั้นประถมอยู่ครับ และนับจนถึงวันนี้ ผู้เขียนก็ยังไม่เคยเห็นตัวเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ตัวเป็นๆ แม้แต่ครั้งเดียว เคยแต่ได้ยินเสียงลือ เสียงเล่าอ้างถึงความทันสมัย ไฮเทค สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องฯในยุคนั้น (เมื่อ 30 ปีที่แล้ว)

ในยุคนั้น ต้องยอมรับครับว่าเป็นไอเดียการออกแบบที่ค่อนข้างจะบูรณาการเลยทีเดียว โดยรวมเอาเครื่องคิดเลข (เพิ่มหน่วยความจำได้ถึง 12 Kb) เครื่องปริ้นท์เตอร์ และเครื่องบันทึกเสียงสำหรับบันทึกโปรแกรม รวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน (ราคาในยุคนั้น คงจะเกินเอื้อมน่าดู)
สำหรับการนำเข้ามาในประเทศไทยในยุคแรกๆ เท่าที่ผู้เขียนเคยได้ยินเสียงเล่าเสียงลือในสมัยเป็นนิสิตนั้น ได้ยินว่ามาจากการที่นักศึกษาไทย ที่ได้รับทุนให้ไปศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมศาตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น และเมื่อเดินทางกลับมาจึงได้นำเครื่องคิดเลขรุ่นดังกล่าวติดตัวกลับมาด้วย (ยุคนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์แบบ PC)
>> ส่วนการได้มาซึ่งสูตรงานสำรวจฯ ของเครื่องรุ่นนี้นั้น ผู้เขียนต้องขอบอกว่าได้ทำการ 'ขุดออกจากกรุ' ลังกระดาษซึ่งใช้เก็บหนังสือ ตำราเรียนเก่าๆ ฯลฯ (กว่า 15 ปีที่ไม่เคยเปิด) แล้วก็พบเจ้าสูตรฯเหล่านี้ที่ถูกถ่ายเอกสาร (เหลืองจนซีด) ซึ่งถูกส่งต่อกันมาจากรุ่นพี่ (ทั้งที่รุ่นน้องคนนี้ก็ไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ ขนาดแค่ตัวเครื่องฯตัวเป็นๆยังไม่มีบุญวาสนาจะได้เห็น) ถูกวางซ้อนทับกันอย่างไร้ค่า อยู่ในกล่อง...ขายให้ซาเล้งยกทั้งกล่อง แต่สูตรงานสำรวจฯ ผู้เขียนได้นำมาสแกน และเอามาโพสต์ลงเผยแพร่ เผื่อท่านใดจะ 'ยังมี' เครื่องคิดเลขรุ่นนี้อยู่ในการครอบครอง และยังใช้งานได้ และต้องการสูตรงานสำรวจฯ ไว้ในเครื่อง (โอววว....นี่มันเก่ากว่า Casio fx-880P เสียอีก)

สูตรงานสำรวจรังวัด: (ต้องพิมพ์สูตร เข้าไปในเครื่องคิดเลข)
1. คำนวณหาความยาวโค้งราบ เมื่อทราบค่าพิกัดที่ตำแหน่ง PC และ PT
2. คำนวณหามุมอะซิมัท และระยะทางจากจุดที่ทราบค่าพิกัด 2 จุด
3. คำนวณหาค่าพิกัดฉาก เมื่อทราบค่าพิกัดจุดตั้งกล้อง มุม และระยะทาง
4. คำนวณหาค่าพิกัด จากจุดที่ทราบ ค่าพิกัด 3 จุด (Intersection)


Wednesday 18 July 2012

Civil 3D: การออกแบบ 'ทางรถไฟ' (Advance Step)

>> เป็นการประยุกต์ใช้คำสั่งงานออกแบบถนน ในโปรแกรม Civil 3D เวอร์ชั่น 2012 โดยเปลี่ยนมาออกแบบ 'ทางรถไฟ' ซึ่งโดยลักษณะการใช้คำสั่งต่างๆในภาพรวม ถือว่าค่อนข้างจะคล้ายกันเกือบทุกประการกับงานออกแบบถนน ยกเว้น การที่จะต้องใช้แบบ Assembly ของรางรถไฟเท่านั้น และทำการกำหนด คุณลักษณะของตัวรางรถไฟให้เหมาะสมกับแผนงาน และวัตถุประสงค์
แรกเริ่มเดิมที ในสมัย ร.๕ นั้นได้มีการก่อสร้างทางรถไฟที่มีขนาดมาตรฐานโดยมีความกว้างของราง 1.435 เมตร (Standard gauge) แต่ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงในช่วงสงครามโลกต่อมา จึงได้เปลี่ยนขนาดความกว้างของรางรถไฟให้ตัวรางมีขนาดความกว้าง 1.00 เมตร หรือที่เรียกว่า Meter gauge ซึ่งมีข้อดีในการเดินทางเข้าไปในที่แคบ เช่นตรอกเขา และเลียบภูเขา แต่ข้อเสียคือความเสถียรในการทรงตัว และนับจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยได้ใช้ขนาดความกว้างของรางดังกล่าวเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นรถไฟฟ้า ซึ่งตัวรางมีขนาดความกว้างมาตรฐาน 1.435 เมตร)

ตัวอย่างการประยุต์ใช้คำสั่งในการออกแบบถนน เพื่อใช้ออกแบบทางรถไฟ
Import Google Earth Image+surface มาใช้ในการออกแบบ (คร่าวๆ)

ออกแบบแนว Alignment & Corridor (ออกแบบระยะทางยาว 4.3 กิโลเมตร)

แบบ Assembly รางรถไฟ (v.2012)
กำหนดขนาดความกว้างของฐาน และชั้นวัสดุ
กำหนดขนาดความกว้างของราง และลักษณะของราง


กำหนดรายละเอียดการคำนวณปริมาณต่างๆ

ผลลัพธิ์การคำนวณ

แบบ Section Plot

Drive Through


* เนื่องจากระยะทางการออกแบบมีความยาวกว่า 4 กม. จึงส่งผลกับระบบประมวลผล (ภาพกระตุก)

'เพิ่มเติม'
งานก่อสร้างรางรถไฟในต่างประเทศ

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'คู่มือการออกแบบถนน โดยการใช้โปรแกรม AutoCAD Civil 3D'
...เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ได้รับอีเมลล์เข้ามาสอบถามและร้องขอ ซึ่งผู้เขียนสรุปประเด็นได้ว่า เกี่ยวกับความต้องการที่จะให้ผู้เขียนทำการสาธิตการออกแบบถนน (+ทางรถไฟ) แบบลงลึกในรายละเอียด ทุกๆขั้นตอน หรือไม่ก็จัดทำเป็นไฟล์ .pdf ออกจำหน่าย หรือไม่ก็แต่งหนังสือเกี่ยวกับเรื่องงานออกแบบถนนออกวางขาย ฯลฯ ...และประเด็นเหตุผลที่ว่า จนถึงวันนี้ในประเทศเรา ยังไม่มีเอกสารใดๆ ไม่ว่าฟรี หรือออกวางจำหน่าย ที่ให้ความรู้ทางด้านการออกแบบถนน โดยการใช้โปรแกรม AutoCAD Civil 3D และถ้า Search ในอินเตอร์เน็ตก็จะพบเพียงชื่อ Geospatial และ njdrawing เท่านั้น ที่ให้ความรู้ด้านงานออกแบบถนนลงในเว็บไซต์ของ Thai topo, Lifecivil และเว็บบล๊อกแห่งนี้ แต่ทั้งหมดนั้น ก็เป็นบทความอธิบายเป็นบางเรื่อง หรือเป็นตอนๆ ไม่ต่อเนื่อง ส่วนการเปิดอบรมที่ Search พบก็จะมีแต่เฉพาะเว็บของบริษัท VR Digital ซึ่งราคาค่าเข้าอบรม ค่อนข้างแพงพอสมควร (เกินเงินเดือนนายช่างสำรวจฯ)

>> อันดับแรก ผู้เขียนต้องขอขอบคุณสำหรับเจ้าของอีเมลล์ฉบับนี้ครับ สำหรับทุกๆประเด็นที่ถามเข้ามา (โพสต์ถามลงในบทความก็ได้เช่นกันครับ)...ผู้เขียนเคยได้รับการสอบถามในประเด็นข้างต้นมาบ้างพอสมควรจากท่านสมาชิกในเว็บบอร์ด Thai topo และต้องขออนุญาติคัดลอกข้อความที่ผู้เขียนได้โพสต์ตอบไปเมื่อวันพุทธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 มาลงเผยแพร่อีกครั้ง

"---------------------O-O---------------------"

>> งานออกแบบถนนโดยการใช้โปรแกรม Civil 3D ถือเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ เกือบทั้งหมดของตัวโปรแกรม AutoCAD Civil 3D และต้องทำความเข้าใจองค์ประกอบที่ใช้ในการออกแบบถนนในแต่ละส่วนอย่างละเอียด อาทิ Surface/Design EG-FG Profile/Assembly/Corridor/Sample line/Volume etc. ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ ต่างส่งผลต่อกัน (Interactive) เมื่อมีการปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขตัวอ๊อปเจ็ค
ผู้เขียนเคยมีแนวคิดที่จะทำเป็น Guide line เรื่องงานออกแบบถนนด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D โดยเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาดูรายละเอียดในแต่ละเรื่อง (แต่ละองค์ประกอบ) คาดว่าน่าจะใช้เวลาเป็นเดือนๆครับ ก็เลยยกเลิกความคิดนี้เสีย อีกทั้งยังมีภารกิจด้านงานประจำที่ต้องรับผิดชอบ (เรื่องเวลา)


ส่วนถ้าเป็นคำสั่งปลีกย่อย ที่ไม่เข้าใจหรือติดขัด ก็โพสปรึกษาได้ครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามากในการอธิบาย ผู้เขียนต้องขออภัยครับ ด้วยเหตุเรื่องเวลา...แม้แต่เรื่อง Corridor เพียงเรื่องเดียว เนื้อหายังมีค่อนข้างมากครับ (ถ้าทำผิดพลาดในขั้นตอนนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อปริมาตรงานดินที่คำนวณได้ทันที)

* ลองหาอ่านรายละเอียดในเฟสบุ๊ค Civil 3D Thailand เห็นมีการพูดถึงเรื่องหนังสือ Road Design ที่จะทำออกมาขาย

"---------------------O-O---------------------"

>> สำหรับคำถามเรื่องที่ผู้เขียนไปเรียนรู้มาจากที่ไหน? หรือไปอบรมจากที่ไหน?...ผู้เขียนขอตอบว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม C3D ที่ได้ลงเผยแพร่ไปแล้วนั้น เกิดจากความรู้พื้นฐานจากการใช้งานโปรแกรม AutoCAD Land Desktop 2000i - 2006 มานานหลายปี และได้นำมาต่อยอดเข้ากับ C3D ซึ่งในช่วงแรกก็ยากพอสมควร ในการเรียนรู้การใช้งานชุดคำสั่งในแบบ Ribbon จากแต่เดิมที่คุ้นเคยในระบบ Tab bar และหลังจากคุ้นเคยกับชุดคำสั่งแบบ Ribbon แล้ว ก็หาความรู้จากเว็บไซต์ต่างประเทศ (เว็บไซต์ของไทยไม่มีใครพูดถึง AutoCAD Civil 3D v.2008 และผู้คนในยุคนั้น ส่วนใหญ่ยังยึดติดอยู่กับ AutoCAD Land Desktop) ค่อยๆ...เก็บเล็กผสมน้อย ไม่เข้าใจคำสั่งตรงไหนก็โพสต์สอบถามเป็นภาษาอังกฤษแบบ งูๆ ปลาๆ ไปตามเรื่อง ซึ่งก็ได้รับคำตอบ คำชี้แนะจากคนฝรั่งในเว็บ...นานวันเข้า ก็ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ และจัดทำเป็นบทความเผยแพร่ (เท่าที่เข้าใจ) สำหรับท่านที่สนใจศึกษาตัวโปรแกรมดังกล่าวในบ้านเราครับ

>> เมื่อ 2 ปีก่อนผู้เขียนเคยโทรศัพท์ไปสอบถามถึงเรื่องการอบรมการใช้งานโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ที่บริษัท Twoplus แต่ด้วยราคาค่าอบรม 2 วัน คิดราคา 10,000 บาท/1ท่าน (อบรมเรื่องการใช้งานขั้นพื้นฐานทั่วไป) ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินฐานะของผู้เขียน จึงได้ล้มเลิกความตั้งใจไป

>> ย้อนกลับมาที่คำถามจากอีเมลล์ เรื่องการจัดทำคู่มือการออกแบบถนนด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ผู้เขียนขอรับไว้พิจารณาอีกครั้งครับ และในส่วนของการจัดจำหน่าย...ผู้เขียนไม่มีแนวคิด หรือนโยบายในเรื่องนี้ และถ้าได้มีการจัดทำขึ้นมาจริง...จะต้องไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับท่านผู้ดาวน์โหลดไปศึกษาครับ

และผู้เขียนได้ลองเสริชหาการอบรม 'การออกแบบถนนด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D' ในอินเตอร์เน็ต ก็พบรายละเอียดดังต่อไปนี้
* ราคาค่าเข้าอบรม 16,000 บาท/1ท่าน 

>> ผู้เขียน คงจะไม่สามารถไปวิจารณ์ได้ว่าราคาค่าเข้าอบรมถูกหรือแพงประการใด...แต่อุปสรรคอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนได้เล็งเห็น นั่นคือประเด็นเรื่อง 'ข้อจำกัดในการเข้าถึง' ศาสตร์ทางด้านนี้ ซึ่งจะมีในเฉพาะผู้เข้าอบรมเท่านั้น หรืออาจจะมีการถ่ายทอดจากผู้ที่เข้าอบรมบ้าง แต่ก็น่าที่จะยังกระจายความรู้อยู่ในวงจำกัด

ผู้เขียนโพสต์ข้อความตอบกระทู้ในเว็บบอร์ด Thai topo วันพุทธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555
>> องค์ความรู้ (ถ้าไม่รวมถึงศาสตร์ทางทฤษฎีการออกแบบถนน ซึ่งต้องเรียนกันเป็นเทอมๆ) ในการใช้งานโปรแกรม AutoCAD Civil 3D มีหลักการเรียงลำดับ วิธีใช้ชุดคำสั่งในการออกแบบงานถนน ดังต่อไปนี้

รายละเอียด 'ลำดับ' ชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D:
1. การเตรียมพื้นที่ (EG Surface)
2. การออกแบบแนวเส้น Alignment
3. การสร้างโปรไฟล์ ของเส้น Alignment ในแนวราบ
4. การออกแบบ หรือ กำหนดเส้นโปรไฟล์ในแนวดิ่ง FG (Finished Grade)
5. การสร้าง หรือ กำหนดแบบ Assembly 
6. การสร้างแนวเส้น Corridor
7. การสร้างเส้น Sample Line
8. การกำหนดลำดับการคำนวณปริมาตร Compute materials
9. การแสดงผลตารางปริมาตรงานดิน Total Volume Table
10. การแสดงผลรูปหน้าตัดตามขวาง Section Views
11. การนำเสนอผลงาน Create View Frame

หมายเหตุ: คำสั่งประกอบ ปลีกย่อยอื่นๆ ไม่ขอกล่าวถึงครับ เช่น Superelevation, Mass Haul, Material Volume Table etc. เพราะว่้า คำสั่งประกอบปลีกย่อยเหล่านี้ จะถูกคำนวณมาให้อัติโนมัติ หลังจากเราทำตามขั้นตอน ดังกล่าวข้างต้น

Sunday 15 July 2012

Tracking Progress: ติดตามเส้นทางการจัดทำสูตรงานสำรวจฯ สำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-5800P


บทความอ้างอิง:
>> Casio fx-CG10 (PRIZM) + สูตรงานสำรวจรังวัด (.g3m) พร้อมคู่มือการใช้สูตรฯภาษาไทย
>> เครื่องคิดเลข ที่ใช้ในงานสำรวจฯ (Casio fx-Series)
>> จำหน่าย เครื่องคิดเลข Casio fx-5800P (มือหนึ่ง) + สูตรงานสำรวจรังวัด พร้อมคู่มือการใช้งานสูตรฯ ภาษาไทย

'จับติดมือกลับมาบ้าน'
>> วันหยุดว่างๆ เลยตัดสินใจไปเดินเล่น และสำรวจตลาดเครื่องคิดเลข+เกมส์ ที่ตลาดสะพานเหล็ก...ช่วงทางเข้าด้านหน้า จะมีทางเดินเล็กๆเลาะเรียบไปข้างถนน ซึ่งจะเห็นแผงร้านวางขายกล้องถ่ายรูปมือสอง และเครื่องคิดเลขมือสองเรียงรายกันไป ผู้เขียนเดินสำรวจไปทีละร้าน แล้วก็ใจหายแว๊ป เมื่อเห็นเจ้า Prizm หน้าจอเป็นรอยเครื่องหนึ่ง ถูกวางอย่างอนาถาอยู่ในตู้กระจกเล็กๆ และสิ่งแรกที่ผู้เขียนคิดได้และลงมือทำทันทีคือ ขอเจ้าของร้านเอาออกมาดู และรีบกดไปที่โปรแกรมทันที เฮ้อ...'ค่อยโล่งใจ' ขึ้นมาหน่อย คิดว่าจะเจอสูตรฯของเราอยู่ในนั้นเสียอีก เจ้าของบอกราคาขายอยู่ที่ห้าพันบาท ต่อรองได้ (อู้วๆ ยังแพง...มือสองขายซักสองพันก็น่าจะพอ)

ลองเดินดูร้านอื่นๆ ก็เห็นมีวางขายเกือบทุกรุ่น (ที่นำเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทย) ราคาขายเป็นไปตามสภาพ ผู้เขียนพยายามสอบถามหลายๆร้าน ถึงรุ่นในตำนานอย่าง fx-880P ซึ่งก็ได้คำตอบในทำนองเดียวกันว่า 'ขายดี' หมดแล้วไม่มีของ ถ้ามีสูตรเซอร์เวย์เยอะขายเกินห้าพัน ถ้าน้อยกว่านั้นขายสามพัน...(ยังแพงเหมือนเดิม)
ข้ามถนนเดินเลาะไปทางวรจักร ไปสำรวจดูที่ตลาดคลองถม มีเครื่องคิดเลขวางขายอยู่บ้างประปราย วางขายกับพื้นก็มี เห็นมี fx-3800P สภาพดีอยู่ตัวนึง คนขายบอกราคาผ่าน 'พันห้า' (อู้วๆ...500 ก็พอแล้ว)...เห็น fx-5800P มือสองวางอยู่ในตู้ ลองขอเอามากดเล่นดู แล้วต้องรีบวาง พอคนขายบอก 'พันห้า' ถ้าจะเอาจะลดให้ (อู้วๆ...มือหนึ่ง ก็ราคาประมาณ 1,600-1,700 เอง จะซื้อมือสองไปทำไม O_o)
โผล่ออกมาตรง รพ.กลาง เดินเล่นเลาะไปจนถึงมาบุญครอง เดินขึ้นไปสำรวจดูที่ชั้นขายนาฬิกาก็บังเอิญ 'เจอ' พอดีกับเจ้า fx-5800P มือหนึ่ง นอนอาบแสงไฟอยู่ในตู้กระจก (ยั่วยวนเหลือเกิน) คนขายบอกพันเจ็ด จะเอาลดได้ให้พันหกห้าสิบ...ผู้เขียนยืนคิดอยู่นาน แล้วก็บอกไปว่าถ้าลดลงอีกร้อยนึงจะเอา และสุดท้ายทั้งผู้เขียนและคนขายก็ลากกันมาจบที่จุดกึ่งกลางคือ 'พักหกถ้วน' แต่ผู้เขียนขอดูเครื่องใหม่แกะกล่อง (จะซื้อของที่มาบุญครอง ต้องตรวจดูให้ดี...แมวย้อมสีมีเยอะ)...และท้ายที่สุดเจ้า fx-5800P ก็ได้เข้ามาวางอยู่ในบ้านที่มีทั้ง Prizm กับ fx-911MS...โอ้วว มัดมือชกตัวเองเข้าแล้วงัย...และคงไม่มีคำว่าถอยหลัง หรือต้องคิดพิจารณากันอีกแล้ว เพราะได้ 'ควักกระเป๋า' จ่ายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว...


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'ถอดรหัส Syntax'

>> สูตรงานสำรวจฯ ที่จะนำเข้าสู่เครื่องคิดเลข Casio fx-5800P ผู้เขียนเลือกที่จะใช้สูตรฯที่ได้สร้างไว้ให้กับเครื่องคิดเลข 
Casio fx-CG10 (Prizm) มาเป็นต้นแบบ และทำการปรับโครงสร้างของ Variable ให้เข้ากันกับเครื่องคิดเลข Casio fx-5800P โดยเฉพาะการคีย์ค่าต่างๆเข้าไปในเครื่องฯ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันพอสมควร อาทิ ปัญหาการติดวงเล็บ () ของฟังก์ชั่นต่างๆ Cos(, Sin(, Abs(, Arg( ซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบลำดับของการคำนวณ (ในวงเล็บ-นอกวงเล็บ) อย่างละเอียด ทุกๆเทอมของสมการ (ส่วนเครื่องคิดเลข Prizm จะแสดงวงเล็บด้วยคู่สี (), (), () ซึ่งจะทำให้รู้ว่าเทอมของสมการใดที่มีการคำนวณเกินอาณาเขต หรือขาดช่วง โดยดูจากคูสีของวงเล็บที่ขาดหายไป เป็นต้น)

ตัวอย่างสูตรฯ การหาค่าพิกัดเป้าหน้า หรือตำแหน่งที่หมายใดๆ เมื่อ ทราบค่ามุมอะซิมัท และระยะทาง 

ตัวอย่างสูตรฯ การหาค่ามุมอะซิมัท และระยะทาง  ไปยังที่หมายใดๆ เมื่อทราบค่าพิกัดของที่หมายนั้นๆ (เหมาะสำหรับ งาน Set Out, ให้ตำแหน่ง, วางไลน์ ฯลฯ)


* สำเร็จไปแล้ว 4 สูตรฯ...หนทางยังอีกยาวไกล O_O

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'แปลงหน่วย จาก ตารางเมตร เป็น ไร่-งาน-ตารางวา'

บทความอ้างอิง: อัพเดทสูตรงานสำรวจฯ Rev. 2012-B >> Casio fx-CG10 (PRIZM) + สูตรงานสำรวจรังวัด (.g3m) พร้อมคู่มือการใช้สูตรฯภาษาไทย


วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'สูตรงานสำรวจฯสำหรับ เครื่องคิดเลข  Casio fx-5800'

>> ผ่านไปหลายวัน ผู้เขียนยังคงพยายามจัดสรรเวลาในแต่ละวันไปกับการจัดทำสูตรงานสำรวจฯ ให้กับเครื่องคิดเลข Casio fx-5800 ซึ่งมาถึงวันนี้ ความคืบน่าในภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 70% ของปริมาณงานทั้งหมด และในส่วนของสูตรฯต่างๆ ที่จะมีในเครื่องคิดเลข Casio fx-5800P มีทั้งหมดรวม 32 สูตร ซึ่งมีรายระเอียดดังนี้

สูตรงานสำรวจรังวัด: (เวอร์ชั่นปี 2012)

1. คำนวณหามุมภายใน และ มุมภายนอก ระหว่างแขนของมุม ทั้ง 2 ด้าน
2. คำนวณหาพื้นที่รูปหลายเหลี่ยม 
3. แปลงหน่วยพื้นที่ จาก ตารางเมตร เป็น ไร่ – งาน - ตารางวา
4. คำนวณหามุมอาซิมัท และระยะทางราบ ระหว่างจุดที่ทราบค่าพิกัด 2 จุด
5. คำนวณค่าพิกัด E,N ของเป้าหน้า เมื่อทราบค่า มุม+ระยะทาง
6. คำนวณหาค่าพิกัด E,N ของจุดศูนย์กลางของวงกลม
7. คำนวณหาค่าพิกัดที่จุดศูนย์กลางของวงกลม เมื่อทราบค่าพิกัด 2 จุด บนเส้นรอบวง
8. คำนวณหาค่าพิกัดที่จุดศูนย์กลางของวงกลม เมื่อทราบค่าพิกัด 3 จุด บนเส้นรอบวง
9. คำนวณหาระยะทาง และระยะ offset จากเส้น base line ที่ทราบค่าพิกัด ทั้ง 2 จุด
10. คำนวณหาค่าพิกัด E,N จุดใดๆ ที่ต้องการ offset จากเส้น base line 
11. คำนวณหาค่าพิกัด E,N ที่จุดตัด ระหว่าง เส้น 2 เส้น
12. แปลงหน่วยวัดมุม จาก องศา ลิปดา ฟิลิปดา เป็น องศาทศนิยม
13. คำนวณหาระยะทางระหว่างจุด 2 จุด 
14. คำนวณหาค่าระดับตามแนวเส้นตรงบนทางลาดเอียง
15. คำนวณหา ระยะทางราบระหว่างจุดที่ทราบค่าพิกัด 2 จุด
16. คำนวณหา ระยะทางราบ 1
17. คำนวณหา ระยะทางราบ 2
18. คำนวณส่วนประกอบของโค้ง (Curve)
19. คำนวณหาความสัมพันธ์ของรูปสามเหลี่ยม ค่ามุม (ทิศทาง) + มุมภายใน + มุมภายนอก  
20. หาค่าพิกัดที่จุดตัด  Intersection 
21. การทำระดับ 
22. คำนวณหาค่าระดับของเป้าหมาย
23. คำนวณหาค่าพิกัด และค่าระดับ ของเป้าหน้า
24. คำนวณหาค่าระดับที่ต้องการ (Vertical Offset)
25. Free Station / Resection 1
26. Free Station / Resection 2
27. คำนวณหาค่าพิกัดฉาก
28. คำนวณหาระยะทางราบด้วยกล้องระดับ  
29. คำนวณหา ค่ามุมอะซิมัท และระยะทาง จากจุดตั้งกล้อง ไปที่เป้าหน้า (ต่อเนื่อง)
30. คำนวณค่าพิกัด E,N ของเป้าหน้า (ต่อเนื่อง)
31. คำนวณหาค่ามุมภายในรูปสามเหลี่ยม และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม 
32. คำนวณหาส่วนประกอบของโค้งดิ่ง

* คาดว่าการจัดทำสูตรฯ+คู่มือการใช้งานสูตรฯ น่าจะแล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้าครับ 

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"และแล้วมันก็สำเร็จ"
>> หลังจากที่ได้พยายามนั่งพิมพ์ ๆๆ และพิมพ์ สูตรเข้าไปในเครื่องฯ ทีละตัวอักษร บางวันก็ได้เพียงสูตรเดียว (สูตรยาว) บางวันก็ได้สองสูตร บางวันพิสูจน์สูตร/สมการแล้วพบว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องเสียเวลาแก้ไข รวมเวลาที่ต้องหมกมุ่นอยู่กับเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ ได้ 2 สัปดาห์พอดิบพอดี...ครบ 32 สูตรฯ อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ (ปีหน้า 2013 ค่อยว่ากันใหม่) 

และแล้วมันก็สำเร็จ...และนี่คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนายช่างรังวัดฯ นักเรียน นักศึกษาสาขาโยธา ที่สนใจจะมีเครื่องคิดเลขพร้อมสูตรงานสำรวจรังวัดไว้ใช้งาน และไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปเสาะแสวงหาเครื่องคิดเลขรุ่นเก่าๆ อาทิ Casio fx-880P มือสอง มือสาม พร้อมสูตรฯ ราคาขายห้าพัน หกพันบาท อีกต่อไป...

ส่วนราคาที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวถึงไว้ข้างต้น คือต้องลดราคาลงมา 30-40% จากราคาที่ขายอยู่ต่างประเทศ (มีเพียง 10-12 สูตร) และต้องมีจำนวนสูตรงานสำรวจฯ ในจำนวนที่มากกว่า...ผู้เขียนได้สรุปออกมาเป็นตัวเลขแล้วอยู่ที่ราคา 3,200 บาท (*รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ EMS ทั่วประเทศ) โดยจำแนกเป็นรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้

1. ตัวเครื่องคิดเลข Casio fx-5800P ราคา 1,600 บาท (แท้, มือหนึ่ง)
2. สูตรงานสำรวจรังวัด 32 สูตร ราคา 1,400 บาท (หรือคิดเป็น 43.75 บาท/สูตร...ราคาต่างประเทศเฉลี่ย 300 บาท/สูตร)
3. ค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ EMS ทั่วประเทศ 200 บาท (ค่อนข้างมีน้ำหนัก เมื่อรวมกับคู่มือหลายเล่ม)

* อนึ่ง การสั่งซื้อตัวเครื่องฯถึง 10 เครื่อง จะได้รับส่วนลดเหลือ 1,550 บาท/เครื่อง แต่ผู้เขียนคงจะไม่สามารถเสี่ยงลงทุนสั่งซื้อเครื่องเข้ามาสต๊อคไว้ในจำนวนมากขนาดนั้น...ผู้เขียนตัดสินใจที่จะลงทุนสั่งซื้อเครื่องฯมาสต๊อคไว้เพียง 2 เครื่องเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยง และในกรณีที่ผู้สั่งซื้อทำการสั่งจองเข้ามาในช่วงเวลาที่ของหมดพอดี จะต้องเพิ่มวันรอไปอีก 1 วันครึ่ง ครับ (ผู้เขียนต้องสั่งออเดอร์ไปยังผู้จัดจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะใช้เวลา 1 วันครึ่ง กว่าของจะมาส่งที่บ้าน)


* สำหรับท่านที่มีจตุปัจจัยทางฐานะอยู่ในเกณฑ์ดี มีเครื่องคิดเลขไฮเทคราคาแพง อย่าง Casio fx-CG10 (Prizm) จอสีรุ่นใหม่ล่าสุดไว้ในการครอบครองแล้ว ท่านสามารถดาวน์โหลดสูตรงานสำรวจฯ 24 สูตร สำหรับเครื่องคิดเลขรุ่นดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนได้จัดเตรียมไว้บริการท่านแล้วในเว็บบล๊อคแห่งนี้ โดยที่ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น (Absolutely FREE)
* อาจจะพิจารณา ถึงความเป็นไปได้ในการเพิ่มช่องทางการโฆษณาทางเว็บไซต์อื่นๆ อาทิ Tarad,weloveshopping หรืออื่นๆ เป็นต้น

geospatialjs@gmail.com

Saturday 14 July 2012

Geospatial Services: บริการงานสำรวจทางชลศาสตร์ (Hydrographic Survey)

  • งานสำรวจพื้นผิวใต้ท้องน้ำ ในระบบแม่น้ำ ลำคลอง และในทะเล (Bathymetric Survey for Riverbed and Seabed/Seafloor) ด้วยเครื่องมือหยั่งความลึกชนิดใช้คลื่นเสียงสะท้อน ชนิดความถี่เดียว สองความถี่ และหลายความถี่ (Single/Dual/Multi Beam Echo Sounder) พร้อมด้วยซอฟแวร์ประมวลผล Hypack & Hypack Sweep Max (Licensed)
ตัวอย่างการสแกนพื้นผิวใต้ท้องน้ำ ด้วยเครื่องมือหยั่งความลึก
ชนิดใช้คลื่นเสียงสะท้อน หลายความถี่ (Multi Beam Echo Sounder)
  • งานสำรวจสภาพทางอุทกวิทยา อัตราเร็ว ทิศทางการไหล ปริมาตรมวลน้ำ/วินาที (Discharge) ด้วยเครื่องมือ ADCP (Acoustic Doppler Current Profiler) พร้อมด้วยซอฟแวร์ประมวลผล Win River และ Hypack v.2012



ดูข้อมูลเพิ่มเติม ในหน้าเว็บหลัก >> คลิก





* มีประสบการณ์การทำงานด้าน Hydrographic Survey ทั้งใน และต่างประเทศ
geospatialjs@gmail.com

Thursday 12 July 2012

สูตรงานสำรวจรังวัด สำหรับเครื่องคิดเลข Casio fx-880P

ดาวโหลดตามลิงค์ด้านล่าง (ไม่ต้องใช้พาสเวิร์ด)
www.mediafire.com/?a2qcqsejkzaxwsb

1. 2D Transformation
2. 3D Circle Fix
3. Angle Reduction
4. Bearing & Distance
5. Extension of Vectors
6. Intersection
7. Offset
8. Open Traverse
9. Resection

Thursday 5 July 2012

Geospatial Services: บริการสร้างโปรเจ็คแผนที่ Base Map ให้กับ GPS GARMIN (โปรแกรม Licensed)


CLOSED!
>> ในยุคปัจจุบัน อุปกรณ์ที่ช่วยในการนำทาง หรือที่เรียกว่า Handheld GPS (แบบมือถือ) ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ อยากหลีกเลี่ยงมิได้ ไล่ตั้งแต่การถูกอินทิเกรตระบบรับสัญญาณดาวเทียม เข้ามาเป็นออปชั่นหนึ่งในโทรศัพท์มือถือเพื่อการบอกตำแหน่ง หรือการถูกติดตั้งในรถยนต์ เพื่อการนำทาง เป็นต้น

ทั้งนี้ 'ข้อจำกัด' ในการใช้งาน Handheld GPS (แบบมือถือ) เหล่านี้ ยังคงถูกจำกัดอยู่ที่ตัวแผนที่ Base map ที่ถูกติดตั้งมาในตัวเครื่องฯแล้ว นั่นคือ 'มีเฉพาะแผนที่ถนน' เท่านั้น

จากข้อจำกัดข้างต้น ผู้เขียนจึงขออนุญาตินำเสนองานบริการสร้างโปรเจ็คแผนที่ Base Map หรือแผนที่เฉพาะโครงการ ไซต์งาน หรือพื้นที่เฉพาะ อาทิ
  • แผนที่ Base Map สำหรับสนามกอล์ฟ (Base Map for Golf Course): เหมาะสำหรับรถที่ถูกใช้เฉพาะภายในสนามกอล์ฟ ที่ต้องการติดตั้ง GPS Garmin Nuvi (ติดตั้งในรถกอล์ฟ) ซึ่งมีแผนที่แสดงตำแหน่ง และรายละเอียดสภาพภูมิประเทศของสนามกอล์ฟ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้มาเล่นกีฬากอล์ฟ ให้เข้าใจถึงสภาพพื้นที่สนามฯ และสามารถเดินทางไปยังจุดหมายภายในสนามกอล์ฟที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง (ไม่ต้องมาเสียเวลาออกอาการ 'งง' เรื่องทิศทาง กับแผนที่กระดาษ)


  • แผนที่ Base Map สำหรับงานเหมืองแร่ (Base Map for Mining): แผนที่ Base Map แสดงพื้นที่ขอบเขต และรายละเอียดต่างๆ ทางด้านสภาพภูมิประเทศต่างๆ ภายในเหมืองแร่ อาทิ Pit, Ramp, ตำแหน่งหลุมเจาะ, Stock pile ตลอดจนแผนที่ Base Map แสดงขอบเขตสภาพทางธรณีวิทยาของเหมืองแร่ ฯลฯ 


    • แผนที่ Base Map แสดงเส้นชั้นความสูง (Topographic Base Map)


    • แผนที่ Base Map แสดงขอบเขตพื้นที่อนุรักษ์ (Base Map for Conservative Area)

    >> สำหรับท่านที่สนใจ ที่ต้องการจะมี Base Map พื้นที่โครงการฯ ไซต์งาน ขอบเขต อาณาบริเวณ แสดงเป็นแผนที่เฉพาะในตัวเครื่อง GPS ของตนเอง และบุคลากร หรือการนำไปประยุกต์ใช้ในสายงานแขนงอื่นๆ ฯลฯ...ติดต่อได้ครับ

    รายชื่อรุ่น GPS ที่รองรับ:
    Garmin Nuvifone M20
    Garmin Mobile XT
    Garmin Aera
    Garmin Oregon
    Garmin Dakota
    Garmin Colorado
    Garmin Montana
    Garmin Astro
    Garmin Nuvi and Zumo (ทุกรุ่น)
    Garmin Edge 605, 705, 800
    Garmin iQue M3, M4, M5
    Garmin eTrex 20, 30
    Garmin eTrex Summit HC
    Garmin eTrex Venture Cx, HC
    Garmin eTrex Legend C, Cx, HCx
    Garmin eTrex Vista, C, Cx, HCx
    Garmin Rino 120, 130, 520, 530, 520HCx, 530HCx
    Garmin GPS V
    Garmin GPSMAP 60C, 60CS, 60Cx, 60CSx, 62, 62s, 62st
    Garmin GPSMAP 76, 76S, 76C, 76CS, 76Cx, 76CSx, 78, 78s, 78sc
    Garmin GPSMAP 176, 176C, 276C, 376C, 378, 478C
    Garmin GPSMAP 96, 96C, 196, 296, 396, 496
    Garmin GPSMAP 620 - only routing maps in automotive mode **
    Garmin Quest, Quest 2
    Garmin Street Pilot i2, i3, i5
    Garmin Street Pilot c320, c330, c340
    Garmin Street Pilot c530, c550, 580
    Garmin Street Pilot 2610, 2620, 2650, 2660


    วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
    ตัวอย่างงาน Base Map

    >> ตัวอย่างการสร้างแผนที่ Base Map ให้กับ GPS นำทาง Garmin Nuvi ซึ่งพื้นที่โครงการมีลักษณะเป็นลำน้ำ มีโขดหิน เกาะแก่ง และได้นำเส้นชั้นความสูง (ความลึกของน้ำ) เข้ามาแสดงประกอบในแผนที่


    - ได้รับอีเมลล์สอบถามเรื่องการสร้าง Base Map แผนที่ภาษีซึ่งมีชั้นเลเยอร์เป็นจำนวนมาก ให้กับ GPS นำทาง Garmin Map60csx จะเหมาะสมหรือไม่?

    >> ตัวอย่างสาธิตแสดงผลลัพธิ์ของการแสดงผล เมื่อเพิ่มจำนวนเลเยอร์ขององค์ประกอบของแผนที่มากขึ้น โดยเฉพาะองค์ประกอบที่แสดงอาณาเขตเป็นรูปโพลีกอน (Area) ให้กับเครื่องมือ GPS นำทาง Garmin Map60csx ซึ่งมีข้อจำกัดในการแสดงผลของหน้าจอ (256 สี)
    >> ด้วยข้อจำกัดของตัวเครื่องฯ ที่แสดงเฉดสีได้เพียง 256 สี ประกอบกับปริมาณข้อมูล (ชั้นเลเยอร์) ที่มีเป็นจำนวนมาก ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประมวลผลที่หน้าจอ (กระตุก) ฉะนั้นในซีรี่ 60csx ดังกล่าว จึงไม่เหมาะสมกับงานที่มีปริมาณชั้นข้อมูลเป็นจำนวนมาก




    วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555
    'ตัวอย่างงาน Base Map สำหรับ Garmin GPSMAP 62s'

    geospatialjs@gmail.com

    Civil 3D: Linework (*.fbk)

    >> ผู้เขียนไม่ทราบว่าโดยแท้จริงแล้วมีไฟล์ .fbk อยู่กี่ประเภท แต่เท่าที่ได้ใช้งานมาพอสมควร ไฟล์ .fbk แรกเริ่มเดิมที มีไว้ใช้กับโปรแกรม Autocad Survey ยุคแรกๆ ครับ เรียกว่า Autodesk Fieldbook และอาจจะนำเข้า และใช้งานได้ในโปรแกรม Softdesk เวอร์ชั่นปลายๆ

    ส่วนแนวคิดในการสร้างฟอร์แมต .fbk นั้นน่าจะมาจากแนวคิดเกี่ยวกับเรื่อง Field to Finish หมายความว่า ถ้าโหลดข้อมูลออกจากกล้องสำรวจฯ ก็จะได้งานทันทีทันใด โดยที่ตัวโปรแกรมจะทำการพล๊อตข้อมูลจุดสำรวจ และลากเส้นของวัตถุต่างๆ หรือกำหนดสัญลักษณ์ให้กับจุดสำรวจ (Description key) ให้เสร็จสรรพ ...ไม่ต้องมาเสียเวลาพล๊อตจุด ลากเส้น ฯลฯ
    Raw Data
    >> เป็นที่ทราบกันดีว่า กล้องสำรวจ (Total Station) มีอยู่มากมาย หลากหลายยี่ห้อ ซึ่งในแต่ละยี่ห้อ ก็จะมี Raw Data หรือที่เรียกว่า ไฟล์กล้องฯ (หรือข้อมูลดิบ อ่านไม่รู้เรื่อง) แตกต่างกันไป ของใครของมัน และในการทำงานกับข้อมูลไฟล์กล้องฯ ที่แตกต่างกันเหล่านี้ จึงได้มีการสร้างฟอร์แมต 'กลาง' สำหรับโปรแกรมของค่าย Autodesk นั่นคือ ฟอร์แมต .fbk (หมายความว่า ถ้าต้องการจะเปิด หรือทำงานกับข้อมูลกล้องฯ แต่ละยี่ห้อ ต้องเอาข้อมูลไปแปลงให้อยู่ในรูปของฟอร์แมต fbk เสียก่อน)

    * ส่วนฟอร์แมต .csv, txt, xml ฯลฯ (PENZD) ทั้งหลาย ไม่ใช่ไฟล์กล้องฯ (Raw Data) แต่เป็นไฟล์ที่ถูกแปลงมาแล้วให้อยู่ในรูปของค่าพิกัด และระดับ...ในที่นี้ ขอไม่กล่าวถึง
    *(ส่วนตัว) ไม่นิยมในวิธีการนี้ครับ เพราะในหน้างานจริง กล้องจะอ่านเก็บจุด ในตำแหน่งที่กล้องมองเห็น ซึ่งอาจจะมีข้อมูลจุดสำรวจอยู่หลายประเภท อาทิ ท่อ เสา รั้ว ฯลฯ ส่วนจุดที่มองไม่เห็นอื่นๆ ก็จะย้ายกล้องไปเก็บทีหลัง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อมูลจุดสำรวจ เรียงประเภทข้อมูลไม่ต่อเนื่อง ฉะนั้นถ้าต้องการกำหนดให้ตัวโปรแกรมลากเส้นอัติโนมัติให้กับข้อมูลประเภทนี้ เราต้องเสียเวลามากำหนดคำสั่ง Figure ให้กับข้อมูลแต่ละประเภท (ยิ่งขาดความต่อเนื่อง ยิ่งใช้เวลามาก)...ดังนั้น ผมจึงนิยมวิธีโบราณ มากกว่าครับคือ ลากเส้นเอาเอง (Manual) หรือไม่ก็ใช้วิธียิง pline ช่วยในบางครั้ง...แต่ถ้าข้อมูลมีปริมาณมาก และมีการเรียงข้อมูลจุดสำรวจตามลำดับ การกำหนด Figure ก็เป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดเวลาได้ดีทีเดียว
    * กล้องฯ รุ่นใหม่ๆ บางตัว น่าจะมีคำสั่งกำหนด Figure หรือ Linework อยู่ในตัว ?

    Hand On:
    1. แปลง Raw data (ไฟล์กล้องฯ) ให้เป็น PNEZD เซฟเป็นไฟล์ .txt 
    2. แปลงไฟล์ .txt จากข้อ 1 เป็นไฟล์ .fbk...ที่โปรแกรม Civil 3D >> แท๊ป Survey > Survey Data Collection Link > ไปที่แท๊ป Coversion เลือกประเภทข้อมูลตามภาพด้านล่าง
    * สังเกตุ Figure command ที่พิมพ์เข้าไป โดยแก้ไขใน Notepad

    3. ไฟล์ที่ได้จากข้อ 2 คือไฟล์ .fbk ซึ่งยังไม่ได้กำหนด Figure ให้กับข้อมูลศึกษาคำสั่ง Figure command ได้จาก http://docs.autodesk.com/CIV3D/2013/ENU/index.html?url=filesCUG/GUID-EE243AAB-AE65-467B-8E5B-D64032A82062.htm,topicNumber=CUGd30e81831
    4. ตัวอย่างสาธิต ไฟล์ .fbk ที่ได้กำหนด Figure ให้กับข้อมูล
    * สังเกตุ Figure command ที่พิมพ์เข้าไป โดยแก้ไขใน Notepad

    5. ที่โปรแกรม Civil 3D >> (Toolspace) แท๊ป Survey > คลิกขวาที่ Survey Database > New local survey database > พิมพ์ชื่อ + Ok
    6. จากข้อ 5 จะสังเกตุเห็น Survey Data base สร้างชุดข้อมูลชื่อ (ชื่อที่พิมพ์ในข้อ 5) > + ขยายออก > คลิกขวาที่ Network เลือก New พิมพ์ชื่อ Network ที่ต้องการ
    7. จากข้อ 6 จะสังเกตุเห็น Network สร้างชุดข้อมูลชื่อ (ชื่อที่พิมพ์ในข้อ 6) > คลิกขวา ที่ชื่อที่พิมพ์ในข้อ 6 เลือก Import > Import fieldbook (เลือกไฟล์ .fbk ที่ได้กำหนดคำสั่ง Figure แล้ว) ...จะพบหน้าต่าง Import fieldbook ตามภาพด้านล่าง
    * กำหนดค่าต่างๆ ตามภาพ

    8. โปรแกรมจะสร้าง Figure ข้อมูลตามที่กำหนดในข้อ 4