Sunday 15 April 2012

Civil 3D: Road Junction & Intersection (Basic Step)

>> ตัวอย่างสาธิต งานออกแบบถนน ในกรณีที่แนวถนนมีทางร่วมแยก ซึ่งตัวอย่างสาธิตนี้ เป็นการออกแบบทางร่วมแยก ทั้งในแบบ สามแยก และ สี่แยก ตามลำดับ

จากตัวอย่างด้านล่างแสดงแนวเส้น Alignment 2 เส้น ซึ่งมีจุดร่วมแยกดังภาพ (ที่จุดร่วมแยกของ Alignment # 2 ต้องมีจุดเริ่มต้นบนเส้น Alignment # 1)


>> หลังจากสร้างเส้นแนว Alignment 2 เส้น และสร้าง Corridor ของ แนวเส้น Alignment แต่ละเส้นแล้ว ที่คำสั่ง Intersections > Create Intersections > คลิกเลือกจุดเริ่มแยกบนเส้น Alignment # 1 และที่ Command line จะมีคำสั่ง (หน้าต่างให้เลือกแนวเส้น Alignment ที่ต้องการให้เป็นแนวเส้น Alignment หลัก ในขั้นสาธิตนี้ เลือกเส้น Alignment # 1) หลังจากนั้นจะพบหน้าต่างแสดง ดังภาพด้านล่าง
* ที่ Intersection corridor type: เลือก Primary Road Crown Maintained

>> ที่คำสั่ง Geometry Details คลิกเลือกที่ Offset Parameters จะพบหน้าต่าง Intersection Offset Parameters > เปลี่ยนค่า Offset Value ตามขนาดความกว้างของเลน แต่ละด้าน ในขั้นสาธิตนี้ แบบ Assembly มีความกว้างของเลน 2.5 ม.

>> ที่คำสั่ง Geometry Details คลิกเลือกที่ Curb Return Parameters จะพบหน้าต่าง Intersection Curb Return Parameters > เปลี่ยนค่า Radius (รัศมีของโค้ง ที่จุดร่วมแยก) เท่ากับ 20 ม.


>> ที่คำสั่ง Corridor Region จะเป็นการกำหนด เส้น Corridor ที่โปรแกรมจะสร้างขึ้น ว่าต้องการจะให้แยก/รวม กับ เส้น Corridor ที่มีอยู่เดิม
* กำหนดให้สร้าง Corridor ใหม่ (เฉพาะส่วนทางร่วมแยก)

ผลลัพธิ์ หลังจากการ คลิก Create Intersection
หมายเหตุ: ชุดคำสั่งที่ใช้ออกแบบทางร่วมแยก ประเภทสี่แยก สามารถใช้ชุดคำสั่งเช่นเดียวกันกับการออกแบบทางร่วมแยกประเภทสามแยก ตามการสาธิตข้างต้น โดยตำแหน่งจุดที่ตัดกันระหว่างเส้น Alignment ทั้งสอง จะถูกใช้เป็นจุดศูนย์กลางของทางร่วมแยก

Civil 3D: Project Objects to Profile View


>> เป็นอีกหนึ่ง feature ของโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นการส่วนตัว โดยเฉพาะกับงานสำรวจรังวัด ที่ต้องเก็บโปรไฟล์ในหน้างานสนาม ซึ่งจะมี เสาไฟฟ้า ท่อน้ำ ต้นไม้ ป้าย ฯลฯ อยู่ในแนวใกล้เคียงกับโปรไฟล์ ซึ่งเราสามารถอ้างอิงตำแหน่งวัตถุ หรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เข้ามาอยู่ในแนวโปรไฟล์ได้

จากตัวอย่างภาพด้านล่าง แสดงเส้นแนว Alignment (โปรไฟล์) เส้นหนึ่งบน surface


จากตัวอย่างภาพด้านล่าง แสดงตัวอย่างจุดสำรวจทั้ง 3 จุด ซึ่งอยู่ในแนวใกล้เคียงกับ แนวโปรไฟล์

Hand On:
ที่แท๊ป Home > Profile View > Project Objects to Profile View คลิกเลือกที่จุดสำรวจ > คลิกเลือกที่ Profile View จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดง ตามภาพด้านล่าง
* สามารถแก้ไข รูปแบบ สัญลักษณ์ และอื่นๆ ได้ในหน้าต่างคำสั่งนี้


ภาพตัวอย่างโปรไฟล์ หลังจากการ Project Object

Tool ติดตามแผ่นดินไหวทั่วโลก แบบ Real Time สำหรับโปรแกรม Google Earth

>> Tool ติดตามแผ่นดินไหวทั่วโลก แบบ Real Time...มีประโยชน์ครับ
Download >>
 http://www.mediafire.com/?e7efd5txs8kfj2e

การเกิดอาฟเตอร์ช๊อค ภายในเวลา 48 ชม.


'เพิ่มเติม'

โปรแกรม EARTHQUAKE 3D ติดตามรายงานแผ่นดินไหวทั่วโลกในแบบ Real-Time


Civil 3D: วิธีการรวม Surface จากโปรแกรม Google Earth


>> ข้อจำกัดของตัวโปรแกรม AutoCAD Civil 3D เมื่อต้องนำ surface ที่ได้จากโปรแกรม Google Earth มาใช้ในการออกแบบ อาทิ งานถนน ซึ่งเส้นแนว alignment มีความยาวมากกว่า ตัวภาพ+surface และเมื่ิอทำการ zoom out เพื่อให้เห็นพื้นที่กว้างขึ้น จะทำให้คุณภาพของพื้นผิว หรือเส้นคอนทัวร์ มีความคลาดเคลื่อนมากยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่องานออกแบบ หรืองานคำนวณค่าต่างๆ ฯลฯ

เพื่อที่จะให้ค่าระดับพื้นผิวมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด (อ้างอิงค่าระดับ จากโปรแกรม Google Earth) จะต้องทำการ zoom in ให้ได้ภาพจาก Google Earth ชัดที่สุด และนั่นหมายความว่า พื้นผิว surface ของภาพ ก็จะมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย...การนำ surface หลายๆ ไฟล์ มา copy & paste หรือ อาจจะทำการ 'ตัดต่อ' เส้นคอนทัวร์ทีละเส้น ก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่จะใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลายๆ surface นำมาเรียงต่อๆ กัน...สำหรับโปรแกรม Civil 3D มีคำสั่งที่สามารถรวม surface เป็นชิ้นเดียวกันได้ ดูตามตัวอย่างด้านล่างครับ


ภาพตัวอย่าง การนำทั้ง 3 surface มาวางต่อกันซึ่งได้จากการ import surface+image จาก โปรแกรม Google Earth ซึ่งที่แท๊ป Prospector > Surfaces จะเห็นรายชื่อ และจำนวน surface ที่นำเข้ามา


จากภาพด้านล่าง จะเห็นขอบของ surface มีการซ้อนทับกันอยู่

>> ที่แท๊ป Prospector > Surfaces > (ขยาย) + surface ที่ต้องการจะใช้เป็น surface หลัก > Definition > คลิกขวาที่ Edit เลือก Paste Surface จะพบหน้าแสดงรายชื่อ surface ทั้งหมดที่อยู่ในตัว drawing คลิกเลือกที่ surface ที่ต้องการจะรวม (ทำทีละ surface)
ผลลัพธิ์ที่ได้


* ตรวจสอบโดยการคลิกที่ surface จะพบว่าถูกรวมเข้าเป็น surface เดียวกันแล้ว

วันพุทธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'Surface จาก Google Earth'

>> ผู้เขียนได้สังเกตุเห็นยอดผู้เข้าชมบทความนี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จึงอยากที่จะขออนุญาติเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับการนำ Surface ที่ได้จาก Google Earth ไปใช้ในงานต่างๆ 

รายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ >> Mapping Satellite (ดาวเทียมสำรวจแผนที่ฯ)

>> ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระบบที่ใช้ในการผลิตแผนที่ และการนำแผนที่ไปใช้ให้ถูกกับงาน และวัตุประสงค์...จากประสบการณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบและคำนวณปริมาณงานทางวิศวกรรมต่างๆ...ขอยกตัวอย่าง งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งวิศกรผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้สังซื้อภาพถ่าย+DEM จากผู้ให้บริการแผนที่ฯชื่อดัง เมื่อได้ภาพถ่ายฯ (Registered แล้ว) ก็ลุยถั่วสร้างแผนที่เส้นชั้นระดับความสูง ออกแบบ คำนวณกันวุ่นวาย และสั่งให้ บ.ผู้รับเหมาไปขุดดิน/ถมดิน ตามแบบกันให้วุ่น...ขุดกันไป ขุดกันมา ปรากฎว่าคิวของรถบรรทุกดิน มาจนถึงเกือบจะคิวสุดท้ายแล้ว จากที่ได้ประเมินปริมาณงานดินทั้งหมดเอาไว้จากแบบ แต่ดินยังหมดไปไม่ถึงครึ่ง...งานเข้าแล้วพี่น้อง...

สุดท้ายต้องได้ 'รื้อ' งานกันใหม่ทั้งหมด โดยการส่งทีมสำรวจฯ ไปเก็บโทโปฯ และนำข้อมูลมาออกแบบกันใหม่ และผลจากการเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างการสำรวจฯ แบบกราวด์เซอร์เวย์ และข้อมูลสำรวจฯ ที่ได้จากดาวเทียม มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางแกนราบ 2-3 เมตร และ 5-10 เมตร (10-20 เมตร ในเขตป่าทึบ) ในทางแกนดิ่ง

มีเจตนาที่ดีครับ ในเรื่องของการประหยัดงบประมาณ ซึ่งการจ้าง บ.สำรวจฯ จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ๆขนาดใหญ่ จึงตัดสินใจเลือกภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า...แต่สุดท้าย กลับต้อง 'ได้จ่ายมากกว่า' ทั้งเวลา และสารพัดสิ่งที่ได้ลงเงิน ลงแรงไปแล้ว

* มีการบอกต่อๆกันไปเหมือนไฟลามทุ่งในกลุ่ม บ.รับเหมาฯ ทั้งหลาย ถึงความสามารถของตัวโปรแกรม Civil 3D ในการดึง/ Import surface หรือสภาพภูมิประเทศ และเส้นชั้นระดับความสูง ออกมาจากโปรแกรม Google Earth ได้โดยตรง (พูดกันไปถึงว่าตัวโปรแกรมสามารถสร้างเส้นคอนทัวร์ที่ความละเอียด 0.100 ก็ทำได้) เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหรือคำนวณปริมาณงานต่างๆ ทำให้ลดรายจ่าย และไม่ต้องไปทำการสำรวจกราวด์เซอร์เวย์ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ  (*_* " ) 

>> Surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้นมีเกณฑ์ความถูกต้อง 'ต่ำ' (หยาบ) กว่าการใช้แผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียมฯ ฉะนั้นจึง 'ไม่เหมาะสม' ในการนำมาใช้สำหรับงานออกแบบ Infrastructure และงานคำนวณปริมาณต่างๆ...surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้น มีไว้สำหรับการวิเคราะห์ หรือประเมินปริมาณงานต่างๆเบื้องต้น หรือแบบคร่าวๆ เท่านั้นครับ 

Sunday 8 April 2012

Civil 3D: การปรับแก้งานสำรวจฯวงรอบ ด้วยชุดคำสั่ง Map Check

บทความอ้างอิง:
>> งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 1...อดีต สอนปัจจุบัน

หมายเหตุ: การสาธิตดังกล่าว เป็นการนำเอาชุดคำสั่ง Mapcheck มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและคำนวณปรับแก้งานวงรอบ โดยพิจารณาที่ตำแหน่งเข้าบรรจบที่หมุดที่ทราบค่า 1 หมุด หรือหมุดที่กล้องฯใช้ออกงานสำรวจวงรอบ 'แบบบรรจบ' (Loop Closure) 'แทน' การตรวจสอบมุม Azimuth ของหมุดวงรอบที่ทราบค่า 2 จุด (ไม่นำค่ามุม Azimuth ของ Backsigth มาพิจารณา)

Hand On:
1. งานสำรวจฯวงรอบงานหนึ่ง มีหมุดวงรอบจำนวน 5 หมุด ซึ่งประกอบด้วยหมุด TBM-1 (จุดออกกล้องฯ) ถึง TBM-5 และเข้าบรรจบกับหมุด TBM-1 อีกครั้งหนึ่ง (จากตัวอย่าง จะเห็น 'ความคลาดเคลื่อน' ของการเข้าบรรจบ และจะทำการปรับแก้ในลำดับถัดไป)

2. ทำการลากเส้น Polyline จาก TBM-1 ถึง TBM-5 และบรรจบ TBM-1 ที่กล้องอ่านค่าได้ ตามภาพ

หมายเหตุ: การวาดเส้น Polyline สามารถใช้คำสั่ง Create Line by ...
>> ตัวอย่างสาธิต เลือกการพล๊อตข้อมูลสำรวจที่อ่านได้จากกล้องฯ และวาดเส้น Polyline ไปตามจุดสำรวจของวงรอบ (สามารถที่จะ วาดเส้น Polyline โดยใช้วิธีป้อนค่ามุม+ระยะทาง ตามที่กล้องอ่านค่าได้ จากคำสั่ง Create Line by Bearing/Azimuth)

3. ที่แท๊ป Annotate > Add Labels > Figure > Multiple Segments > คลิกเลือกที่เส้น (ทิศทาง) ที่กล้องใช้อ่านมุมไป TBM-2...โปรแกรมจะสร้าง Label แสดงค่ามุม Bearing และระยะทางของแต่ละด้าน

4. ที่แท๊ป Analysis > Survey > Mapcheck > คลิกที่ไอคอน New Mapcheck (1) จะพบหน้าต่างแสดง ดังภาพ
>> (2) ใส่ชื่อ
>> (3) คลิกที่ ลูกศรเล็กๆ (ตามภาพ) จากนั้น คลิกเลือกตำแหน่ง หรือจุดเริ่มต้น (จะสังเกตุเห็น ค่าพิกัดของจุดเริ่มต้น ถูกแสดงในหน้าต่าง Mapcheck Analysis และสัญลักษณ์แสดงจุดเริ่มต้น ของงานวงรอบ)

4. ที่หน้าต่าง Mapcheck Analysis
>> (1) คลิกที่ New Side โปรแกรมจะสร้าง Side 1
>> (2) ในบรรทัดของ Side 1 คลิกที่ ลูกศรเล็กๆ (ตามภาพ) จากนั้นที่หน้า drawing คลิกที่ Label (มุม หรือระยะทาง)...จะสังเกตุเห็น (3) ข้อมูลต่างๆ จาก TBM-1 ถึง TBM-2 และที่หน้า drawing จะปรากฎทิศทางของวงรอบ ดังภาพ

5. ทำซ้ำขั้นตอนจากข้อ 4. (โปรแกรมจะสร้าง Side 2, 3, 4 ...) จนครบ 'ทุกด้าน' ของหมุดวงรอบ 

6. ที่หน้าต่าง Mapcheck Analysis คลิกขวาที่ Mapcheck 1 (ชื่อ) เลือก Adjust Mapcheck หน้าต่าง Mapcheck Analysis แสดงดังภาพ
หมายเหตุ: การสาธิตนี้เลือกวิธีการปรับแก้วงรอบแบบ Least Squares ซึ่งให้ผลลัพธิ์การปรับแก้ มุม+ระยะทาง ดีที่สุด

7. จากข้อ 6. คลิก Ok, โปรแกรมจะทำการคำนวณ และแสดงผลด้วย Notepad ออกมา 3 หน้าต่าง
- Mapcheck 1 Raw Closure.trv แสดงผลข้อมูลความคลาดเคลื่อนในภาพรวม และ Ratio ของวงรอบบรรจบ
- Mapcheck 1 Balanced Angles.trv แสดงผลค่าพิกัด ก่อนทำการปรับแก้
- Mapcheck 1.lso แสดงผลค่าพิกัด ก่อน และหลัง ทำการปรับแก้

* ที่หน้าต่าง Drawing ตัวโปรแกรมจะสร้างเส้น (กราฟฟิค) แสดงความคลาดเคลื่อนของงานวงรอบที่เกิดขึ้น และทิศทางการปรับแก้ (Shifting) 

8. ที่หน้าต่าง Mapcheck Analysis > Create Polyline โปรแกรมจะสร้างเส้น Polyline แสดงตำแหน่งของวงรอบใหม่ หลังจากการปรับแก้ (สามารถ Move ข้อมูลจุดสำรวจไปที่ตำแหน่งมุม ที่ถูกปรับแก้แล้ว ซึ่งข้อมูลค่าพิกัดจะถูกแก้ไขในฐานข้อมูลโดยอัติโนมัติ)
* ปิดการทำงานของ Command line ก่อนจะช่วยให้การใช้งานชุดคำสั่ง มีความสะดวกมากขึ้น

>> สำหรับการคำนวณปรับแก้วงรอบ เป็นกลุ่มๆ ทั้งหมุดฯวงรอบ และจุดสำรวจ ไปพร้อมๆ กัน โดยใช้โปรแกรม Civil 3D นั้น เป็นวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยาก และมีหลายขั้นตอน อาธิ ต้องกำหนดค่าแฟคเตอร์ต่างๆ ของกล้อง+ปริซึมให้กับตัวโปรแกรม รวมถึง สภาพภูมิอากาศ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ค่าสเกลแฟคเตอร์ และอื่นๆ

* ในสภาพความเป็นจริงโดยทั่วไป งานสำรวจวางหมุดวงรอบจะต้องแล้วเสร็จ ก่อนการสำรวจเก็บข้อมูล
* ชุดคำสั่ง Mapcheck ข้างต้น ใช้ได้เฉพาะงานคำนวณวงรอบ แบบบรรจบตัวเอง (เข้าหมุดเดิม) เท่านั้น
* (ส่วนตัว) ชอบใช้ ตาราง Excel มากกว่า   

ตัวอย่างการนำไฟล์ *.fbk จากกล้องฯเข้าสู่โปรแกรม ในแท๊ป Survey ซึ่งในขั้นตอนนี้สามารถทำการแก้ไข ข้อมูลสำรวจได้ อาทิ มุม ระยะทาง ความสูงของปริซึม และอื่นๆ