Saturday 22 June 2013

Civil 3D: การออกแบบอุโมงค์ใต้ดิน (Advance Step)

บทความอ้างอิง: 
"กระบี่อยู่ที่ใจ แค่เพียงใบใผ่ก็ใช้เป็นอาวุธซัดได้" 
อันจอมยุทธนั้นมียอดอาวุธที่ล้ำเลิศ แต่ในขณะต่อสู้ถ้าใจไม่ผสานกับอาวุธ อาวุธนั้นก็ไร้ค่า 
แต่ถ้าผสานใจกับอาวุธได้ แค่ใช้ใบไผ่ก็เป็นยอดอาวุธได้

>> จากประสบการณ์ที่เคยไปทำการสำรวจฯตรวจสอบอุโมงค์ผันน้ำในเขื่อนฯ ที่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องอาศัยแบบร่าง (ที่มีผู้ออกแบบมาให้แล้ว) เป็นเครื่องมือนำทางในการตรวจสอบแนวเส้น CL และ Dimension ของรูปทรงอุโมงค์ ว่าเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ 
* ขำๆ...ถ้าตรวจสอบพบว่า แนวอุโมงค์ไม่ตรง มันเบี้ยว ผิดรูปผิดร่าง หรือเจาะผิดทิศผิดทางขึ้นมา ผู้รับผิดชอบจะทำการเจาะรูใหม่ หรือขุด ระเบิดกันใหม่ไหมเนี่ย?

ตั้งแต่งานสำรวจฯตรวจสอบอุโมงค์ผันน้ำคราวนั้น ได้เห็นชาวต่างชาติใช้โปรแกรม Microstation (Bentley) ทำการออกแบบอุโมงค์...เห็นแล้วก็อยากเป็นนักออกแบบกับเขาบ้าง นั่น นู่น นี่ แต่...ไม่มีโปรแกรม T_T
>> จับเอา Civil 3D มาลองปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ลองประยุกต์ออกแบบตัว Sub-Assembly (อุโมงค์) แบบ 'ลองทำเอง'  แต่ก็ไม่สำเร็จ ปัญหาที่พบคือ Code Target ไม่ลิงค์เข้าหากัน และนั่นทำให้สร้างตัว Corridor Surface ไม่ได้...ปล้ำกันไป ปล้ำกันมา เสียหลายเพลา จนพอเป็นรูปเป็นร่าง และสะสมเป็นองค์ความรู้ส่วนตัว

หลักการออกแบบอุโมงค์ มีความคล้ายคลึงกับงานออกแบบถนนอยู่หลายประการ ทั้งทางราบและทางดิ่ง แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ การออกแบบอุโมงค์ต้องมีการออกแบบ  'เพดานอุโมงค์' เป็นแบบ 'ปิด' ลอดผ่านเข้าไปในชั้นดิน ชั้นหิน ซึ่งเป็นงานขุดอย่างเดียว ส่วนงานถนน จะเป็นแบบเปิด แล้วขุด-ถม มวลดินเข้า-ออก ให้ได้ตามแบบ

>> และจากองค์ความรู้แบบ 'ลองทำเอง' ข้างต้น...ผู้เขียน เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจศึกษาการออกแบบประยุกต์ดังกล่าว ซึ่งสามารถที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐาน หรือต่อยอด พัฒนาการออกแบบแนวอุโมงค์ และประยุกต์ให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไป...และนั่น คือที่มาของบทความนี้ครับ

Civil 3D: การออกแบบอุโมงค์ใต้ดิน (Advance Step)
* ภาพถ่ายอุโมงค์ต้นแบบ เพื่อใช้ในการออกแบบ Sub-Assembly

หมายเหตุ: ท่านผู้ศึกษาการออกแบบอุโมงค์ใต้ดินด้วยโปรแกรม Civil 3D ในบทความนี้ ควรที่จะมีพื้นฐานการออกแบบถนนมาก่อน ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะชี้แนะขั้นตอน และวิธีการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดวิธีการใช้งานชุดคำสั่งการออกแบบ ท่านสามารถศึกษาได้จากบทความ Civil 3D: การออกแบบถนน (Highway) Step by Step (ม้วนเดียวจบ)

Hand On:
1. เตรียมพื้นที่
* เอา Surface เดิมมาใช้อีกละ   (-_- ")

>> ออกแบบงาน Grading ก่อนเจาะอุโมงค์ (เพื่อความสมจริงสมจัง)...ศึกษาการออกแบบ (เตรียมพื้นที่) Grading ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D => Click!

2. ออกแบบแนวเส้น Alignment

3. สร้างโปรไฟล์ของเส้น Alignment

4. ออกแบบแนวเส้น Finish Grade (ลอดผ่านไปในชั้นใต้ดิน)

5. ออกแบบ Sub-Assembly
* ถือเป็น 'กุญแจสำคัญ' ของบทความนี้  นั่นคือการออกแบบ/ประยุกต์ ตัว Sub-Assembly ด้วยชุดคำสั่ง Generic เพื่อสร้างเป็นรูปทรงอุโมงค์ (แบบปิด) ที่ต้องการ 
* ถ้าท่านมีตัว Extension ที่ชื่อ Sub-Assembly Composer ก็จะยิ่งช่วยเสริมให้มีความหลากหลาย ในการออกแบบรูปทรงอุโมงค์ มากยิ่งขึ้น
ตัว Sub-Assembly ของอุโมงค์ ที่ผู้เขียนออกแบบ ตามภาพถ่ายด้านบน

6. สร้าง Corridor
* ที่ Corridor Properties > ไม่ต้อง สร้างตัว Corridor Surface และ Boundary เพราะว่าอุโมงค์เป็นรูปแบบระบบปิด (จากตัว Sub-Assembly) และถูกสร้างอยู่ใต้ดิน (อยู่ใต้ตัว surface)

* ที่ Target Mapping ไม่ต้อง ลิงค์ Code Target (เลือกเป็น None ทั้งหมด)

Viewing

* ขั้นตอน:
- การสร้างเส้น Sample Line
- การกำหนดลำดับการคำนวณปริมาตร Compute materials
- การแสดงผลตารางปริมาตรงานดิน Total Volume Table
- การแสดงผลรูปหน้าตัดตามขวาง Section Views
>> ขั้นตอนข้างต้น คือขั้นตอนที่เกี่ยวดองหนองยุ่ง เกี่ยวกับเรื่องการคำนวณปริมาตรงานดิน ซึ่งในงานออกแบบอุโมงค์ โดยทั่วไปแล้ว จะมีรูปทรงหน้าตัดที่เท่ากันตลอดทั้งงาน ซึ่งทำให้สามารถคำนวณปริมาตรงานดินได้โดยตรงจากสูตร Average End Area

Test Drive (Left Lane)

'เพิ่มเติม'
อุโมงค์ 'แบบเปิด' (พบเห็นได้ทั่วไป ในกรุงเทพฯ)

Sub-Assembly ที่ใช้
* สามารถ Link ตัว Corridor เข้ากับ ตัว Target อื่นๆ ได้

* ภาพถ่ายอุโมงค์ผันน้ำของเขื่อน (Diversion Channel)

ออกแบบตัว Sub-Assembly ตามภาพข้างต้น


Test Drive 

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

9 comments:

  1. ผมไปอบรมการใช้งานโปรแกรม civil 3d ออกแบบถนนมาครับ มันก็เหมือนกับที่ท่านอธิบายขั้นตอนไว้ในเว็บของท่าน หลายเว็บก็พูดอธิบายถึงเรื่องนี้ แต่พอมาเรื่องงานออกแบบอุโมงค์ ผมเพิ่งเห็นท่านนี่แหละ คนแรกที่ออกมาให้ความรู้เรื่องนี้ ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับความรู้ที่หาคนสอนได้ยากมาก ในประเทศนี้
    ปล.ท่านจบวิศวะสำรวจหรือป่าวครับ
    Naris

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชม
    ปล.ผมไม่ได้จบวิศวะสำรวจฯครับ

    ReplyDelete
  3. ผมเคยทำงานเซอร์เวย์อยู่ที่บริษัทไรท์ เคยไปวางแนวเจาะอุโมงค์เขื่อนที่ประเทศลาว ตอนนั้นเขาจะมีแบบแปลนแนวเส้นอุโมงค์มาให้เลย เราแค่ไปให้ไลน์เจาะ ระเบิด วางตำแหน่งโค้ง
    น่าเสียดายครับที่ผมเพิ่งมาเห็นบทความนี้ และออกจากบริษัทแล้ว เป็นเรื่องที่ดีมากครับ เคยเห็นแต่พวกฝรั่งออกแบบ เหมือนกับท่าน geospatial ออกแบบให้ดู
    คนไทยเราก็ทำได้

    ReplyDelete
  4. พี่เขาสุดยอดจริงๆ ความจริงแล้ว สามารถเขียนออกมาเป็นหนังสือออกวางขาย ผมว่ามีคนซื้อเพียบ
    หรือม่ายก็จัดฝึกอบรม เก็บตัง ผมว่าได้เงินเข้ากระเป๋าเพียบ
    แต่พี่เขา ถ่ายทอดความรู้ให้ฟรีๆ
    นับถือๆ

    ReplyDelete
  5. >> เราอาจจะเคยร่วมโปรเจคเขื่อนไฟฟ้าที่ สปป.ลาว ด้วยกันนะครับ ผมรู้จักกับนักสำรวจฯของ บ.RIGHT TUNNELING อยู่ 2-3 ท่าน แต่ท่านเหล่านั้นไม่รู้ว่าผมเขียนบล๊อกนี้เท่านั้นเอง...ในประเทศสารขันธ์แห่งนี้ เรื่องงานเจาะอุโมงค์ต้องยกให้ บ.RIGHT ครับ
    ส่วนเรื่องการออกแบบข้างต้น เป็นการประยุกต์ชุดคำสั่งงานถนน มาใช้ในการออกแบบอุโมงค์ ซึ่งผมนำไปเปรียบเทียบกับแบบร่างงานอุโมงค์ที่ทำมาจาก Microstation (*.dgn) ผมว่า Civil 3D ให้ผลลัพธ์ดีกว่าครับ แถมยัง render งานที่ออกแบบได้อีกด้วย

    ReplyDelete
  6. >> มีเพื่อนสมาชิกในเว็บบอร์ด thaitopo เคยแนะนำให้แต่งหนังสือขายอยู่เหมือนกันครับ และผมก็เชื่อว่าน่าจะ 'ขายได้' พอสมควร สำหรับความรู้ในหลายๆเรื่องที่หาคนสอนได้ยาก...แต่ ผมไม่มีเจตนาในเรื่องผลกำไร เช่นนั้นครับ
    เฉกเช่นเดียวกับการพัฒนาสูตรงานสำรวจฯสำหรับเครื่องคิดเลข casio fx-cg10 (Prizm)รุ่นล่าสุด ที่มีบางท่านบอกว่า สามารถนำสูตรฯไปขายทำเงินได้อีกมาก และกลับกลายเป็นว่าคนที่ได้เงินได้ทองจากเรื่องนี้ คือคนขายตัวเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ (บางท่านเรียก 'เตะหมูเข้าปากหมา')

    >> ยังคงมีเจตนารมรณ์เช่นเดิมครับ สำหรับการถ่ายทอดความรู้ให้ท่านผู้ศึกษา ผู้สนใจ ที่มีใจรักในศาสตร์ทางด้านนี้...ท่านสามารถเข้ามาศึกษา นำความรู้เหล่านี้ ไปพัฒนาต่อยอดในกิจการงานของท่าน ให้ดียิ่งๆขึ้นไป...

    ReplyDelete
  7. สุดยอดเลยท่าน ผมเคยแต่เอากล้องโททอลไปบอกทิศทางแนวเจาะ ทางตรงและวางโค้ง ให้ได้ตามแบบที่เขาให้มา
    วันนี้ผมออกแบบอุโมงค์ได้แล้วครับ ขอบคุณท่านมากที่ถ่ายทอดความรู้ให้ หาคนอย่างท่านยากครับ
    ราชมงคล'37

    ReplyDelete
  8. ผมเคยผ่านงานออกแบบอุโมงค์ลอดสี่แยก เหมือนกับรูปภาพที่ท่านโพสต์
    จะเรียกว่าอุโมงค์ก็ไม่เต็มปาก เพราะใช้วิธีขุดเปิดหน้าดินขึ้นมาทั้งหมด ไปจนถึงระดับที่ออกแบบ
    ที่เพดานใช้วิธีวางคาน เอาครับ
    ก็เหมือนกับการออกแบบถนนทั่วๆไปแหละครับ แต่กดค่าระดับให้ลึกกว่าเดิม
    และจะมีงานขุดเยอะหน่อย และมีโค้งดิ่งเป็นส่วนประกอบ
    อ่อ ผมออกแบบทางลอดด้วย land desktop ครับ
    ผมไปอบรมการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม civil 3D รุ่นปี 2554 ก็พอทำได้ครับ
    พอเสิชมาเจอท่าน geospatial สอนขั้นแอดวานซ์ ออกแบบอุโมงค์
    ท่านสุดยอดจริงๆ หายากครับ ความรู้แบบนี้
    ขอบคุณที่ถ่ายทอดวิชาให้ครับ
    Noppol civil engineer

    ReplyDelete
  9. คุ(ณ Anonymous11 July 2013 at 15:53 ครับ) ขอทราบชื่อได้หรือเปล่าครับ พอดึพึ่งเห็นบทความ ผม สมปอง ดอนตุ้มไพร (ออด) ตอนนี้ยังทำงานอยู่กับ บ.ไรท์ ที่โครงการ เซเปียน เซน้ำน้อย แขวงจำปาสักครับ ID line:oddonsur ครับ

    ReplyDelete