Saturday 22 June 2013

Civil 3D: การออกแบบอุโมงค์ใต้ดิน (Advance Step)

บทความอ้างอิง: 
"กระบี่อยู่ที่ใจ แค่เพียงใบใผ่ก็ใช้เป็นอาวุธซัดได้" 
อันจอมยุทธนั้นมียอดอาวุธที่ล้ำเลิศ แต่ในขณะต่อสู้ถ้าใจไม่ผสานกับอาวุธ อาวุธนั้นก็ไร้ค่า 
แต่ถ้าผสานใจกับอาวุธได้ แค่ใช้ใบไผ่ก็เป็นยอดอาวุธได้

>> จากประสบการณ์ที่เคยไปทำการสำรวจฯตรวจสอบอุโมงค์ผันน้ำในเขื่อนฯ ที่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องอาศัยแบบร่าง (ที่มีผู้ออกแบบมาให้แล้ว) เป็นเครื่องมือนำทางในการตรวจสอบแนวเส้น CL และ Dimension ของรูปทรงอุโมงค์ ว่าเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้หรือไม่ 
* ขำๆ...ถ้าตรวจสอบพบว่า แนวอุโมงค์ไม่ตรง มันเบี้ยว ผิดรูปผิดร่าง หรือเจาะผิดทิศผิดทางขึ้นมา ผู้รับผิดชอบจะทำการเจาะรูใหม่ หรือขุด ระเบิดกันใหม่ไหมเนี่ย?

ตั้งแต่งานสำรวจฯตรวจสอบอุโมงค์ผันน้ำคราวนั้น ได้เห็นชาวต่างชาติใช้โปรแกรม Microstation (Bentley) ทำการออกแบบอุโมงค์...เห็นแล้วก็อยากเป็นนักออกแบบกับเขาบ้าง นั่น นู่น นี่ แต่...ไม่มีโปรแกรม T_T
>> จับเอา Civil 3D มาลองปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง ลองประยุกต์ออกแบบตัว Sub-Assembly (อุโมงค์) แบบ 'ลองทำเอง'  แต่ก็ไม่สำเร็จ ปัญหาที่พบคือ Code Target ไม่ลิงค์เข้าหากัน และนั่นทำให้สร้างตัว Corridor Surface ไม่ได้...ปล้ำกันไป ปล้ำกันมา เสียหลายเพลา จนพอเป็นรูปเป็นร่าง และสะสมเป็นองค์ความรู้ส่วนตัว

หลักการออกแบบอุโมงค์ มีความคล้ายคลึงกับงานออกแบบถนนอยู่หลายประการ ทั้งทางราบและทางดิ่ง แต่มีลักษณะที่แตกต่างกันที่เห็นได้ชัดคือ การออกแบบอุโมงค์ต้องมีการออกแบบ  'เพดานอุโมงค์' เป็นแบบ 'ปิด' ลอดผ่านเข้าไปในชั้นดิน ชั้นหิน ซึ่งเป็นงานขุดอย่างเดียว ส่วนงานถนน จะเป็นแบบเปิด แล้วขุด-ถม มวลดินเข้า-ออก ให้ได้ตามแบบ

>> และจากองค์ความรู้แบบ 'ลองทำเอง' ข้างต้น...ผู้เขียน เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจศึกษาการออกแบบประยุกต์ดังกล่าว ซึ่งสามารถที่จะใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐาน หรือต่อยอด พัฒนาการออกแบบแนวอุโมงค์ และประยุกต์ให้ได้ดียิ่งๆขึ้นไป...และนั่น คือที่มาของบทความนี้ครับ

Civil 3D: การออกแบบอุโมงค์ใต้ดิน (Advance Step)
* ภาพถ่ายอุโมงค์ต้นแบบ เพื่อใช้ในการออกแบบ Sub-Assembly

หมายเหตุ: ท่านผู้ศึกษาการออกแบบอุโมงค์ใต้ดินด้วยโปรแกรม Civil 3D ในบทความนี้ ควรที่จะมีพื้นฐานการออกแบบถนนมาก่อน ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนจะชี้แนะขั้นตอน และวิธีการเท่านั้น ส่วนรายละเอียดวิธีการใช้งานชุดคำสั่งการออกแบบ ท่านสามารถศึกษาได้จากบทความ Civil 3D: การออกแบบถนน (Highway) Step by Step (ม้วนเดียวจบ)

Hand On:
1. เตรียมพื้นที่
* เอา Surface เดิมมาใช้อีกละ   (-_- ")

>> ออกแบบงาน Grading ก่อนเจาะอุโมงค์ (เพื่อความสมจริงสมจัง)...ศึกษาการออกแบบ (เตรียมพื้นที่) Grading ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D => Click!

2. ออกแบบแนวเส้น Alignment

3. สร้างโปรไฟล์ของเส้น Alignment

4. ออกแบบแนวเส้น Finish Grade (ลอดผ่านไปในชั้นใต้ดิน)

5. ออกแบบ Sub-Assembly
* ถือเป็น 'กุญแจสำคัญ' ของบทความนี้  นั่นคือการออกแบบ/ประยุกต์ ตัว Sub-Assembly ด้วยชุดคำสั่ง Generic เพื่อสร้างเป็นรูปทรงอุโมงค์ (แบบปิด) ที่ต้องการ 
* ถ้าท่านมีตัว Extension ที่ชื่อ Sub-Assembly Composer ก็จะยิ่งช่วยเสริมให้มีความหลากหลาย ในการออกแบบรูปทรงอุโมงค์ มากยิ่งขึ้น
ตัว Sub-Assembly ของอุโมงค์ ที่ผู้เขียนออกแบบ ตามภาพถ่ายด้านบน

6. สร้าง Corridor
* ที่ Corridor Properties > ไม่ต้อง สร้างตัว Corridor Surface และ Boundary เพราะว่าอุโมงค์เป็นรูปแบบระบบปิด (จากตัว Sub-Assembly) และถูกสร้างอยู่ใต้ดิน (อยู่ใต้ตัว surface)

* ที่ Target Mapping ไม่ต้อง ลิงค์ Code Target (เลือกเป็น None ทั้งหมด)

Viewing

* ขั้นตอน:
- การสร้างเส้น Sample Line
- การกำหนดลำดับการคำนวณปริมาตร Compute materials
- การแสดงผลตารางปริมาตรงานดิน Total Volume Table
- การแสดงผลรูปหน้าตัดตามขวาง Section Views
>> ขั้นตอนข้างต้น คือขั้นตอนที่เกี่ยวดองหนองยุ่ง เกี่ยวกับเรื่องการคำนวณปริมาตรงานดิน ซึ่งในงานออกแบบอุโมงค์ โดยทั่วไปแล้ว จะมีรูปทรงหน้าตัดที่เท่ากันตลอดทั้งงาน ซึ่งทำให้สามารถคำนวณปริมาตรงานดินได้โดยตรงจากสูตร Average End Area

Test Drive (Left Lane)

'เพิ่มเติม'
อุโมงค์ 'แบบเปิด' (พบเห็นได้ทั่วไป ในกรุงเทพฯ)

Sub-Assembly ที่ใช้
* สามารถ Link ตัว Corridor เข้ากับ ตัว Target อื่นๆ ได้

* ภาพถ่ายอุโมงค์ผันน้ำของเขื่อน (Diversion Channel)

ออกแบบตัว Sub-Assembly ตามภาพข้างต้น


Test Drive 

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Tuesday 11 June 2013

Geospatial Services: บริการงานสำรวจรังวัด (Surveying Services)




ย้ายหน้าเว็บไปที่ GEOSPATIAL Surveying Services >> คลิก











geospatialjs@gmail.com

Saturday 8 June 2013

Geoid: กับความเข้าใจที่ 'คลาดเคลื่อน'

>> ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปรับรู้ รับทราบปัญหาเรื่อง 'งานระดับ' ที่ถูกใช้ในโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ของประเทศเพื่อนบ้าน...ด้วยเหตุผล กลใด มิอาจทราบได้ ทีทำให้โครงการฯดังกล่าว ได้นำค่าระดับที่ได้จากการสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS นั่นคือ ค่าความสูง 'Ellipsoid' มาใช้ในโครงงานสำรวจฯ และทำการคำนวณปรับแก้เป็นระบบความสูง Orthometric Height โดยการใช้ค่าผลต่างทางระดับ (Vertical Separation) ณ 'ตำแหน่ง' นั้นๆ ของจีออยด์โมเดล EGM96
ได้ยิน ได้ฟังมาเช่นนั้น ทำให้ผู้เขียนเข้าใจได้ว่าโครงการฯดังกล่าว ไม่มีค่าระดับที่ใช้อ้างอิงกับระดับน้ำทะเล ซึ่งอาจจะมาจากข้อจำกัดทางตำแหน่งพื้นที่โครงการฯ หรือการขาดแคลนหมุดหลักฐานฯ ซึ่งห่างไกลจากพื้นที่ตั้งโครงการ ฯลฯ...ผู้เขียน (ส่วนตัว) ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ แม้แต่งานสำรวจฯของผู้เขียนเอง บางครั้งต้องใช้ค่าระดับสมมุติ หรือกำหนด Level Datum ขึ้นมาใช้เอง

จากเรื่องราวข้างต้น...สิ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกทะแม่งๆ แปลกใจ นั่นคือการคำนวณปรับเปลี่ยนความสูงจาก Ellipsoid มาเป็นระบบความสูง Orthometric Height...ทำไมต้องทำเช่นนั้น? หรือคำถามที่ว่า ทำไมไม่เริ่มจากค่าความสูง Ellipsoid ที่มีอยู่? และทำการดำเนินงานสำรวจฯด้วยระบบดังกล่าวต่อไป 

และเป็นความจริงที่ว่า การนำค่าความสูง Ellipsoid มาคำนวณปรับแก้เปลี่ยนเป็นระบบความสูง Orthometric Height นั้น 'สามารถกระทำได้' แต่...ต้องทำการปรับแก้ที่หมุดหลักฐานแรก (Origin) ของโครงการฯเท่านั้น จากนั้นจึงทำการขยายหมุดฯควบคุม ต่อเนื่องออกไป
* การคำนวณปรับแก้ทุกๆตำแหน่ง โดยอ้างอิง จีออยด์โมเดล ณ ตำแหน่งนั้นๆ (ทุกๆหมุดฯ) จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนสูง เมื่อทำการตรวจสอบระหว่างหมุดฯ
* ผู้เขียนขออนุญาติข้ามผ่าน หรือละไว้ในฐานที่เข้าใจในเรื่อง พื้นผิวจีออยด์ (ราชบัณฑิตฯ เรียกว่า 'ผิวสมศักย์' -_- '') อันเป็นศาสตร์งานแผนที่ เบื้องต้น

>> เป็นที่ทราบกันดีว่า เราสามารถคำนวณหาค่าความสูง Orthometric Height ได้จากค่าความสูง Ellipsoid  เมื่อทราบค่าความสูงต่างทางระดับ (Vertical Separation) ของจีออยด์โมเดลที่ใช้
* ค่าความสูงต่างทางระดับ (Vertical Separation) คือค่า N ตามภาพข้างต้น
ค่าระดับ Orthometric Height ที่คำนวณได้จากจีออยด์โมเดลนั้น เป็นค่าที่ยังมี 'ความคลาดเคลื่อนอยู่สูงมาก' จึงไม่เหมาะสม หรือไม่ควรนำมาใช้ ในการกำหนดงานระดับให้กับโครงงานฯทางวิศวกรรม

ผู้เขียนได้เคยรวบรวมข้อมูลงานสำรวจฯ (ของผู้เขียน) และสร้างเป็นตารางเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น เมื่อใช้ค่า Orthometric Height ที่คำนวณได้จากจีออยด์โมเดล เปรียบเทียบกับค่า Orthometric Height ที่ทราบค่า (กรมแผนที่ฯ) ซึ่งได้ผลการเปรียบเทียบ ดังตารางทางด้านล่าง
* คำนวณค่า Geoid Vertical Separation แบบออนไลน์ ได้ทั้ง 3 โมเดล (EGM84, EGM96 และ EGM2008) => Click !!
<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>

>> ถึงแม้ว่าจะมีตัวอย่างข้อมูลไม่มากนัก แต่ก็เพียงพอที่จะบ่งชี้ได้ว่า การคำนวณหาค่า Orthometric Height จากจีออยด์โมเดล ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่สูงพอสมควร
* ภาคเหนือ มีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 6 ม.
* ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 8 ม.
* 2 พื้นที่ตัวอย่างจาก สปป.ลาว มีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย เกิน 10 ม.?

ผู้เขียนได้เคยขึ้นไปทำการสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS บนยอดภูชี้ฟ้า ซึ่งท่านใด ที่เคยขึ้นไปบนยอดภูดังกล่าว จะทราบเป็นอย่างดีว่า พื้นที่ราบยอดภู มีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก และยังถูกล้อมรอบไปด้วยเหว (ผาหน้าตัดดิ่งชัน) 
จากตารางข้างต้น จะเห็นว่าที่ยอดภูชี้ฟ้า มีค่า Orthometric Height ที่คำนวณได้จากจีออยด์ มีความคลาดเคลื่อนสูงถึง 119 ม.
* ค่าระดับที่ได้จาก Garmin 60CSx ต่างกันเพียง 1 ม. O_O

Thursday 6 June 2013

Real Time: ติดตาม 'เส้นทางพายุ'


Photo Credited: www.sattmet.tmd.go.th/satmet/satellte_radar/sat_radar.html

Photo Credited: www.goes.noaa.gov/sohemi/

Tuesday 4 June 2013

'เว็บบอร์ด' Land Surveyor & Mapper

ประกาศ

ยกเลิก 'เว็บบอร์ด' Land Surveyor & Mapper

(เปลี่ยนมาใช้ระบบ PM ของ Google Blog แทน)


>> เป็นแนวความคิดที่มีมาเนิ่นนาน ที่อยากจะมีเว็บบอร์ดเล็กๆ เพื่อเป็นที่ชุมนุม สุมศรีษะ (Think Tank)  ของชนชาวนักสำรวจฯ นักการแผนที่ฯ นักภูมิศาสตร์ นักภูมิสารสนเทศน์ และท่านอื่นๆในสายงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสนทนา วิสาสะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฯลฯ...และน่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างท่านสมาชิกด้วยกันเอง และระหว่างท่านสมาชิกกับผู้เขียน...
การใช้งานบอร์ด:
1. การโพสต์ตั้งกระทู้ หรือโพสต์ตอบข้อความ ต้องทำการสมัครสมาชิก และ Log in ก่อนการใช้งาน
2. เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว ท่านสามารถ PM (Post Message) ส่งข้อความ ถึงผู้เขียน หรือสมาชิกท่านอื่นๆได้โดยตรง

3. การโพสต์ข้อความ เนื้อหาต่างๆ ขอให้เป็นเรื่องราวที่อยู่ในศาสตร์งานสำรวจฯ งานแผนที่ ภูมิศาสตร์ หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง อันเป็นเจตนารมณ์ของเว็บบอร์ด

4. ชนชาวนักสำรวจฯ และนักการแผนที่ และท่านอื่นๆในสายงานที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นวิญญูชนผู้มีความรู้ ฉะนั้นการโพสต์ข้อความต่างๆ จึงควรใช้คำ และภาษาที่สุภาพ

5. ผู้เขียน มีมิตรสหายที่เป็นนักสำรวจฯชาวลาวอยู่หลายท่าน ทั้งที่ติดต่อผ่านทางอีเมล์ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัวใน สปป.ลาว ซึ่งผู้เขียนถือเป็นเกียรติ ถ้าท่านจะเข้ามาร่วมสนทนา วิสาสะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฯลฯ โดยท่านสามารถพิมพ์เป็นภาษาลาว ไทย อังกฤษ (พิมพ์ถูก/ผิด ไม่ว่ากัน)...ยินดีครับ

6. อาจจะรู้สึกรำคาญตาบ้าง กับโฆษณาด้านบน อันเนื่องมาจากเป็นฟรีเว็บบอร์ด ไม่สามารถลบโฆษณาออกได้

* สำหรับท่านที่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือแท๊ปเล็ต บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ สามารถดาวน์โหลด App ได้จาก QR Code ด้านล่าง
หรือดาวน์โหลดไฟล์ .apk จากลิงค์ >> http://www.mediafire.com/?y1y95degda9d2cf

Special Thanks:
1. คุณ Apichart Civil ผู้แนะนำให้ใช้โฮสต์เว็บบอร์ดฟรี ของ Thai Forum 
2. เว็บ Thaitopo ที่ซึ่งเป็นอาจารย์ทางความคิด ในการทำเว็บ
3. ท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาหาความรู้ ฯลฯ

Saturday 1 June 2013

Autodesk Land Desktop: การปรับแก้งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' (เขียน Batch File ด้วยตนเอง)

>> Civil 3D: การปรับแก้งานสำรวจวงรอบ ด้วยชุดคำสั่ง Map Check

ผู้เขียนขออนุญาติ ตามน้ำไปอีกหนึ่งบทความ กับงานคำนวณวงรอบ (ยัง In อยู่ o_o) 
หมายเหตุ: การสาธิตดังกล่าว เป็นการนำเอาชุดคำสั่งการเขียน Batch File (พิมพ์ค่ามุม ด้วยตนเอง) มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและคำนวณปรับแก้งานวงรอบ โดยการพิจารณาค่า "มุมภายใน" 
* วิธีการดังกล่าว ได้นำภาคทิศอะซิมัทของหมุดฯคู่แรกออก เข้ามาร่วมในการคำนวณวงรอบ ฉะนั้น...หมุดฯคู่ แรกออกใดๆ (โดยเฉพาะจากงานสำรวจฯ GPS) ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนเชิงมุม ระหว่างหมุดฯ 'มาก' (ซึ่งจะทำให้แนวเส้นอะซิมัท เหวี่ยง/Swing ออกไปจากทิศทางที่ถูกต้อง) ไม่ควร ใช้การปรับแก้ด้วยวิธีนี้
* ในการดำเนินการสำรวจฯวงรอบในสนาม 'ควรที่จะ' ทำการสเก๊ตแบบ รูปร่างของพื้นที่ ทิศทาง จำนวนหมุดวงรอบ และค่ามุม 'ภายใน' คร่าวๆ ฯลฯ ลงในสมุดสนาม ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้ศึกษา มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เวลาพิมพ์ข้อมูลสำรวจเข้าสู่ตัวโปรแกรมฯ

Hand On:
1. สร้าง Batch file >> เปิดโปรแกรม Notepad และทำการพิมพ์ข้อมูลสำรวจฯ โดยมีหลักการพิมพ์คำสั่ง NE, STN, BS และ AD ดังนี้;
ตัวอย่าง Batch file สาธิต (+ดูภาพข้างต้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาทิศทางของมุม)
บรรทัดที่ 1 > กำหนด 'ค่าพิกัด' ของจุดตั้งกล้องฯ จากตัวอย่าง NE 1 5000 1000 "BM-1" หมายความว่า ที่ หมุดฯวงรอบที่ 1 มี่ค่า Northing=5000 และค่า Easting=1000 และมีชื่อหมุดฯว่า BM-1 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

บรรทัดที่ 2 > กำหนดสถานะให้กับหมุดฯ จากตัวอย่าง STN 1 หมายความว่าหมุดฯวงรอบที่ 1 ถูกกำหนดให้เป็นจุดตั้งกล้อง

บรรทัดที่ 3 > กำหนด 'ค่าพิกัด' ของจุด Backsight จากตัวอย่าง
NE 6 5050.401 556.644 "BM-2" หมายความว่า ที่ หมุดฯวงรอบที่ 6 มี่ค่า Northing=5050.401 และค่า Easting=556.644 และมีชื่อหมุดฯว่า BM-2 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

บรรทัดที่ 4 > กำหนดสถานะให้กับหมุดฯ จากตัวอย่าง BS 6 หมายความว่าหมุดฯวงรอบที่ 6 ถูกกำหนดให้เป็นจุด Backsight


บรรทัดที่ 5 > จากตัวอย่าง AD 2 143.2240 388.028 "2" หมายความว่า กล้องฯได้ส่องไปยังเป้าหน้า (AD) ซึ่งเป็นหมุดฯวงรอบหมายเลข 2 มี่ค่ามุมภายใน 143* 22' 40" (ให้พิมพ์ค่ามุมเป็น 143.2240) และมีชื่อหมุดฯว่า 2 ถูกกำกับด้วยสัญลักษณ์ ""

หมายเหตุ: 'ค่ามุมภายใน' ควรที่จะถูกสำรวจรังวัด ตามหลักวิธีการของงานสำรวจฯวงรอบ โดยเป็น 'ค่ามุมเฉลี่ย' ที่ได้จากการอ่านค่ามุมอย่างน้อย 4 ชุด หรือ 4 ศูนย์ ทั้งกล้องฯหน้าซ้าย และหน้าขวา (หรือจากการอ่านมุมทบ)

บรรทัดที่ 6 > STN 2 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 2 เป็นจุดตั้งกล้องฯ

บรรทัดที่ 7 > BS 1 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 1 เป็นจุด Backsight

บรรทัดที่ 8 > กล้องฯได้ส่องไปยังหมุดฯถัดไป คือหมุดฯที่ 3
AD 3 132.5038 412.331 "3"

บรรทัดที่ 9 > STN 3 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 3 เป็นจุดตั้งกล้องฯ

บรรทัดที่ 10 > BS 2 คือ การกำหนดให้หมุดฯหมายเลข 2 เป็นจุด Backsight

บรรทัดที่ 11> กล้องฯได้ส่องไปยังหมุดฯถัดไป คือหมุดฯที่
4 AD 4 68.3507 476.839 "4"

* ทำซ้ำในลักษณะเดียวกัน ตามตัวอย่างขั้นต้น...และเข้าบรรจบที่เป้าหน้า (AD) ซึ่งเป็นหมุดฯ Backsight (หมุดฯวงรอบที่ 6) จากตัวอย่าง คือ AD 6 74.2845 562.278 "BM-2"
* ดาวน์โหลดตัวอย่าง Batch file ข้างต้น >> Click!
* ทำการ save เป็นชื่อ Batch.txt
* ที่โปรแกรม AutoCAD Land Desktop ให้ทำการสร้างโปรเจคขึ้นมาใหม่ และทำการ copy/cut ไฟล์ Batch.txt ที่สร้างไว้ข้างต้น และนำไป Paste ที่โฟลเดอร์ survey (ตัวอย่าง C:\Land Projects 200x\Project name\survey)

2. ชุดคำสั่ง การคำนวณวงรอบ (*เปลี่ยน Workspace เป็น Survey จึงจะเห็นชุดคำสั่ง)
>> ที่แท๊ป Data Collection/Input > Batch File > Run Batch File > ทำตามคำสั่งที่ Command Line

สามารถใช้คำสั่ง Slow Motion/Walk Through เพื่อตรวจสอบทิศทาง BS./FS. ของแนวเส้นวงรอบ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Define Loop
กำหนดรายละเอียดให้กับ หมายเลขหมุดฯ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Adjustment Setting
กำหนดรายละเอียดวิธีการคำนวณวงรอบ

>> ที่แท๊ป Analysis/Figures > Traverse Loops > Adjust Loop > ที่ Command Line กด Enter (หรือใส่หมายเลขวงรอบ+Enter) > จะพบหน้าต่าง เหมือนกับขั้นตอนข้างต้น (ในกรณี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม) > Ok

จะพบหน้าต่าง แสดงผล-รายงาน การปรับแก้งานวงรอบ 3 หน้าต่าง ดังนี้
an1.trv

ba1.trv

1.lso

>> ในปัจจุบัน มีโปรแกรมประยุกต์มากมายที่มีความสามารถในการคำนวณปรับแก้งานวงรอบ อีกทั้งยังสามารถทำการปรับแก้งานวงรอบ ด้วยวิธีการอื่นๆ นอกเหนือจากการปรับแก้ด้วยวิธี Compass Rule และ Transit Rule (ขั้นพื้นฐาน) อาทิ
- Crandall Rule
- Least Squares
- Bowditch Rule
* ผู้เขียน ได้สาธิตวิธีการใช้งานโปรแกรมคำนวณปรับแก้งานวงรอบ ทั้ง AutoCAD Civil 3D และ AutoCAD Land Desktop...แต่ตัวผู้เขียนเอง กลับใช้โปรแกรม Traverse Pro ของพี่ประจวบ (ผู้เขียนนับถือเป็นอาจารย์ทางด้านงานสำรวจฯ) ช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณปรับแก้วงรอบ => ดาวน์โหลดโปรแกรม Traverse Pro 
* ในยุทธจักร งานสำรวจฯ...ว่ากันว่า โปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการคำนวณปรับแก้งานวงรอบ ที่ได้รับการยอมรับว่า 'ขั้นเทพ' เหนือกว่าโปรแกรมฯอื่นๆ นั่นคือ โปรแกรม MicroSurvey โดยชุดคำสั่งที่ชื่อว่า 'Star*Net' (มีคำสั่งปรับแก้ 'โครงข่ายสามเหลี่ยม' ด้วยนะเออ)
* ผู้เขียนกำลังศึกษาการใช้งาน Star*Net อยู่เช่นกัน (ค่อนข้างยากทีเดียว T_T)

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United