Sunday 19 May 2013

งานสำรวจฯ 'วงรอบ 2D' ตอนที่ 3...ตอบโจทย์

บทความอ้างอิง:
ผู้เขียนขออนุญาติ 'คัดลอกข้อความ' ที่ท่านผู้อ่านได้โพสไว้ในตอนที่ 2 เพื่อนำมาตอบในบทความนี้ ไปในคราวเดียว ในประเด็นเรื่อง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น เมื่อนำเครื่องมือสำรวจฯดาวเทียม GPS มาสร้างหมุดฯควบคุม (คู่) ออกให้กับงานกล้องฯ และกล้องฯอ่านตรวจพบว่า ความสำพันธ์ 'เชิงมุม' ระหว่างค่าพิกัดที่ได้จาก GPS 'ไม่ตรง' กับค่าพิกัด หรือค่ามุม ที่กล้องฯอ่านได้

- ผมก็มีประสบการณ์เดียวกันครับ สงสัยมาตลอดว่าเวลาใช้กล้องโททอล อ่านแบ๊กซายไประหว่างหมุดจีพีเอส ทำไมมันถึงต่างกัน แต่ถ้าเป็นหมุดวงรอบ ที่เขาสำรวจให้ มุมกับระยะทาง เป๊ะๆ เลยท่าน
วิ เซอร์เวย์

- มารอคำตอบด้วยคนครับ ผมเคยมีปัญหากับพวกทีมจีพีเอสเรื่องนี้แหละ เขาก็บอกว่าทีมเขาทำถูกแล้ว ผมบอกว่าไม่ถูก เพราะเอากล้องโททอล เช็คแล้ว ปิดjobวงรอบไม่ได้ คลาดเคลื่อนเยอะ

ช่างใหญ่ ไทยแลนด์

- เหมือนกันครับพี่ มีปัญหาประจำเลย เวลาใช้จุดจากจีพีเอสสองจุดเอามาออกกล้องในไซต์ก่อสร้าง ไม่รู้ว่าจุดไหนถูกจุดไหนผิด B.S ไปมา เหมือนรูปที่พี่ลงไว้เลย สร้างกริดสมมุติออกวงรอบดีกว่า มุมกับระยะทางทีละด้านจะเนี๊ยบสุด รอคำตอบด้วยคนครับ


>> เครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS (ของ NAVSTAR อเมริกา) Galileo ของยุโรป, Glonass ของรัสเซีย, Compass/Beidou ของจีน หรือที่เรียกแบบเหมารวม ว่า ระบบ GNSS...ซึ่งจะชื่ออะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญมันอยู่ที่ 'เครื่องมือฯเหล่านี้ ยังมีความคลาดเคลื่อนแฝง' ทั้งจากตัวเครื่องมือ (ppm) และความคลาดเคลื่อนจากปัจจัยต่างๆ (ที่ควบคุมไม่ได้) ขณะทำการสำรวจฯรังวัดดาวเทียม อาทิ PDOP, GDOP, VDOP, HDOP ฯลฯ
ปัจจัยเหล่านี้ คือความคลาดเคลื่อน ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ 'ตำแหน่ง' ที่ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS ตั้งอยู่ (Static)...หมายความว่า ค่าพิกัดที่ได้จาก GPS ภายหลังการ Post Processing  เป็นเพียงค่า 'ที่ใกล้เคียง' กับค่าพิกัดแท้จริง (ค่าในอุดมคติ) ซึ่งตรงกับตำแหน่ง 'หัวตะปู/หัวหมุดฯ' ที่ทำการสำรวจฯนั้นๆ

และ 'ไม่มี' ค่าพิกัดที่ได้ GPS 2 หมุด (คู่ออกงาน) ใดๆ ที่เมื่อนำมาตรวจสอบสภาวะเชิงมุมด้วยกล้องฯ สำรวจแล้ว จะไม่พบความคลาดเคลื่อน...ส่วนความคลาดเคลื่อนที่ตรวจพบ จะมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของงานสำรวจฯรังวัดดาวเทียม นั้นๆ (คน, เครื่องมือ, สภาพแวดล้อม และวิธีการ) ฉะนั้น 'ชนชาวเรา' (ผู้ใช้) จึงควรที่จะพิจารณาเลือกวิธีการใช้เครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS " ให้เหมาะสมกับลักษณะงานสำรวจฯ"

* เมื่อต้องทำการสำรวจรังวัดวงรอบ 'อย่างละเอียด' โดยจำเป็นที่จะต้องอ้างอิงค่าพิกัด เข้ากับระบบพิกัดภูมิศาตร์ (ใช้เครื่องรับสัญญาณ GPS)
1. ถ้าตรวจพบว่า มีค่าความคลาดเคลื่อนเชิงมุมของหมุดฯ GPS คู่ออก 'มาก'...ผู้เขียน (ส่วนตัว) แนะนำให้กำหนดหมุดฯ B.S. เป็นเพียงหมุดฯควบคุมมุมอะซิมัทเท่านั้น (ควบคุมทิศทางของโครงงานฯ) และทำการสำรวจรังวัดวงรอบ (ตามกฏ) และกลับมาเข้าบรรจบ 'ที่หมุดแรกออก' เท่านั้น และทำการคำนวณปรับแก้วงรอบด้วย กฏของมุมภายใน (หรือภายนอก) ตามปรกติ

'สาเหตุ' ที่ต้องเข้าบรรจบกับหมุดฯแรกออกนั้น ก็เพื่อต้องการ 'หลีกเลี่ยง' สภาวะทางมุมที่คลาดเคลื่อนระหว่างหมุดฯ GPS 2 หมุด ที่ตรวจพบความคลาดเคลื่อน (มาก) มาก่อนหน้านี้ ซึ่งเมื่อทำการปรับแก้งานวงรอบ ค่าความคลาดเคลื่อน (มาก) ดังกล่าวจะถูก 'กระจายจ่ายแจก' หรือแชร์ ไปให้หมุดฯรังวัดอื่นๆในวงรอบด้วย (งานสำรวจฯวงรอบอาจจะตกเกณฑ์)

2. ถ้าตรวจพบว่า มีค่าความคลาดเคลื่อนเชิงมุมของหมุดฯ GPS คู่ออก 'น้อย'...ผู้เขียนแนะนำ ให้ทำการสำรวจฯวงรอบ และทำการปรับแก้ตามวิธีการปรกติ นั่นคือการออกงานวงรอบและเข้าบรรจบ ทั้งหมุดฯ B.S และหมุดฯแรกออก

3. ถ้าพื้นที่สำรวจฯมีขนาดใหญ่ และมีความยากลำบากในการทำการสำรวจฯวงรอบ ซึ่งการขยายหมุดฯควบคุมออกไปต้องกระทำโดยการใช้เครื่องมือสำรวจฯดาวเทียม GPS เท่านั้น (การใช้กล้องฯส่องอ่าน ในระยะทางระดับกิโลเมตร+ขึ้นไป เช่นการสามเหลี่ยม ดังในอดีต ไม่นิยมใช้ในยุคสมัยนี้)...ผู้เขียน (ส่วนตัว) แนะนำให้ทำ 'เลือกคู่หมุดฯ GPS ที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด มาใช้เป็นแนวเส้น Base line เพื่อทำการคำนวณปรับแก้ "โครงข่ายสามเหลี่ยมแบบยึดโยงกันไป" โดยใช้โปรแกรมประยุกต์

=> จากวิธีการข้างต้น สิ่งที่ผู้เขียนไม่สามารถแนะนำท่านได้ นั่นคือการแยกแยะคำว่า คลาดเคลื่อน 'มาก' กับ คลาดเคลื่อน 'น้อย' ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตรวจสอบ หรือคลาดเคลื่อนเท่าไหร่ จึงเรียกว่ามาก และคลาดเคลื่อนเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่าน้อย...งานสำรวจฯวงรอบ เป็นงานสำรวจฯที่อาศัยความสำพันธ์ระหว่างมุม และระยะทาง รวมถึงจำนวนหมุดฯวงรอบ ซึ่งในงานสำรวจฯวงรอบที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ระยะทางรวมสั้น ค่าความคลาดเคลื่อนบรรจบที่เกินไปเพียง 2-3 ซม./หมุด อาจจะถูกเรียกว่า 'คลาดเคลื่อนมาก' ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

และสำหรับงานสำรวจฯวงรอบ ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ระยะทางรวมมีระยะยาว ค่าความคลาดเคลื่อนบรรจบที่เกินไปเพียง 2-3 ซม./หมุด อาจจะถูกเรียกว่า 'คลาดเคลื่อนน้อย' เข้าเกณฑ์มาตรฐาน...ฉะนั้นท่านผู้ศึกษา ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตัวของท่านเอง โดยการทำการศึกษา และทดลองในสมมุติฐานต่างๆ

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

3 comments:

  1. ขอบคุณครับ หมายความว่าเป็นความคลาดเคลื่อนของ gps นี่เอง แล้วทำไมเวลาประมวลผลข้อมูล มันถึงแสดงค่าerror แค่ 2-3 มม. แต่พอเอากล้องไปเช็ค กลับเจอเกือบ 10 ซม.

    ReplyDelete
  2. ບໍ່ມີໃຜໃນປະເທດຂອງພວກເຮົາທີ່ຈະສອນຄືກັນກັບທ່ານ
    ຂອບໃຈຫຼາຍໆເດີ້ ສໍາລັບຄວາມຮູ້ການສໍາຫຼວດ

    ReplyDelete
  3. @ นั่นล่ะครับ...ที่ผมก็อยากจะทราบเช่นกัน พอ process ข้อมูลออกมา มีค่า Error เป็นมิลลิเมตร แต่หลังจากตรวจสอบด้วยกล้องฯ ปรากฏว่า ต่างกันหลายเซนติเมตร...
    @ รู้สึกเป็นเกียรติ ที่ความรู้ และเรื่องราวทางด้านงานสำรวจฯแผนที ในเว็บบล๊อคเล็กๆนี้ ได้เป็นประโยชน์ต่อท่าน...ขอบคุณครับ

    ReplyDelete