Saturday 25 May 2013

แจ้งให้ท่านทราบ...นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว

>> มีท่านนักสำรวจฯ และนักการแผนที่ชาวลาวหลายท่าน ที่ยังติดต่อกับผู้เขียนผ่านทางอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ ในประเด็นเรื่องเกี่ยวกับงานสำรวจแผนที่ฯ และอื่นๆ และมีบางท่านได้เคยนัดพบปะกับผู้เขียน เป็นการส่วนตัว (เมื่อช่วงต้นปี) เพื่อพูดคุยในรายละเอียดงานสำรวจฯ และงานจีออยด์โมเดลของ สปป.ลาว ฯลฯ

และยังมีท่านอื่นๆ ที่ได้บอกผ่านทางอีเมล์ ในประเด็นที่อยากจะปรึกษา พูดคุย พบปะ กับผู้เขียนโดยตรง โดยเฉพาะการออกแบบถนนด้วยโปรแกรม Civil 3D ในขั้น Advance ซึ่งผู้เขียนได้ตอบกลับไปว่า มีวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อน และใช้เวลาค่อนข้างมากทีเดียวในการอธิบานผ่านทางเว็บ ฉะนั้นผู้เขียนจึงอยากให้ท่านผู้สนใจ ติดต่อพบผู้เขียนโดยตรง ในช่วงเวลาที่ผู้เขียนทำงานอยู่ที่นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว

และช่วงเวลานั้น ได้เวียนกลับมาถึงอีกครั้งหนึ่ง...คือช่วงวันที่ 25, 26 และ 27 พฤษภาคม นี้ครับ ฉะนั้น ผู้เขียนจึงขออนุญาติแจ้งมายังท่านที่สนใจ หรือท่านผู้ที่ยังสงสัย ติดขัดบางขั้น บางตอน ในบทความต่างๆ และต้องการคำอธิบาย ชี้แนะ เพิ่มเติม หรือพบปะ พูดคุยเรื่องอื่นๆ...ยินดีครับ ที่นครเวียงจันทร์ สปป.ลาว

ติดต่อผ่านทางอีเมล์ครับ (หรือ เบอร์มือถือที่ลาว)

The Results:
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
>> สอนการคำนวณปริมาตร (Volume) ของกองวัตถุ เช่นกองหิน กองดิน กองทราย ทุกรูปทรง และไร้รูปทรง อาทิ กองซ้อนกอง ด้วยโปรแกรม AutoCAD Land Desktop เริ่มจากขั้น Basic ไปจนถึงขั้น Advance...ผู้เขียนรู้จักนักสำรวจฯชาวลาวหลายท่าน แต่นักสำรวจชาวลาวท่านนี้ ถือเป็นหนึ่งในมือกระบี่งานสำรวจฯของ สปป.ลาว เลยทีเดียว...เยี่ยมครับ นับถือๆ

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
>> ให้คำปรึกษากับนักสำรวจฯ (เพิ่งจบ) บริษัท 'ขัวทาง' (รับเหมางานถนน) มีชื่อแห่งหนึ่งของ สปป.ลาว  ซึ่งมีความประสงค์ ที่อยากจะเรียนรู้การออกแบบถนนด้วยโปรแกรม Civil 3D ในขั้น 'Advance' อาธิ การออกแบบทางแยก (Intersection) การขยายขอบถนน  (Road Widening) การคำนวณปริมาตรชั้นวัสดุ อาทิ Road Base, Pave ฯลฯ

ด้วยเหตุว่า เวลาที่มีจำกัด และเนื้อหาที่มีค่อนข้างมาก ผู้เขียนจึงไม่สามารถชี้แนะ หรือถ่ายทอดความรู้ (เท่าที่มี) ให้กับนักสำรวจฯท่านนี้ได้ (การใช้โปรแกรมฯ) อีกทั้งผู้เขียนพบว่า (จากการวิสาสะ) นักสำรวจฯท่านนี้ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ 'พื้นฐาน' การออกแบบถนนอยู่หลายประการ อาทิ การออกแบบโค้งราบเบื้องต้น การกำหนดรัศมีของโค้งให้สัมพันธ์กับความเร็ว และการยกโค้ง ให้เป็นไปตามกฎความปลอดภัย ฯลฯ...ผู้เขียนแนะนำให้กลับไปศึกษาศาสตร์การออกแบบถนน ขั้นพื้นฐานให้แน่นเสียก่อน และโอกาสหน้า ผู้เขียนจะสอนให้ทำการออกแบบถนน ในขั้น Advance ต่อไป...

ขอขอบคุณทุกๆ อีเมล์ และทางโทรศัพท์ จาก น้องๆนักสำรวจฯชาวลาว (+เบียร์ลาว)
พบกัน โอกาสหน้าครับ

2 comments:

  1. ขอแสดงความนับถือน้ำใจ จริงๆครับ
    ที่บ้านเราเสียอีก ไม่มีสอนแบบพี่ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ
    ส่วนข้างนอกก็มีสอนเป็นบางเรื่อง แถมเก็บเงินค่าเรียนด้วย
    อยากไปเที่ยวที่ลาวบ้างครับ และอยากลองรสชาติเบียร์ลาวว่าจะเหมือนหรือต่างกับเบียร์บ้านเรายังงัยมั่ง ฮี่ๆ

    ReplyDelete
  2. บางที ก็อาจจะเหมือนทรัพย์สินเงินทองครับ ตายไปก็เอาไปไม่ได้...ความรู้ก็เช่นเดียวกัน ที่ตายไปก็เอาไปด้วยไม่ได้...ผู้เขียนก็เลย อยากถ่ายทอดความรู้ (เท่าที่มี) สำหรับท่านที่มีใจรักในศาสตร์ด้านนี้

    เบียร์ลาว...ต้องลองครับ (ไม่ได้แนะนำนะครับ...แต่ 'ส่งเสริม' เลยต่างหาก ^_^)

    ReplyDelete