Saturday 4 August 2012

Autodesk Land Desktop: การออกแบบถนน Step by Step (ม้วนเดียวจบ)


หมายเหตุ: ผู้เขียนขออนุญาติแนะนำท่านผู้ศึกษาที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์งานออกแบบถนน รวมถึงศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมการทาง ควรที่จะศึกษา หาความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการออกแบบถนน ก่อนจะทำการศึกษาการใช้ชุดคำสั่งของตัวโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้ท่านผู้ศึกษา สามารถเข้าใจถึงหลักการ หรือแนวทางในการออกแบบถนน ว่ามีหลักการ หรือหลักทฤษฎีการออกแบบ และการคำนวณปริมาณต่างๆ อย่างไร อาทิ การคำนวณงานโค้งราบ-โค้งดิ่ง การคำนวณงานดิน การออกแบบการยกโค้ง ฯลฯ

* การใช้งานโปรแกรมประยุกต์ดังกล่าวเพื่อ 'การออกแบบถนน' เป็นเพียงเครื่องมือเล็กๆ (ที่ปลายอุโมงค์) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ทำการออกแบบฯเท่านั้น มิได้เป็นเนื้อหาหลักของ 'องค์ความรู้ในการออกแบบถนน' ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นทั้ง ศิลปะในการออกแบบ และการคำนวณด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ รวมถึงหลักการทางเศรษฐศาสตร์ (Cost/Value) และทางด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้ ต้องอาศัยระยะเวลาในการศึกษาทางภาคทฤษฎี ในหลายภาคการศึกษา

รายละเอียด 'ลำดับ' ชุดคำสั่ง ที่ใช้ในการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม Autodesk Land Desktop:
1. Surface
2. Horizontal Alignment
3. Vertical Alignment
4. Vertical Curve
5. Cross Section Profile
6. Design Control
7. View/Edit Section
8. Curve Widening
9. Section Plot
10. Volume Calculation
11. 3D View

Hand On:
1. Surface (การเตรียมพื้นที่คอนทัวร์ หรือ TIN Surface)
    >> ผู้เขียนต้องขออนุญาติข้ามขั้นตอน การสาธิตการสร้างเส้นชั้นความสูง (คอนทัวร์) จากข้อมูลสำรวจ ซึ่งท่านผู้ศึกษาควรที่จะมีพื้นฐานความรู้ดังกล่าวมาก่อน ก่อนที่จะทำการศึกษาชุดคำสั่งในการออกแบบถนน ในขั้นตอนถัดไป

* ผู้เขียนขออนุญาตินำ Surface เส้นคอนทัวร์ที่ได้จากโปรแกรม Civil 3D (การออกแบบทางรถไฟ) มาใช้ในการสาธิต 
<<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>>
2. Horizontal Alignment
     >> ใช้คำสั่ง Line ในการลากเส้น ออกแบบเส้นแนวถนน (Road Alignment) ที่ต้องการ

     >> ที่รอยต่อของเส้น 2 เส้นที่ทำการออกแบบ ทำการใส่โค้ง และรัศมีของโค้ง ตามสเป็คของถนนที่ต้องการออกแบบ

   2.1 ออกแบบระยะออปเซ็ต (เลน/ทางเดินเท้า)
         >> ที่เมนู Alignments > Create Offsets จะปรากฏ Alignment Offset
  
 2.2 กำหนดระยะ Station (ภาพตัดขวางจะตัด ณ ตำแหน่ง Station)
    2.2.1 ตั้งค่าการแสดงผลที่ Alignments > Station Label Settings

    2.2.2 ที่ Drawing Setup ให้ทำการปรับการแสดงผลของ Font สำหรับ Station Labels ที่จะสร้างในข้อต่อไป

   2.2.3 ที่ Alignment > Create Station Labels * ทำตามคำสั่งที่ Command Line (กำหนดระยะของสถานีที่ต้องการแสดงผล หรือแสดงผลตลอดแนวความยาวของ Alignment ถนนทั้งหมด)

   2.2.4 Alignment > Edit สามารถทำการแก้ไข/ปรับเปลี่ยน ระยะทาง รัศมีโค้ง ฯลฯ
            >> ที่ Report สามารถเลือกดูรายงานผลการคำนวณส่วนประกอบโค้ง ได้จาก
            - Station
            - Curve
            - Station/Curve
            - By Increment
*โดยทำตามคำสั่งที่ Command Line เพื่อทำการแสดงผลรายงานค่าต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

3. Vertical Alignment (การออกแบบ Finishing Grade (FG) 
    >> ที่ workspace เปลี่ยนชุดคำสั่งเป็น Civil Design
   3.1 ที่เมนู Profiles > Profile Settings > Values

* ตั้งค่าต่างๆ ตามภาพขั้นต้น หรือถ้ามีการกำหนดสเป็คของงานถนนเอาไว้แล้ว ให้เปลี่ยนค่าต่างๆ ตามการออกแบบ อาธิ ความสูงของไฟหน้ารถ เวลาที่มีรถวิ่งสวนทาง ฯลฯ

   3.2 สร้างตัวอย่างรูปตัดตามยาว (Sample Profile) 
         >> ที่เมนู Profiles > Existing Ground > Sample from Surface...คลิก Ok 

* ทำตามคำสั่งที่ Command Line

  3.3 สร้างรูปตัดตามยาวของ "ระดับดินเดิม" (EG) 
        >> ที่เมนู Profiles > Create Profile > Full Profile 
 


  3.4 สร้างรูปตัดตามยาวของ "ระดับดินที่ต้องการออกแบบ" (FG)
        >> ที่เมนู Profiles > FG Centerline Tangents > Set Current Layer > โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ขึ้นมาใหม่ (ลงท้ายด้วย - FGC)
  
     3.4.1 สร้าง Finished Ground Center line
               >> ที่เมนู Profiles > FG Centerline Tangents > Create Tangents ทำตามคำสั่งที่ Command Line โดยการเลือก Station ที่ต้องการเริ่มการออกแบบระดับดินที่ต้องการ ในตัวอย่างสาธิตเลือกที่ Station (พิมพ์ S) แรก คือ 0+00 และกำหนดค่าระดับโดยดูค่าระดับของ 0+00 ที่โปรไฟล์ หลังจากนั้นที่ drawing โปรแรกมจะกำหนดจุดเริ่มต้นให้อัติโนมัติ เราสามารถทำการลากเส้นระดับดินที่ต้องการออกแบบ (ออกแบบค่าระดับดินขุด/ดินถม ตามวัตถุประสงค์ของงาน) ตามต้องการ โดยในการสาธิตนี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงงานขุด (Cut) เป็นสำคัญ (สิ้นเปลืองงบประมาณ) > ทำการลากเส้นไปสิ้นสุดที่จุด Station สุดท้าย
* เส้นสีน้ำเงิน คือเส้น FG ที่ทำการออกแบบ

             >> จากขั้นตอนนี้ กด F2 จะเห็นหน้าต่าง Command Line แสดงเปอร์เซ็นเกรด %Grade ซึ่งจากตัวอย่างสาธิต ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของความลาดชันสูงสุด = 5 แต่พบว่าการลากเส้นออกแบบเกินค่าที่กำหนด จึงต้องใช้ชุดคำสั่งในการปรับแก้แบบละเอียด โดยทำการปรับแก้ค่า Tangent เข้า และออกใหม่ จากคำสั่ง Profiles > FG Centerline Tangents > Change Grade 1 > คลิกที่เส้น Tangent เข้า และออก (ที่โค้งดิ่ง) และพิมพ์ค่า %Grade ที่ต้องการ (ในการสาธิตนี้ พิมพ์ 5 เพื่อให้เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด)

4. Vertical Curve (การออกแบบโค้งดิ่ง)
     >> ที่เมนู Profiles > FG Vertical Curves > คลิกเลือกประเภทโค้งที่ต้องการ (การสาธิตนี้เลือกการกำหนดค่า K) แล้วคลิก Ok จากนั้นให้ทำตามคำสั่งที่ Command Line โดยการคลิกเลือก Tangent ของโค้ง (เข้า และออก) และใส่ค่า K ตามตามแบบที่กำหนด (ในการสาธิตนี้ใช้ค่า K=20) กด Enter > จะเห็นตัวโปรแกรมทำการคำนวณความยาวโค้งให้อัติโนมัติ ซึ่งเราสามารถปรับ/แก้ไข ความยาวโค้งได้ตามต้องการ และสำหรับตำแหน่งโค้งต่อๆไป ให้ทำซ้ำตามขั้นตอนข้างต้น
   
   >> ที่เมนู Profiles > FG Vertical Alignments > Define FG Center line > ตัวโปรแกรมจะปิดเลเยอร์อื่นๆ ยกเว้นเลเยอร์ของ -FFC > * ทำตามคำสั่งที่ Command line (ตัวโปรแกรมจะทำการนำเข้าจำนวนโค้งดิ่ง PVI เข้าไปไว้ในฐานข้อมูล)

   >> ที่เมนู Profiles > Edit Vertical Alignments > จะพบหน้าต่างแสดง Surface ของโปรเจ็ค (การสาธิตนี้มีเพียง surface เดียวชื่อ DTM) ดังภาพด้านล่าง ให้คลิก Ok

และจะพบกับหน้าต่าง Vertical Alignment Editor ซึ่งเราสามารถทำการกำหนดค่าต่างๆ ให้กับตัวโค้งเพิ่มเติม อาทิ ความเร็ว (Speed) สูงสุดที่ยอมรับได้ (สามารถเลือก หรือนำเข้ามาตรฐานการออกแบบถนนจากภายนอก) และสามารถทำการปรับแก้ ความยาวโค้ง และค่า K ของโค้งดิ่งในแต่ละตำแหน่ง
* ที่ Report จะแสดงรายงานการคำนวณค่าต่างๆ ของส่วนประกอบของโค้งดิ่ง 

>> เมื่อปรับค่าต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิกที่ปุ่ม Close และจะมีหน้าต่างคำถามว่า ต้องการให้มีการแสดงผลที่หน้า drawing หรือไม่ เลือก  Yes > ที่แทีป Command Line กด Enter, Enter เพื่อยืนยันการแสดงผลค่าการคำนวณต่างๆ ที่โค้งดิ่ง

5. Road Template (การสร้างรูปตัดถนน)
  5.1 สร้าง Layer ขึ้นมาใหม่ กำหนดให้ชื่อ Road Template (หรือชื่ออื่นๆ ที่ต้องการ) และตั้งให้เป็น Current Layer
  5.2 ที่เมนู Cross Sections > Draw Template

>> การสาธิตนี้ ทำการกำหนดชั้นถนนให้มี 3 ชั้น คือ
1. ชั้นหินละเอียดผสมยางมะตอย หนา 5 ซม. (Asphalt)
2. ชั้นหินคลุกหนา 30 ซม. (Granular)
3. ชั้นหินลูกรังหนา 20 ซม. (Crash base course)

>> ชั้นหินละเอียดผสมยางมะตอย หนา 5 ซม.
ที่ Command Line
Starting point: คลิกตำแหน่งที่ต้องการวาง
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: G กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: -2 กด Enter
Change in offset: -4.0 กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: R กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: 0 กด Enter
Change in elev: -0.05 กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: G กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: 2 กด Enter
Change in offset: 4 กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: X กด Enter
Starting Point:
* ก่อนสร้างชั้นต่อไปให้เปิด OSNAP 

>> ชั้นหินคลุกหนา 30 ซม.
Starting point: คลิกที่ปลายด้านขวาของเส้นล่าง
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: P กด Enter
Select point [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: คลิกที่ปลายด้านซ้าย ของเส้นล่าง
Select point [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]:G กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: -4 กด Enter
Change in offset: -2 กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: R กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: -0.2 กด Enter
Change in elev: -0.30 กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: G กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: 2 กด Enter
Change in offset: 6.1769 กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: X กด Enter
Starting Point:

>> ชั้นหินลูกรังหนา 20 ซม.
Starting point: คลิกที่ปลายด้านขวาของเส้นล่าง
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: P กด Enter
Select point [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: คลิกที่ปลายด้านซ้าย ของเส้นล่าง
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: R กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: -0.2 กด Enter
Change in elev: -0.20 กด Enter
Change in offset [Grade/Slope/Close/Points/Undo/eXit]: G กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: 2 กด Enter
Change in offset: 6.2280 กด Enter
Grade(%) [Relative/Slope/Points/Close/Undo/eXit]: X กด Enter
Starting Point:

  5.3 Define Template 
        >> การออกแบบ Template ข้างต้น เป็นการปูพื้นฐานให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจการออกแบบ Template โดยการใช้คำสั่งที่ Command Line ในเบื้องต้น และอีกหนึ่งวิธีที่ผู้เขียนนิยมใช้ คือการออกแบบ Template โดยใช้เครื่องมือการวาด ของตัวโปรแกรม AutoCAD (วาดเพียงครึ่งเดียว แบบสมมาตร) แล้วใช้คำสั่ง Define Template ดังที่จะได้อธิบายในลำดับถัดไป

ที่เมนู Cross Section > Template > Define Template

ที่ Command Line
Pick Finish Ground reference point: คลิกที่ปลายด้านขวาของเส้นบนสุด
Is template symmetrical [YES/NO] <YES>: กด Enter (หน้าตัดสมมาตร)
Select objects: คลิกที่เส้นรูปชั้นผิวทาง
Select objects: คลิกที่เส้นรูปชั้นที่ 2
Select objects: คลิกที่เส้นรูปชั้นที่ 3
Select objects: กด Enter จะเกิดเส้นประที่ชั้นรองพื้นทาง
Surface type [Normal/Subgrade] <Normal>: กด Enter จะปรากฏหน้าต่าง Surface Material Names
* ที่ Materials Selection เลือก Crsh Base Couse > คลิก Ok

Surface type [Normal/Subgrade] <Normal>: กด Enter จะปรากฏ Surface Material Names
* ที่ Materials Selection เลือก Granular > คลิก Ok

Surface type [Normal/Subgrade] <Normal>: กด Enter จะปรากฏ Surface Material Names
ที่ Materials Selection เลือก Asphalt > คลิก OK

ที่ Command Line
Pick connection point out: คลิกที่ปลายด้านซ้ายของเส้นล่างสุด
Datum number <1>: กด Enter
Pick datum points (left to right): คลิกที่ปลายด้านซ้ายของเส้นล่างสุด
Pick datum points (left to right): คลิกที่ปลายด้านขวาของเส้นล่างสุด
Pick datum points (left to right): กด Enter จะปรากฏหน้าต่าง Subassembly

ที่ Subassembly Attachments Dialogbox คลิก OK
Save template [Yes/No] <Yes>: กด Enter
Template name: ตั้งชื่อ TEMP-A กด Enter
Define another template [Yes/No] <Yes>: N กด Enter

  5.4 กำหนดคุณลักษณะให้กับ Template
        >> ที่เมนู Cross Section > Template > Edit Template จะปรากฏ Template Librarian 
ที่ Template Librarian Dialogbox ที่ Selection คลิกเลือก TEMP-A คลิก OK
>> คลิกตำแหน่งที่ต้องการวางใน Drawing

ที่ Command Line
Edsrf/SAve/eXit/ASsembly/Display/SRfcon/Redraw <eXit>:SR (เลือกใช้การทำงานของ Surface Control) กด Enter
Connect/Datum/Redraw/Super/Topsurf/TRansition/eXit <eXit>:T (เลือกใช้การทำงานของ Top Surface) กด Enter
Top surface number<1>: กด Enter
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่มุมล่างซ้าย
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่จุดต่อชั้นรองพื้นทางกับชั้นพื้นทาง
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่จุดหักมุมชั้นพื้นทาง
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่จุดต่อชั้นพื้นทางกับชั้นผิวทาง
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่จุดหักมุมชั้นผิวทาง
Pick top Surface Points (left to right): คลิกที่จุดกลางชั้นพื้นทาง

ทำต่อในลักษณะเดียวกันทางด้านขวา โดยทำการคลิกที่จุดต่างๆ ทางด้านขวาจนถึงมุมล่างซ้าย จนเกิดเส้นประตั้งแต่มุมล่างซ้ายขึ้นมาด้านบนจนถึงมุมล่างขวา
Pick top Surface Points (left to right): กด Enter
Connect/Datum/Redraw/Super/Topsurf/TRansition/eXit <eXit>: กด Enter
Edsrf/SAve/eXit/ASsembly/Display/SRfcon/Redraw <eXit>: กด Enter
Save template [Yes/No] <Yes>: กด Enter
Template name <TEMP-B>: กด Enter
Template exists Overwrite [Yes/No] <Yes>: กด Enter

  5.5 การสร้างรูปตัดถนน 
        >> ที่เมนู Cross Section > Existing Ground > Sample from Surface จะปรากฏ Section Sampling Settings 
* เลือกติ๊ก  ที่ช่องตามภาพข้างต้น
ที่ Command Line
Begining station <0>: กด Enter
Ending station <3362.526>: กด Enter
โปรแกรมจะแสดงผลการตั้งค่าตัวอย่างรูปตัดตามขวางดินเดิม

  5.6 การแก้ไขรูปตัดตามขวางหน้าตัดดินเดิม (Edit Section)
        >> ที่เมนู Cross Section > Existing Ground > Edit Sections จะปรากฏหน้าต่าง Existing Ground Section Editor 

ที่ Existing Ground Section Editor 
Select Surface เลือก Surface ถ้ามีมากกว่า 1
Prev/Next/Station เลื่อนเลือกสถานีต่างๆ

Insert/Delete Offset เพิ่มหรือลบค่า Offset ที่ต้องการ
Insert/Delete Station เพิ่มหรือลบสถานีที่ต้องการ
Insert/Delete Surface เพิ่มหรือลบ Surface ที่ต้องการ
* Section View ดูภาพของหน้าตัด ตามภาพด้านล่าง

  5.7 การยกขอบโค้ง (SuperElevation)
        >> ทำการตรวจสอบ Horizontal Curve ที่โค้งแรกซึ่งรัศมีความโค้งเท่ากับ 150 ม. และได้ออกแบบความเร็วที่ 80 Km/Hr สามารถคำนวณอัตราการยกโค้งตามสมการการยกโค้งตามภาพด้านล่าง ได้ e = 0.17
* ทำการคำนวณค่า e ให้กับโค้งราบที่เหลือทั้งหมดจากสูตรข้างต้น

ที่เมนู Cross Section > Templates > Edit Templates จะปรากฏหน้าต่าง Template Librarian
ที่ Selection เลือก TEMP-A คลิก OK คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการวางในหน้า drawing
ที่ Command line
พิมพ์ SR กด Enter เพื่อเลือก Surface connection option
พิมพ์ S กด Enter เพื่อเลือก Superelevation option

Outer left superelevation point: คลิกที่มุมบนซ้ายของผิวจราจร
Inner superelevation reference point: คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร
Outer rollover point: คลิกที่มุมบนซ้ายของไหล่ทาง

Outer right superelevation point: คลิกที่มุมบนขวาของผิวจราจร
Inner superelevation reference point: คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร
Outer rollover point: คลิกที่มุมบนขวาของไหล่ทาง
กด Enter ออกจาก Superelevation option
พิมพ์ D กด Enter เพื่อเลือก Display option
พิมพ์ S กด Enter เพื่อเลือก Superelevation option จะปรากฏเส้น แสดงขอบเขตของจุดยกโค้ง
กด Enter ออกจาก Superelevation option
พิมพ์ SA กด Enter เพื่อเลือก Save option
กด Enter เพื่อ Save Template
กด Enter เลือกชื่อเดิม (TEMP-A)
กด Enter เพื่อ Save ทับไฟล์เดิม
กด Enter ออกจาก Edit Template

ที่เมนู Cross Section > Design Control > Superelevation Parameters จะปรากฏหน้าต่าง Superelevation Control 

ที่ Superelevation Toggles ติ๊ก ที่ Superelevation calculations
>> คลิกที่ Edit Data จะปรากฏหน้าต่าง Superelevation Curve Edit
ที่ Curve Detail Information จะแสดงรายละเอียดของโค้งที่ 1 (โค้งแรก)
ที่ Curve Edit Information
Method เลือก A หมุนหน้าตัดรอบแนวศูนย์กลางถนน

E value พิมพ์ 0.17 (ค่า e ที่คำนวณได้ ของโค้งแรกข้างต้น)
Direction เลือก Left เลี้ยวซ้าย (โค้งแรก มีทิศทางโค้งไปทางซ้าย)
ติ๊ก ที่ Rollover พิมพ์ 0.060 ทำการยกไหล่ทางด้วย (ขึ้นอยู่กับสเป็คงานถนนที่ต้องการออกแบบ อัตราการยกโค้ง)

ที่ Transition In และ Transition Out
Runout พิมพ์ 100.000 ระยะทางการยกโค้ง
Runoff พิมพ์ 100.000
%Runoff พิมพ์ 100.000

>> คลิกที่ Subgrades จะปรากฏหน้าต่าง Superelevation Subgrade Setting
* ที่ Subgrade Superelevation Method เลือก Fixed Break > คลิก OK

>> กลับมาที่หน้าต่าง Superelevation Curve Edit > คลิก Next เพื่อป้อนค่าการยกโค้งในโค้งถัดไป (ทำซ้ำตามขั้นตอนข้างต้น + อย่าลืม เลือก Fixed Break ที่ Subgrade Superelevation Method ให้กับทุกๆโค้ง)

คลิก OK เพื่อกลับสู่ Superelevation Control 
คลิก OK
จะปรากฏ Save superelevation information > คลิก YES จะปรากฏหน้าต่าง Superelevation Selection Sampling 

ที่ Sections To Add ติ๊ก ที่ Sample these stations
ที่ Surface Sampling
Width Left: พิมพ์ 50.00
Width Right: พิมพ์ 50.00
Current Surface(s): คลิก Select เลือก dtm (ชื่อ surface ของคอนทัวร์)
คลิก OK

6. Design Control
    >> การควบคุมการออกแบบถนน เมื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้ตามขั้นตอนต่างๆ ขั้นต้น Horizontal Alignment, Profile, Vertical Alignment และ Template มาทำการคำนวณร่วมกัน โดยทำการกำหนดเงื่อนไขในการคำนวณ ดังต่อไปนี้

>> ที่เมนู Cross Section > Design Control > Edit Design Control จะปรากฏหน้าต่าง Enter Station Range 
คลิก OK จะปรากฏหน้าต่าง Design Control

คลิกที่ Template Control จะปรากฏ Template Control

คลิกที่ปุ่ม Select จะปรากฏ Template Librarian 
ที่ Template Librarian คลิกเลือก Template TEMP-A ที่สร้างไว้
* คลิก OK

>> ที่หน้าต่าง Design Control คลิกที่ Slopes จะปรากฏ Slope Control
ที่ Design Slope ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา (สเป็คของการออกแบบกำหนด อัตรส่วนความชันเป็น 1:1 เนื่องจากเป็นดินแข็ง ยากแก่การพังทลาย)
Fill Type เลือก Simple
Typical พิมพ์ 1.00 
Maximun พิมพ์ 1.00 
Cut Type เลือก Simple 
Typical พิมพ์ 1.00 
Maximun พิมพ์ 1.00 
คลิก OK

>> ที่หน้าต่าง Design Control คลิกที่ Ditches จะปรากฏ Ditch Control
(* กำหนดขนาดของช่องทางระบายน้ำ ถ้าการออกแบบถนนไม่มีช่องทางระบายน้ำ ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไป)

ที่ Left และ Right
Type เลือก Cut/Fill
ติ๊ก เลือก Foreslope พิมพ์ 1.0
ติ๊ก เลือก Depth พิมพ์ 1.0
Base width พิมพ์ 1.0
คลิก OK
คลิก OK
ถ้ามี Error เกิดขึ้นในการคำนวณจะปรากฏ Section Processing Status ให้ปิดหน้าต่างให้หมด (*ไม่แน่ใจว่าเกิดจาก bug ของตัวโปรแกรมหรือไม่? สำหรับหน้าต่าง error ต่างๆที่ปรากฎ)

7. View/Edit Section (การแสดงและแก้ไขรูปตัด) 
     >> เมื่อโปรแกรมทำการคำนวณเสร็จแล้วสามารถดู ตรวจสอบ และแก้ไข ค่าต่างๆ ที่กำหนด ของแต่ละ Sections ในแบบ Graphic ได้ ค่าที่แก้ไขนั้นจะถูกอัพเดทไปยังฐานข้อมูลทันที

>> ที่เมนู Cross Sections > View/Edit Sections โปรแกรมจะแสดงรูปตัดตามขวาง ของ Sta 0+000
* ที่ Command Line เราสามารถคลิก Enter เพื่อตรวจสอบรูปหน้าตัดของ Station อื่นๆ 

* หรือใช้คำสั่งตรวจสอบอื่นๆ ที่ Command Line อาทิ Actual (แสดงข้อมูลของ Station)
Actual

Design

View (กำหนดการแสดงผล สีของเลเยอร์ หรือเส้นต่างๆ)

8. Curve Widening (การขยายช่องทางจราจร ที่ตำแหน่งยกโค้ง Superelevation)
>> ที่เมนู Cross Section > Templates > Edit Templates จะปรากฏหน้าต่าง Template Librarian
* ที่ Selection เลือก TEMP-A  > คลิก OK คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการวาง
ที่ Command line
พิมพ์ SR กด Enter เพื่อเลือก Surface connection option
พิมพ์ TR กด Enter เพื่อเลือก Transition option
พิมพ์ L กด Enter เพื่อเลือก Left option
พิมพ์ 1 กด Enter เพื่อเลือก จุดอ้างอิงจุดที่ 1

ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร

กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Pinned
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Free
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Same
พิมพ์ E กด Enter เพื่อเลือก Elevation option
พิมพ์ 2 กด Enter เพื่อเลือก จุดอ้างอิงจุดที่ 2

ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่มุมบนซ้ายของผิวจราจร

กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Pinned
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Free
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Same
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Grade option

ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร

กด ENTER เพื่ออกจาก Left option
พิมพ์ R กด Enter เพื่อเลือก Right option
พิมพ์ 1 กด Enter เพื่อเลือก จุดอ้างอิงจุดที่ 1

ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร

พิมพ์ D กด Enter เพื่อเลือก Dynamic option
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Free
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Same
พิมพ์ E กด Enter เพื่อเลือก Elevation option
พิมพ์ 2 กด Enter เพื่อเลือก จุดอ้างอิงจุดที่ 2

ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่มุมบนขวาของผิวจราจร

กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Pinned
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Free
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Same
กด ENTER เพื่อยอมรับค่า Grade option
ใช้ Endpoint Osnap คลิกที่จุดศูนย์กลางของผิวจราจร

กด ENTER เพื่ออกจาก Left option
กด ENTER เพื่ออกจาก Transition option
กด ENTER เพื่ออกจาก Surface Connection option
พิมพ์ D กด Enter เพื่อเลือก Display option
พิมพ์ TR กด Enter เพื่อเลือก Transition option จะปรากฏเส้นแสดงขอบเขตการขยายผิวทาง 
กด Enter ออกจาก Superelevation option
พิมพ์ SA กด Enter เพื่อเลือก Save option
กด Enter เพื่อ Save Template

* ทำการตรวจสอบ Station ที่เริ่มต้นยกโค้ง โดยถนนจะค่อยๆ ถูกยกตัวขึ้นตามระยะทางจนถึงจุดที่การยกโค้ง Superelavation เต็ม แล้วจะลดระดับลงเรื่อยๆ จนเข้าสู่ระดับปรกติ

>> ที่เมนู Cross Sections > Design Control > Display Design Control จะ
ปรากฏหน้าต่าง Design Control Parameters คลิก Next เพื่อตรวจสอบอัตราการยกโค้งไปทีละ Station

คลิกที่เมนู Cross Sections > View/Edit Sections โปรแกรมจะแสดงรูปตัดตามขวางของ Sta 0+000

ที่ Command Line กด Enter เพื่อเลื่อนสถานีไปยังสถานีที่ต้องการขยายผิวจราจร

ที่ Command Line
พิมพ์ E กด Enter เพื่อเลือก Edit option
พิมพ์ C กด Enter เพื่อเลือก Control option จะปรากฏ Control Editor

คลิกที่ Edit transitions จะปรากฏ Transition 
ติ๊ก ที่ Second Offset ด้านซ้าย (ด้านในโค้ง) พิมพ์ระยะที่ต้องการขยายผิวจราจร
คลิก OK
คลิก OK

9. Section Plot (ตั้งค่าการพล๊อตรูปตัดตามขวาง)
    >> ที่เมนู Cross Sections > Section Plot > Settings จะปรากฏหน้าต่าง Cross Section Plotting Setting

>> คลิกที่ Secton Layout จะปรากฏ Section Layout
ที่ Section Layer กำหนดค่าต่างๆ ดังต่อไปนี้
Offset incr = 10.000 (ระยะแสดงวัดไปด้ายซ้าย/ขวา ทุก 10 ม.)
Offset lbl incr = 10 (เขียนค่าระยะวัดไปด้ายซ้าย/ขวา ทุกๆ 10 ม.)
Offset prec = 2 (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
FG lbl prec = 2 (Finish Ground Lable ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
Rows below datum = 1 (แสดงแถวของตารางเหนือเส้น Datum 1 ช่อง)
Elevation incr = 1.000 (ความสูงแสดงทุกๆ 1 ม.)
Elevation lbl incr = 1 (เขียนค่าความสูงทุกๆ 1 ม.)

Elevation prec = 2 (ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
EG lbl prec = 2 (Existing Ground Label ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
Rows above max = 1 (แถวของตารางกำหนดให้มีมากที่สุด 1 ช่อง)
คลิก OK
คลิก OK ปิด Cross Section Plotting Setting

   9.1 Ploting Scale (กำหนดมาตราส่วนการพล๊อตรูปตัดตามขวาง)
         >> คลิกขวาที่แท๊ป Layout เลือก Rename (หรือสร้างขึ้นมาใหม่) Layout 1 เป็น Cross Section > คลิก OK
ที่เมนู Project > Drawing Setup จะปรากฏ Drawing Setup 
* ที Scale Tab คลิกเลือก Horizontal 1:100, Vertical 1:50 คลิก OK

   9.2 การพิมพ์รูปตัดตามขวาง
         >> โดยสามารถเลือกได้ 3 แบบ คือ พิมพ์ทีละสถานีที่ต้องการ (Single) พิมพ์ทีละช่วงสถานีที่ต้องการ (Page) และพิมพ์ทั้งหมด (All) * ในการสาธิตนี้เลือกการแสดงทั้งหมด 

ที่หน้าจอ  Model
ที่เมนู Cross Sections > Section Plot > All และทำตามคำสั่งที่ Comand Line

   9.3 การแสดงผลค่าการคำนวณต่างๆ ในรูปตัดตามขวาง 
         >> ที่เมนู Cross Sections > Section Utilities > Select By Station (เลือก station ที่ต้องการโดยการพิมพ์สถานีที่ต้องการ จากตัวอย่างถัดไปเลือกสถานี 18+00 (พิมพ์ 1800))

ที่เมนู Cross Sections > Section Utilities > 
- Label Offset
- Label Elevation
- Label Grade 
- Label Depth
- Label Slope
- Label Area
* เลือกการแสดงผลที่ต้องการ และทำตามคำสั่งที่ Command Line
* Type of text placement [Auto/Manual]: พิมพ์  A แล้วกด Enter
* Text orientation [Random/Linear]: พิมพ์  L แล้วกด Enter

10. Volume Calculation (การคำนวณปริมาตรงานดินตัด-ดินถม) 
       >> สามารถเลือกได้ 3 แบบ คือ แบบหน้าต่าง (To Screen) แบบตาราง (Volume Table) และแบบเซฟเป็นไฟล์ (To File) * ในการสาธิตนี้เลือกการแสดงผลแบบตาราง และหน้าต่าง

ที่เมนู Cross Sections > Total Volume Output > Volume Table
* ทำตามคำสั่งที่ Comand Line

ที่ Command Line
Volume computation type [Prismoidal/Avgendarea] : พิมพ์  A แล้วกด Enter
Use of curve correction [Yes/No] <Yes>: กด Enter
Use of volume adjustment factors [Yes/No] <Yes>: กด Enter
Cut adjustment factor <1>: กด Enter
Fill adjustment factor <1>: กด Enter
Beginning Station <>: กด Enter
Ending Station <>: กด Enter

>> ทำการแสดงผลแบบหน้าต่าง (To Screen)

  10.1 Material Volume Calculation (การคำนวณปริมาตรวัสดุที่ต้องใช้) 
          >> ที่เมนู Cross Sections > Surface Volume Output > Template Surface

ที่ Command Line

Volume computation type[Prismoidal/Avgendarea]: พิมพ์  A แล้วกด Enter
Use of curve correction [Yes/No] <Yes>: กด Enter
Use of volume adjustment factors [Yes/No] <Yes>: พิมพ์ N กด Enter
Output file name <output.prn>: กด Enter
Beginning Station <>: กด Enter
Ending Station <>: กด Enter

* ใช้โปรแกรม Notepad เปิดโปรแกรม output.prn ซึ่งถูกเซฟอยู่ในโปรเจ็คโฟลเดอร์

11. การแสดงผล 3 มิติ
      >> ที่เมนู Cross Sections > 3D Grid 

ที่ Command Line
Beginning Station <0>: กด Enter
Endding Station <>: กด Enter
Surface points to import [Existing/Datum/Top]: T กด Enter
Top surface number <1>: กด Enter
Vertical scaling factor <1>: กด Enter
Base elevation<0>: กด Enter

   11.1 การสร้างภาพ Perspective 
           >> ที่เมนู Terrain > Surface Utilities > Line of Signt

ที่ Command Line
Select camera point: คลิกที่จุดตั้งกล้อง (คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการบนเส้น Alignment)
Height of camera <5,400>: กด Enter
Select camera point: คลิกที่จุดที่เป็นเป้าสายตา (คลิกเลือกตำแหน่งที่ต้องการบนเส้น Alignment)
Height of object <0>: กด Enter จะปรากฏ Surface Line of Site


ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้ศึกษาจะได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้งานชุดคำสั่งการออกแบบถนน ด้วยโปรแกรม Autodesk Land Desktop เพื่อพัฒนาต่อยอด เพิ่มพูนทักษะ ความรู้ ของท่านยิ่งๆขึ้นไป

ขาดตกบกพร่องประการใด...ต้องขออภัย...และขอน้อมรับทุก คำติ-ชม

8 comments:

  1. ผมส่งอีเมลล์ไป ขอถามข้อมูลบางอย่างครับ ช่วยกรุณาตอบด้วยครับ
    จาก ช่างเล็กปทุม

    ReplyDelete
  2. ผมอยากได้โปรแกรมคับ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ReplyDelete
  3. Thank you very much. You are very good for Thai people who have limited access to these knowledge event in my country also. We have a good people who have these knowledge but nobody like you to teach or pass on these knowledge to other people. I am one to come and learn from this website like as surveying library.

    Regards,
    Sangsuda Jansaka
    Vientian Lao PDR.

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณครับ

    ผมเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ น่าจะมีท่านผู้มีความรู้ ความสามารถ ในประเทศของท่าน ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านนี้...สำหรับในประเทศสารขันธ์ของผม ก็ยังถือว่าน้อยมากครับ ซึ่งนั่นก่อให้เกิด 'ข้อจำกัด ในการเข้าถึง' อย่างที่ท่านกล่าว

    ReplyDelete
  5. ผมใช้งานโปรแกรมนี้มาหลายปีสร้างแต่เส้นคอนทัว ก็เพิ่งจะสร้างถนนเป็นกับเขา ก็เพราะเว็บไซต์นี้ ขอขอบพระคุณมากครับ ตอนนี้เขาหนีไปใช้ civil กันหมดแล้ว จาก อบต หนองหอย

    ReplyDelete
  6. ขอบคุณครับ ที่ช่วยให้ความรู้ เพื่อใช้ประโยชน์พัฒนาความสามารถบุคคลากรประเทศ และคนรุ่นๆต่อๆไป

    ReplyDelete
  7. วันนี้ขอทดลองทำตามก่อนนะครับ

    ReplyDelete
  8. ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์มากเลย

    ReplyDelete