Saturday 24 March 2012

Civil 3D: Description Keys และ การแบ่งกลุ่มข้อมูลสำรวจ ตาม Description

 
>> Description Keys เป็นชุดคำสั่งที่ ช่วยกำหนด และจำแนก 'คุณลักษณะ' ของข้อมูลสำรวจแต่ละประเภท โดยอาศัย Keyword คือ Description ของ ข้อมูลสำรวจ ณ จุดนั้นๆ 
จากภาพข้างต้น จะพบว่า ข้อมูลสำรวจชุดนี้ มี Description อยู่ 2 ประเภท คือ Road และ Topo ซึ่งการสาธิตนี้ จะทำการกำหนด สัญลักษณ์ ให้กับ Road และ Topo แบบอัติโนมัติ เมื่อนำข้อมูลจุดสำรวจ เข้าสู่ตัว Drawing

Hand On:
1. ที่แท๊ป Setting > Point > Description Key Sets > คลิกขวาที่ Civil 3D เลือก Edit Keys จะพบหน้าต่าง แสดงขึ้นมาตามภาพด้านล่าง

2. คลิกขวาที่บรรทัดใด บรรทัดหนึ่ง แล้วเลือก New ตัวโปรแกรมจะสร้าง บรรทัดของ Description Keys ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า 'New DescKey' เปลี่ยนชื่อจาก New DescKey เป็น Road และเลือก Point Style ตามที่ต้องการ (ทำซ้ำขั้นตอนนี้ อีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อจาก New DescKey เป็น Topo และเลือก Point Style ตามที่ต้องการ) 

3. ทำการ Import Point เข้าสู่ตัวโปรแกรม ซึ่งสัญลักษณ์ของข้อมูลสำรวจ Road และ Topo จะถูกเปลี่ยนไปตาม Description Keys ที่กำหนดทันที
หมายเหตุ: ชื่อของ Description ต้องตั้ง/สะกด ให้เหมือนกันทั้งจากข้อมูลจุดสำรวจ และการเปลี่ยนชื่อจาก New DescKey

การแบ่งกลุ่มข้อมูลสำรวจ ตาม Description
- ตัวอย่างภาพด้านล่าง แสดงการนำเข้าข้อมูลสำรวจ จากไฟล์ .csv (ไฟล์เดียว) และสร้างกลุ่มข้อมูลชื่อ 'SURVEY' ซึ่งชุดข้อมูลสำรวจดังกล่าว มี Description อยู่หลายประเภท และกระจายกัน ไม่เป็นระเบียบ

- สร้าง Layer ขึ้นมาใหม่ (ในการสาธิตนี้ ตั้งชื่อเลเยอร์ และจำนวน Description คือ Topo, CK, LP)

- ทำการสร้าง Description Keys และกำหนดสัญลักษณ์ หรือรูปแบบ ขึ้นมาใหม่ให้ตรงกับประเภทของ Description ข้อมูลสำรวจที่นำเข้า (Topo, CK, LP) และ กำหนดให้ Description Keys แต่ละประเภท แสดงผลในเลเยอร์ ที่สร้างไว้ข้างต้น

- ที่แท๊ป Prospector > Point Groups > SURVEY (ชื่อกลุ่มข้อมูลที่สร้างขึ้น) > คลิกขวาเลือก Properties จะพบหน้าต่าง ตามภาพด้านล่าง
> Point Groups ติ๊กเลือก All Points
> Raw DescMatching ติ๊กเลือก Description Keys (Code) ที่สร้างขึ้นจากขั้นตอนข้างต้น
> Include ติ๊กเลือกเฉพาะ With Raw Descriptions Matching จะเห็น Description Keys (Code) ที่เราสร้างขึ้น และถูกเลือกมาจาก Raw DescMatching

- ที่แท๊ป Prospector > Point Groups > คลิกขวา ที่ SURVEY (ชื่อกลุ่มข้อมูลที่สร้างขึ้น) เลือก Apply Description Keys

Description Keys (+สัญลักษณ์)
* สามารถจำแนกประเภทข้อมูล ได้จากสัญลักษณ์ที่แตกต่าง และยังสามารถเลือกการ เปิด-ปิด การแสดงผลของเลเยอร์ ตามประเภท Description

Wednesday 7 March 2012

ArcGIS: The Advances of Geospatial 3D

Geospatial 3D (Advance Step)
ตัวอย่างสาธิต การบูรณาการข้อมูลเชิงปริมาณ เข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยการใช้โปรแกรม ArcGIS

Hand On:
1. Add ข้อมูลเชิงพื้นที่ เข้าสู่โปรแกรม (จากตัวอย่างภาพด้านล่าง แสดงข้อมูลเส้นชั้นระดับความสูง *.dwg)

2.  สร้างเส้น TIN จากชุดคำสั่งใน ArcToolbox > 3D Analyst Tools > TIN Management > Create TIN

3. ทำการแก้ไขขอบของเส้น TIN จากชุดคำสั่งใน ArcToolbox > 3D Analyst Tools > TIN Management > Delineate TIN Data Area
* Data > Save As Layer File > *.lyr

4. Add ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Polygon Area) แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และที่อยู่อาศัย (ใช้สีแทนสัญลักษณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดิน 2D) 

5. ArcScene > Add *.lyr ที่ save ไว้จากคำสั่งข้างต้น เข้าสู่ตัวโปรแกรม (แสดงเป็นแบบ 3D)

6. Add ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Polygon Area) แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และที่อยู่อาศัย (ใช้สีแทนสัญลักษณ์ การใช้ประโยชน์ที่ดิน 3D) 

7. ทำการปรับแก้ ความต่างทางระดับ (จากภาพด้านบน Polygon Area) ด้วยคำสั่ง Base Heights ใน Layer Properties

8. Add ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อทำการวิเคราะห์ (ไฟล์ *.DEM) ระดับน้ำสูงสุด (สีน้ำเงิน) ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูก และที่อยู่อาศัย

9. ทำการปรับแก้ ความต่างทางระดับ ด้วยคำสั่ง Base Heights ใน Layer Properties

10. เตรียมภาพ หรือแผนที่ๆ จะใช้ร่วมในการวิเคราะห์ สภาพภูมิประเทศ (แผนที่ๆ ถูกอ้างอิงทางตำแหน่งภูมิศาสตร์)

11. ทำการปรับแก้ ความต่างทางระดับ ด้วยคำสั่ง Base Heights ใน Layer Properties

12. Fly


Road & Grading design (Workshop)


Monday 5 March 2012

Civil 3D: Create Grid (การสร้างตารางกริด)


Hand On:
1. Create Point สร้างจุดขึ้นมา 1 จุด โดยกำหนดให้จุดที่สร้างดังกล่าว แสดงค่าพิกัด E, N ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
หมายเหตุ: ขอผ่านวิธีการ กำหนด/สร้าง Point Style/Label Style ครับ เพราะใช้เวลาอธิบายค่อนข้างมาก (พื้นฐาน Civil 3D...ส่วนถ้าท่านใดยังติดในขั้นตอนใด ค่อยถามเข้ามาเป็นหัวข้อย่อยๆไป)

>> ที่คำสั่ง Array ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
1. เลือก Rectangular Array
2. เลือกวัตถุ ที่ต้องการ Array
3. กำหนดจำนวนแถวแนวนอน ที่ต้องการ
4. กำหนดจำนวนแถวแนวตั้ง ที่ต้องการ
5. กำหนดระยะห่างของวัตถุ ในแถวแนวนอน ที่ต้องการ
6. กำหนดระยะห่างของวัตถุ ในแถวแนวตั้ง ที่ต้องการ

2. จากขั้นตอนข้างต้น จะพบหน้าต่าง Duplicate Point Number ให้เลือกค่า Setting ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง

3. ถัดมาโปรแกรมจะสร้างตารางกริด ให้อัติโนมัติ ตามค่าต่างๆ ที่เรากำหนด
จะสังเกตุเห็น ค่าพิกัด เพิ่มค่าระยะทางขึ้นตามแกน E,N ที่เรากำหนด

* เท่าที่ทราบ การสร้างตารางกริด จากโปรแกรม Civil 3D สามารถสร้างได้จากการสาธิตข้างต้นเท่านั้น
* โปรแกรม AutoCAD Map 3D มีคำสั่งสร้างตารางกริดโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถสร้าง และแปลงตารางกริด ตามระบบค่าพิกัด ที่เรากำหนดแบบอัติโนมัติ (แม้แต่ระบบกริด Lat/Lon)