Friday 28 December 2012

สวัสดีปีใหม่ 2556


HAPPY NEW YEAR  2013

นศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย 
จงดลบันดาลให้ท่านพร้อมครอบครัว ประสบแต่ความสุขด้วยจตุรพิธพรชัย 
สมบูรณ์พูนผลในสิ่งที่พึงปรารถนาทุกประการ


ขอขอบคุณ ทุกๆท่าน ที่เข้ามาเยี่ยมชม 
ทักทาย ทั้งหน้าเว็บ และอีเมล์ ฯลฯ
...สวัสดีปีใหม่ครับ...

Saturday 22 December 2012

Global Mapper: จากวันนั้น ถึงวันนี้

บทความอ้างอิง: Global Mapper: Contour line (Field to Finish)

<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>
>> ถือเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีประวัติยาวนานพอสมควร ถูกพัฒนาออกมาสู่ตลาดด้านงานแผนที่ในยุคเดียวกับ Arcview v.1 ช่วงปลายยุคระบบปฏิบัติการ UNIX (ใครเคยใช้บ้างเอ่ย?) และถือเป็นโปรแกรมแรกที่ผู้เขียน (ยุค เจไดฝึกหัด พ.ศ. 2541-2543) สามารถนำเอาข้อมูลแผนที่, ข้อมูลสำรวจฯ มาสร้างเป็นโมเดลแบบ 3D ได้ โดยในยุคนั้นเรียกชื่อโปรแกรมว่า DLG (Digital Line Graphs) 

ความสามารถของตัวโปรแกรมที่ทำเอานักการแผนที่ฯ และชนชาว GIS ในยุคนั้น พากันฮือฮา ซี๊ดปาก นั่นคือความสามารถในการเปิดไฟล์ *.DEM (ยุคนั้นเรียกว่า 'ไฟล์ดาวเทียม'...ประมาณว่าได้มาจากดาวเทียม O_O) แสดงผลในแบบ 3 มิติ...ไฮเทค สุดๆ
>> อาจจะด้วยเหตุว่าเป็นซอฟแวร์ของค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Blue Marble จึงทำให้ Digital Line Graphs (DLG) ยังคงถูกพัฒนาเพิ่มความสามารถอย่างต่อเนื่อง ออกมาหลายเวอร์ชั่น มีทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต จนกระทั่งมาถึงเวอร์ชั่นที่ลงท้ายว่า Pro และตามด้วยชื่อในวงเล็บ (Global Mapper) และในท้ายที่สุดก็ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น Global Mapper จนถึงทุกวันนี้
>> ในช่วงยุคแรกๆ ในชื่อของ Global Mapper ซึ่งผู้เขียน (ส่วนตัว) คิดว่าน่าจะเป็นเหตุผลทางด้านการตลาด ในการแข่งขันกับโปรแกรมมีชื่ออย่าง ArcView v.2.x ของ ESRI (เวอร์ชั่นที่มี Hardware locked...ผู้เขียนยังมีใช้งานอยู่ T_T) แต่ด้วย 'ข้อด้อย/ข้อจำกัด' ของตัวโปรแกรม Global Mapper ในการจัดการ หรือทำงานกับฐานข้อมูล และลิงค์เชื่อมโยงกับตัวแผนที่ ทำให้ Global Mapper ไม่ได้รับความนิยมมากนัก 

แต่ด้วยความแตกต่างทางด้านราคาอย่าง 'ฟ้ากับเหว' กับโปรแกรมชั้นนำอื่นๆ ทำให้ Global Mapper ยังคงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของผู้ใช้งานที่มองหาโปรแกรมที่สามารถตอบโจทย์งานทางด้าน GIS ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีคำสั่งดาวน์โหลดแผนที่ฯ จากเซิบเวอร์หลายแห่งมาใช้งานได้ฟรี และที่สำคัญ ตัวโปรแกรมมีราคาไม่แพง...หมื่นกว่าบาท เท่านั้น แต่ความสามารถเกินราคา  O_o
>> สำหรับในบ้านเรา โปรแกรม Global Mapper ยังคงถูกใช้งานอยู่ในวงจำกัดเฉพาะกลุ่ม ผู้คนที่รู้จักและใช้งานยังมีจำนวนน้อย จำได้ว่าเมื่อ 3-4 ปีก่อนเคยได้ยินเสียงอื้ออึง (จัดซื้อ) ชื่อโปรแกรมดังกล่าว ในยุคโครงการการจัดทำแผนที่ภาษี (อบต.) ทั่วประเทศ และล่าสุด กับข่าวคราวที่ได้ยิน คือการจัดการอบรมพื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Global Mapper ของ กรมชลประทาน (ช่วงกลางปีที่ผ่านมา) ในชื่อ "โครงการฝึกอบรมการสำรวจทำแผนที่ และข้อมูลเชิงพื้นที่ ประกอบการจำลองพื้นที่ ที่คาดว่าน้ำจะท่วม" (น่าจะจัดอบรมฯ ก่อนเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ จะดีไม่ใช่น้อย...จะได้รู้ว่าตรงไหนจะท่วม หรือไม่ท่วม ?)

* หนึ่งในความสามารถของตัวโปรแกรม Global Mapper คือมีคำสั่งจำลองระดับน้ำ
>> ความสามารถที่ผู้เขียนมองว่าโปรแกรม Global Mapper 'เหนือ' กว่าโปรแกรมอื่นๆ นั่นคือการรองรับฟอร์แมตงาน ที่หลากหลาย (มากจริงๆ) ซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่าเป็นโปรแกรม 'ครอบจักรวาล' เลยทีเดียว ประมาณว่าถ้าได้ไฟล์นามสกุลแปลกๆมา ไม่รู้จะเปิดด้วยโปรแกรมอะไรดี ให้นึกถึง Global Mapper เอาไว้ก่อน และยังมีอีกหนึ่งความสามารถที่ 'เหนือชั้น' จริงๆ นั่นคือความสามารถในการแปลงฟอร์แมตไฟล์ (Convert) จากรูปแบบหนึ่งไปยีงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีฟอร์แมตให้เลือกเยอะมาก และถ้าเอ่ยชื่อ Global Mapper ผู้คนส่วนใหญ่ มักจะถึงเรื่องการแปลงไฟล์ (Convert) มากกว่าความสามารถด้านอื่นๆ...และนี่คือจุดเด่นของ Global Mapper ที่ทำให้ยังอยู่ยงคงกระพัน มาจนถึงปัจจุบัน...
>> และจากวันนั้น จนถึงวันนี้  กว่า 15 ปีที่ Global Mapper ยังคงได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในทุกเวอร์ชั่น และเมื่อไม่นานมานี้ เวอร์ชั่นล่าสุดที่ถูกปล่อยออกมาสู่ตลาดงานแผนที่ฯ คือเวอร์ชั่น 14 โดยหนึ่งในความสามารถที่ถูกเพิ่มเข้ามาใหม่ในเวอร์ชั่นนี้ คือการคำนวณปริมาตร จากพื้นผิว 2 Surface O_o โอ้ววว...แม่เจ้า

ตัวอย่างการสร้างเส้นคอนทัวร์

* ปัจจุบันมีเว็บไซต์ (ตัวแทนจำหน่าย) อย่างเป็นทางการในประเทศไทยแล้วครับ >> www.globalmapperthailand.com 

Thursday 20 December 2012

การหาความสูงของสิ่งปลูกสร้าง ด้วยหลักทฤษฎีตรีโกณมิติ (YouTube)


>> มีรุ่นน้องส่งลิ้งค์จาก youtube มาให้ดู...เยี่ยมครับ! (ชอบเป็นการส่วนตัว) และต้องขออนุญาติท่านผู้เป็นเจ้าของโพสต์ดังกล่าว ในการนำมาเผยแพร่หลักทฤษฎีตรีโกณมิติต่อท่านผู้สนใจ...และต้องขอขอบคุณน้องๆ สำหรับการสาธิตฯ มา ณ โอกาสนี้...

ความรู้ด้านงานสำรวจรังวัดฯ

Sunday 9 December 2012

กรณีศึกษาการใช้งานระบบพิกัด Lao PDR 1997 (สปป.ลาว)

>> นับจากต้นปี จนถึงช่วงปลายปีนี้ ผู้เขียนได้เก็บตกประเด็นคำถามหนึ่ง (จำนวนพอสมควร) จากทั้งนักสำรวจฯชาวไทย (ที่ทำงานสำรวจฯอยู่ใน สปป.ลาว) และนักสำรวจฯชาวลาว ที่ส่งอีเมลล์เข้ามาสอบถามผู้เขียนเกี่ยวกับ 'ปัญหา' การใช้งานระบบพิกัด Lao PDR 1997 อาทิ
? ArcGIS ไม่มีระบบพิกัด Lao PDR 1997 ในตัวโปรแกรม
? การแปลงค่าพิกัด ระหว่าง Lao PDR 1997 กับระบบพิกัดอื่นๆ
? ค่าตัวแปร x, y, z (Datum shift) ด้วยวิธีของโมโลนเดนสกี (Melondensky) สำหรับ ระบบพิกัด Lao PDR 1997
? การแปลงข้อมูลสำรวจที่มีอยู่เดิมในระบบ Lao PDR 1997 เป็น WGS84

จากประเด็นคำถามข้างต้น ผู้เขียนจึงขออนุญาติยกเอาเรื่องระบบพิกัด Lao PDR 1997 (สปป.ลาว) ขึ้นมาเขียนเผยแพร่เพื่อเป็นกรณีศึกษา และการประยุกต์ใช้งานค่าตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจถึงที่มา-ที่ไป เกี่ยวกับระบบพิกัด Lao PDR 1997 มากยิ่งขึ้น

ประวัติ ความเป็นมา;
ระบบพิกัด Lao 1997 เป็นระบบพิกัดหนึ่งในจำนวนหลายๆระบบที่ถูกใช้ (และเคยใช้) กันอยู่ในสายงานสำรวจรังวัดฯ และงานแผนที่ฯ ณ สปป.ลาว อาทิ
- Indian 1954
- Vientiane Datum 1982
- Lao Datum 1993
- Indian 1975
- Lao Datum 1997
- WGS84

>> ในช่วงปี ค.ศ. 1967-1968 ได้มีความร่วมมือระหว่างไทย และ สปป.ลาว ในโครงการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการสำรวจก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในแม่น้ำโขง และระบบพิกัดที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในงานสำรวจสภาพภูมิประเทศของแม่น้ำโขงในยุคนั้นคือ Indian 1954 (ยึดโยงไปจากฝั่งไทย) ซึ่งต่อมาได้มีการตรวจพบถึงความคลาดเคลื่อน (ขนาดใหญ่) ของแผนที่ฯ ที่ถูกสร้างขึ้น และถูกเลิกใช้งานไปในที่สุด

>> หมุดหลักฐานงานสำรวจรังวัดหมุดแรก (หมุดฝังอยู่ที่พื้นดิน) ของ สปป.ลาว นั้น ได้ถูกสำรวจรังวัดตำแหน่งทางภูมิศาตร์ ด้วยวิธีการสำรวจรังวัดทางดาราศาสตร์ (รังวัดอาซิมุทจาก กลุ่มดาว)  ซึ่งยึดโยงจากการสำรวจรังวัดทางดาราศาสตร์ ของสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) เพื่อกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ให้กับ (กำหนดชื่อเป็น) Vientiane Datum 1982 ที่บ้านหนองแตง แขวงกำแพงนครฯ และหลังจากนั้น งานสำรวจรังวัดฯ ต่างๆ ได้อ้างอิงค่าพิกัดที่หมุดหลักฐานฯดังกล่าว เป็นค่าเริ่มต้น ยึดโยงต่อเนื่องออกไป
* เท่าที่ทราบ ปัจจุบันหมุดหลักฐานฯ ดังกล่าวยังคงอยู่ แต่ไม่เหมาะสมในการติดตั้งอุปกรณ์สำรวจ อาทิ เครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียม GPS เพราะรอบๆหมุดฯ ถูกแวดล้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง...ต่อมาได้มีการสร้างหลักหมุดขึ้นมาใหม่ (Pillar, ยึดโยงค่าพิกัดมาจากหมุดฯที่พื้นดิน) โดยมีระยะห่างจากหมุดฯเดิม ประมาณ 15 เมตร ซึ่งจะกล่าวในลำดับถัดไป

>> ต่อมาในปี ค.ศ. 1993 ด้วยความร่วมมือของกรมแผนที่แห่งชาติ สปป.ลาว และประเทศเวียดนาม ได้ทำการสำรวจรังวัดหมุดหลักฐานฯ โดยมีหมุดหลักฐานฯศูนย์กำเนิดอยู่ที่เมืองปากซัน แขวงบลิคำไซ ด้วยการใช้เครื่องมือสำรวจรังวัดดาวเทียม GPS และให้กำหนดชื่อเรียกระบบพิกัดเป็น Lao Datum 1993
* ระบบพิกัดเป็น Lao Datum 1993 ใช้ค่าพิกัดที่ยึดโยงมาจากระบบพิกัด Vientiane Datum 1982

>> ในช่วงปีเดียวกัน ค.ศ. 1992-1993 ด้วยความร่วมมือระหว่างกรมแผนที่แห่งชาติฯ สปป.ลาว และกองทุนจากประเทศญี่ปุ่น (JICA) ได้จัดให้มีโครงการจัดทำแผนที่ด้วยการบินสำรวจถ่ายภาพทางอากาศทั่วประเทศ ซึ่งระบบพิกัดที่ถูกนำมาใช้ในโครงการฯนี้คือ ระบบพิกัด Indian 1975 
* แผนที่ชุดดังกล่าว ยังคงถูกใช้อยู่ 'ในปัจจุบัน'

>> The Lao National Datum 1997
ในช่วงปีเดียวกันนี้ โดยกรมแผนที่แห่งชาติฯ สปป.ลาว ได้จัดให้มีโครงการปรับปรุง และปรับแก้หมุดหลักฐานฯงานสำรวจรังวัดดาวเทียมทั่วประเทศ ให้เป็นระบบสากลอ้างอิงกับระบบพิกัด WGS84 โดยใช้วิธีการสำรวจรังวัดดาวเทียม GPS ทั้ง 25 สถานีใหม่ทั้งหมด และยังคงใช้หลัก Pillar จากระบบพิกัด Vientiane Datum 1982 เป็นศูนย์กำเนิด ซึ่งผลลัพธิ์ที่ได้จากโครงการฯดังกล่าว เป็นที่มาของระบบพิกัด Lao Datum 1997 และชุดค่าตัวแปร (Datum shift) สำหรับอ้างอิงสู่ระบบ WGS84
ค่าตัวแปรที่ถูกใช้ในระบบพิกัด Lao Datum 1997
- สเฟียรอยด์ โมเดล : Krassovsky 1940
- Semi Major Axis : 6378245.000
- Semi Minor Axis : 6356863.018
- Reciprocal Flattening (1/f) : 298.300
- Prime Meridian shift from Greenwich : 0.000
- All X, Y, Z, Rotation to WGS84 = 0.000
- Scale correction to WGS84 = 0.000

ชุดค่าตัวแปร (Datum shift) สำหรับแปลงพิกัดสู่ระบบ WGS84 (โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป)
X = 44.585
Y = -131.212
Z = -39.544

ชุดค่าตัวแปร (Datum shift) สำหรับแปลงพิกัดสู่ระบบ WGS84 (กรมแผนที่แห่งชาติ สปป.ลาว เวอร์ชั่นปรับปรุง ค.ศ. 2007)
X = 46.012
Y = -127.108
Z = -38.131

* ในทางกลับกัน เมื่อต้องการแปลงพิกัดจาก WGS84 ให้เป็นระบบพิกัด Lao Datum 1997 ให้ทำการ 'กลับเครื่องหมาย' ของชุดตัวแปรข้างต้น

>> ผู้เขียนได้รับอีเมลล์สอบถามจากนักสำรวจฯชาวลาว เกี่ยวกับข้อมูลสำรวจเก่าเก็บที่อยู่ในรูปค่าพิกัด Vientiane Datum 1982 ซึ่งต้องการที่จะแปลงค่าพิกัดให้อยู่ในรูปของค่าพิกัด Lao Datum 1997 ซึ่งผู้เขียนได้แนะนำให้ใช้ชุดค่าตัวแปร (Datum shift) ดังนี้ 

X = +2.227 (ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน = 0.79 ม.)
Y = -6.524 (ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน = 1.46 ม.)
Z = -2.178 (ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน = 0.79 ม.)

* ในทางกลับกัน เมื่อต้องการแปลงพิกัดจาก Lao Datum 1997 ให้เป็นระบบพิกัด Vientiane Datum 1982 ให้ทำการ 'กลับเครื่องหมาย' ของชุดตัวแปรข้างต้น


วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555
อะไรครับ 'Datum shift'?

*ขออนุญาติเจ้าของคำถาม เพื่อนำมาตอบในบทความไปในคราเดียวครับ (เผื่อว่าจะมีท่านอื่นๆ ที่สนใจ)
>> วิธีการคำนวณ หรือแปลงค่าพิกัดจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งนั้น มีอยู่หลายวิธีการด้วยกัน แต่วิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุด (การคำนวณไม่ซับซ้อน) คือการใช้สมการของ Melondensky ซึ่งต้องอาศัยตัวแปร 7 ตัวในการคำนวณหาค่า Datum shift (X, Y, Z) นั่นคือ

1. ผลต่างของแกน  X ของระบบพิกัดทั้งสอง
2. ผลต่างของแกน  Y ของระบบพิกัดทั้งสอง
3. ผลต่างของแกน  Z ของระบบพิกัดทั้งสอง
4. มุมของที่ถูกหมุนไป (ค่า Rotation) Rx 
5. มุมของที่ถูกหมุนไป (ค่า Rotation) Ry
6. มุมของที่ถูกหมุนไป (ค่า Rotation) Rz
7. ค่าสเกลแฟคเตอร์

จากสูตรฯ ตามภาพข้างต้น จะได้ค่า Datum shift ของระบบพิกัดทั้งสอง ซึ่งค่า X, Y, Z ดังกล่าว สามารถนำไปใช้ในโปรแกรมประยุกต์จากบริษัทชั้นนำ ได้หลายโปรแกรม อาทิ AutoCAD, MapInfo, ArcGIS, ...etc.


ตัวอย่างการใส่ค่า Datum shift (X, Y, Z) ใน The Geographic Calculator

ตัวอย่างการใส่ค่า Datum shift (X, Y, Z) ใน ArcGIS

ตัวอย่างการใส่ค่า Datum shift (X, Y, Z) ใน Global Mapper


วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
'ยืนยัน นั่งยัน นอนยัน'

>> 17.10 น. ในวันนี้ ที่อากาศเย็นๆตลอดทั้งวัน ผู้เขียนได้ย้ายตนเองจากสารขันธ์ประเทศ เปลี่ยนบรรยากาศ มานั่งอืดๆ อยู่ ณ แขวงกำแพงนคร สปป.ลาว มานั่งฟังประเด็นร้อนๆ เกี่ยวกับความผิดพลาดของการกำหนดระบบพิกัดให้กับงานสำรวจ ในงานสำรวจเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ทางตอนกลางของประเทศลาว

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ณ หมุดหลักฐาน (หมุดรังวัดฯ) ของไซต์งานเขื่อนที่มีปัญหา ได้ถูกสำรวจรังวัดจากทีม A ด้วยการรังวัดด้วยดาวเทียม...ในกาลต่อมา ไม่รู้ว่าด้วยเหตุผลกลใด หรือเกิดความไม่แน่ใจของผู้รับผิดชอบโครงการ อย่างไรไม่ทราบได้ จึงได้จัดให้มีการสำรวจรังวัดตรวจสอบจากทีม B ด้วยวิธีการเดียวกันคือ การรังวัดด้วยดาวเทียม (จะใช้ระบบ GPS/Galileo/Glonass/Compass..etc.) ใดๆ ไม่ว่ากัน
ประเด็นมันร้อน อยู่ตรงที่ว่า ผลการสำรวจ 'ณ ที่ตำแหน่งเดียวกัน' อ้างอิงระบบ WGS84-UTM Zone 48N...แต่ค่าพิกัดทางราบที่ได้จากทีมสำรวจฯ ทั้ง 2 ทีม มีค่าพิกัดต่างกัน 'เกือบร้อยเมตร'...งานเข้าแล้วงัย ต่างฝ่ายต่างยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า ข้อมูลของตนคือข้อมูล WGS84-UTM Zone 48N ที่ถูกต้อง ถึงกับต้องมีการไปทำการรังวัดซ้ำ ตั้ง GPS อ่านกันอีกรอบ และไปถึงขั้นต้องเอา Raw Data ขึ้นมาเปิดพิสูจน์กัน...งานนี้ต้องมีคน'เสียรังวัด' แน่นอน!

* ฟังมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนพูดแทรกไปว่า 'มีวิธีตรวจสอบง่ายๆ ว่าใครถูกใครผิด เพียงแค่ใช้ Handheld GPS หรือ จีพีเอสมือถือ ไปอ่านค่าพิกัดที่หมุดฯนั้นเลย เพราะยังงัยเสีย จีพีเอสมือถือทุกวันนี้ ก็คลาดเคลื่อนอย่างมาก อยู่ในรัศมี 10 ม. เท่านั้น ถ้าค่าที่ได้จากจีพีเอสมือถือมีค่าใกล้เคียง กับค่าพิกัดของทีมใดมากที่สุด ถือว่าทีมนั้นถูก (ถ้าค่าพิกัดของทั้ง 2 ทีมไม่เข้าใกล้ในระยะ 10 เมตร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า 'ผิดทั้งคู่')...และอาจจะเป็นไปได้ว่าทีมที่ผิด อาจจะมีสาเหตุมาจากการใช้ค่าพิกัดที่ผิดในการคำนวณ หรือได้ใช้ระบบพิกัดอื่นที่ไม่ใช่  WGS84-UTM Zone 48N ตั้งแต่แรกเริ่ม

บทสรุป...ข้อมูลค่าพิกัดของทีม B เป็นฝ่ายถูก...ส่วนข้อมูลค่าพิกัดของทีม A ผิด เพราะว่าดันไปใช้ค่าพิกัดที่อ้างอิงระบบ Vientiane Datum 1982 หรืออธิบายได้ว่า ที่จุดออกจุดเดียวกัน (GPS Based Station) ใช้ค่าพิกัดควบคุมตั้งต้นคนละระบบ...

ยัง...ยัง...ไม่จบแค่นั้น เมื่อได้ยินว่าทีม A ได้ขยายงานสำรวจของตนออกไปอีกมากมาย โดยออกงานด้วยค่าที่ผิดๆ ดังกล่าว...งานนี้คงต้องไล่คำนวณใหม่ และปรับแก้กันให้วุ่น...วาย (*_* " )


Thursday 8 November 2012

Civil 3D: การกำหนดค่าระดับให้กับ Section View

<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>

>> ได้รับอีเมลล์ จากท่านสมาชิกเว็บบอร์ด thaitopo เขียนเข้ามาถามถึงเรื่องวิธีการกำหนดค่าระดับให้กับ Section View โดยมีเนื้อหาต่อยอดจากบทความเดิม ที่ผู้เขียนได้เขียนตอบไว้ก่อนหน้านั้น ในชื่อกระทู้ 'สร้างเส้น Contour ขึ้นมาเองได้ไหม' อ่านเพิ่มเติม >> http://thaitopo.editboard.com/t735p25-topic

ผู้เขียนจึงขออนุญาติเขียนตอบอีเมล์ดังกล่าว และนำออกเผยแพร่ ดังการสาธิตในลำดับถัดไป

Hand On:
1. ทำการสร้างเส้น Sample Line (การกำหนดเส้นขอบเขต ของการคำนวณปริมาตร) 

2. ที่แท๊ป Analyze > Compute Materials > คลิกเลือก Surface ของ EG (หน้าดินเดิม) และ คลิกเลือก Surface ของ FG (Finished Grade) หรือ Datum เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ

3. ที่แท๊ป Home > Section Views > Create Multi Views (ในกรณีที่ต้องการแสดงผลโปรไฟล์ หน้าตัดถนนทั้งหมด)
* Surface 1 เลือก EG Surface
* Surface 2 เลือก FG Surface
ผลลัพธิ์

>> จากภาพข้างต้น สามารถทำการกำหนดการแสดงผลค่าระดับ หรือแสดงผลค่าอื่นๆ ของตัวโปรไฟล์ได้จากคำสั่ง Section View Properties > Bands

ผลลัพธิ์

* สามารถทำการกำหนดการแสดงผลของค่าระดับ หรือค่าอื่นๆ ให้กับตัวโปรไฟล์ เฉพาะตำแหน่งได้จากคำสั่ง ที่แท๊ป Annotate > Add Labels > Section View >
ผลลัพธิ์

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Wednesday 24 October 2012

AutoCAD: New Icon Command (การสร้างไอคอนคำสั่ง)


>> ย้อนกลับไปในยุคอดีต ในช่วงเวลาเปลี่ยนถ่ายจากการพิมพ์คำสั่งที่ Command line ใน AutoCAD 'R' series มาสู่ AutoCAD 2000 (เวอร์ชั่นถูกเรียกชื่อตามปี ค.ศ. นับแต่นั้นมา) ซึ่งมีไอคอนคำสั่งให้คลิกเลือกใช้งาน ได้อย่างสะดวกพอสมควร (แต่ไม่ทั้งหมด) และในยุคปี 2000 ดังกล่าวยังเป็นยุคทองของชนชาว AutoLisp ที่เขียนคำสั่งใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานโปรแกรม AutoCAD มากยิ่งขึ้น 

สร้างแจกกันไปทั่วทิศ ทั่วแดน (ผู้เขียนก็ได้รับอานิสงค์อยู่หลายเติบ อาทิ Lisp การแปลงหน่วยจากตารางเมตร เป็น ไร่-งาน-ตารางวา เพียงแค่คลิกออปเจ็คที่เป็นวงรูปแบบปิด)...ยุค AutoLisp เฟื่องฟูดังกล่าว ได้ก่อให้เกิด การสร้างไอคอนคำสั่งสำหรับ ไฟล์ Lisp นั้นๆ เพื่อใช้การคลิกที่ไอคอน แทนการพิมพ์คำสั่งที่ command line (+ปัญหาพิมพ์ถูก-พิมพ์ผิด)

Hand On:
1. พิมพ์คำสั่ง CUI ที่ command line จะแสดงหน้าต่าง Customize User Interface
<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>

2. คลิกที่รูปดาว (วงกลม) เพื่อสร้าง command ขึ้นมาใหม่ จะเห็นหน้าต่างทางด้านขวา แสดงคุณลักษณะของคำสั่งที่ต้องการจะสร้าง
    2.1 ใส่ชื่อคำสั่ง
    2.2 ที่ Macro ^c^c พิมพ์ _ และตามด้วยคำสั่งของโปรแกรม AutoCAD หรือคำสั่งของ Lisp ดูตัวอย่างการพิมพ์ตามภาพด้านล่าง (ต้องใช้เครื่องหมาย _ (Under score) เสมอในการสร้างคำสั่ง โดยจะอยู่หลัง ^c^c)
หมายเหตุ: การสาธิตนี้ใช้คำสั่ง overkill ซึ่งเป็นคำสั่งที่กำหนดให้ตัวโปรแกรมทำการลบตัวออปเจ็คที่ซ้อนทับกันอยู่ออกจาก drawing

    2.3 เลือกการแสดงผลของภาพ (ในการสาธิตนี้ เลือกทั้งสองแบบ)....สามารถเลือกเอาจากไอคอนที่โปรแกรมเตรียมไว้ให้ หรือนำไอคอนที่มีอยู่แล้วมาแก้ไขใหม่

3. คลิกที่คำสั่ง Edit จะปรากฎหน้าต่าง Button Editor ทำการออกแบบคำสั่งที่ต้องการ ...หรืออาจจะใช้วิธีการนำเข้าภาพอื่นๆ (ที่มีขนาดเล็กเป็นไฟล์ *.bmp) 
* Export ภาพเก็บเอาไว้ ตัวโปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง Customize User Interface > Apply > OK

4. คลิกขวาที่แท๊ปคำสั่ง เลือก Customize จะเห็นหน้าต่าง Customize User Interface > เลือกไปที่คำสั่งที่สร้างไว้จากขั่นตอนข้างต้น

5. ลาก (Drag) ไอคอนไปวางไว้ในแท๊ปคำสั่งที่ต้องการ
* ผู้เขียนเป็นผู้ที่ใช้งานโปรแกรม AutoCAD แบบพอไปวัดไปวา ไม่ชำนาญเท่าใดนัก...แต่บุคคลซึ่งผู้เขียนขอเรียกว่า เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในการใช้งานโปรแกรม AutoCAD ได้อย่างชำนาญนั้น คือผู้ที่สามารถเขียนคำสั่ง Autolisp 'เป็น' ครับ ผู้ซึ่งสามารถเขียนชุดคำสั่งเหล่านี้ได้...นับวัน เริ่มจะหายากครับ ผู้เขียนเองก็รู้จักเพียงไม่กี่คน...

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Monday 22 October 2012

วิธีการโพสต์ข้อความในบล๊อค

>> มีหลายท่านที่สอบถามเข้ามา เกี่ยวกับการโพสต์ข้อความในบทความต่างๆ ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ดังนั้นผู้เขียนจึงขออนุญาติเขียนอธิบายขั้นตอน ดังต่อไปนี้ครับ

วิธีการเขียนข้อความ/ข้อเสนอแนะ ฯลฯ
>> หลังจากพิมพ์ข้อความที่ต้องการแล้ว ให้เลือก Anonymous หรือลงชื่อด้วย Account อื่นๆ เช่น Gmail, WordPress แล้วคลิกที่ปุ่ม Publish (ตามภาพด้านล่าง) 
<<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>>

>> จะพบกับหน้าต่าง ให้พิมพ์รหัสตามภาพที่เห็น (ถ้าต้องการเปลี่ยนภาพ ให้คลิกที่รูป ลูกศรกึ่งวงกลมทางด้านขวาล่าง) เมื่อเสร็จแล้ว คลิก Publish จากนั้น ข้อความก็จะถูกโพสต์ขึ้น
** ระหว่างตัวหนังสือที่พิมพ์ลงไป กับตัวเลข ให้เคาะเว้นวรรค หนึ่งครั้ง


วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2555
'กลัวว่าจะเก่งกว่า'

>> สำหรับท่านนักสำรวจฯ และนักการแผนที่ฯชาวลาว ที่มีจำนวนผู้เข้ามาอ่านบทความต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และหลายท่านได้ส่งอีเมลล์เข้ามาสอบถามเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาในการใช้งานโปรแกรม ฯลฯ...ซึ่งผู้เขียนได้ตอบอีเมลล์คำถามทุกฉบับ ทุกข้อสงสัย/ปัญหา (สำหรับขั้นตอนสั้นๆ) ส่วนผู้ที่ต้องการศึกษาวิธีการในเรื่องที่ต้องใช้เวลามากในการอธิบาย อาธิ การใช้งานโปรแกรม Discover ของ MapInfo...ผู้เขียนต้องขออภัย เนื่องด้วยข้อจำกัดทางด้านเวลา แต่ทั้งนี้ผู้เขียนได้จด/ลิส หัวข้อดังกล่าวเก็บไว้แล้ว เผื่อว่าในอนาคตจะมีโอกาสเขียนอธิบายวิธีการ เผยแพร่ต่อไปครับ

ส่วนท่านที่ส่งอีเมลล์เข้ามาสอบถามถึงการพิมพ์ข้อความ หรือคำถามเป็นภาษาลาวได้หรือไม่นั้น...ผู้เขียนยินดีครับ และสามารถอ่านเข้าใจได้ (มีฟ้อนท์ภาษาลาว) และสามารถเขียนได้พอสมควร  ^_^ (ทำงานอยู่ที่ลาว มาหลายปี) ส่วนท่านที่พิมพ์เป็นภาษาไทย สะกดถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่ว่ากันครับ ตามสบาย (หรือจะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษก็ยินดี)

>> มี 2-3 ท่านที่ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ความรู้ทางด้านงานสำรวจฯ รวมถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ฯลฯ ไม่มีคนลาวท่านใดๆ ออกมาเขียนเผยแพร่ให้ความรู้ในลักษณะนี้ รวมถึงตำรา หรือคู่มือต่างๆ ก็ไม่มีท่านใดแต่งขึ้นมา ฉะนั้นการเข้าถึงความรู้ วิชา เหล่านี้ จึงมีข้อจำกัด...แม้แต่การสอนต่อๆ กัน หรือถ่ายทอดความรู้ให้กันนั้น ถ้าไม่ฮักแพง (รักกันมาก) กันจริงๆ ก็จะไม่สอนให้...ผู้ให้ข้อมูลพูดเป็นภาษาลาวว่า 'ย่านลื่นกัน' ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยประมาณว่า 'ถ้าข้าบอกเอ็ง สอนเอ็ง ว่าทำอย่างนี้ อย่างนั้น ต่อไปเอ็งรู้แล้ว ทำเป็นแล้ว เอ็งก็จะเก่งกว่าข้า'

>> ไม่เฉพาะแต่ในประเทศของท่านดอกครับ ที่มีความคิดเช่นนี้ (หวงวิชา) ในประเทศสารขันธ์ของผู้เขียนก็มีเหตุการณ์ในลักษณะนี้เช่นกัน...ไม่ว่ากันครับ เป็นสิทธิของเขา ที่จะไม่บอก ไม่สอน ไม่ถ่ายทอดความรู้ให้ (กลัวว่าถ้ารู้แล้ว เดี๋ยวจะเก่งกว่า)

แต่อย่างน้อยที่สุดในเว็บบล๊อคแห่งนี้ ผู้เขียนไม่เคยมีความคิดเช่นนั้น และยินดีที่จะเผยแพร่ความรู้ และประสบการณ์สู่ท่านผู้สนใจศึกษา และมีใจรักในศาสตร์ทางด้านนี้ครับ

"ยินดีและเป็นเกียรติครับที่ท่านเข้ามาเยี่ยมชม ศึกษาหาความรู้ในเว็บบล๊อคเล็กๆแห่งนี้"
"และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหา ความรู้ต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย"

ขอบคุณครับ
Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Tuesday 16 October 2012

AutoCAD: Layer State

ขออธิบายคำสั่ง โดยขอยกตัวอย่างดังนี้ครับ
>> ผู้เขียนมีงาน drawing [A] ซึ่งประกอบด้วยเลเยอร์จำนวนมาก และแต่ละเลเยอร์ ยังถูกกำหนด ชนิดของลายเส้น, สเกล, สี, และอื่นๆ แยกปลีกย่อยซับซ้อนลงไปอีก...และถ้าผู้เขียน ต้องการสร้าง drawing [B] ขึ้นมาใหม่ โดยยังคงรูปแบบ และข้อกำหนด ต่างๆ ของเลเยอร์ให้เหมือนกับ drawing [A] ทุกประการ...ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้เขียนต้องเสียเวลามานั่งปรับ นั่งแก้ไปทีละเลเยอร์ หรือไม่ก็ 'ลักไก่' โดยการ ก๊อปปี้ตัว drawing ต้นฉบับ แล้วเอามาลบออปเจ็คออกให้หมด แล้วเซฟเป็น drawing ใหม่ที่ต้องการ...และนั่นคือเวลาที่เคยเสียไปแล้ว (เลเยอร์ยิ่งมาก เวลาที่ใช้ก็มากตามไปด้วย)

ยุคนี้คำสั่ง Layer State จึงเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกเพื่อการนี้ครับ 
<<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>>
จากภาพข้างต้น คือเลเยอร์ ที่ผู้เขียนได้ตั้งค่าลายเส้น ชื่อ/Code สเกล สี ฯลฯ และต้องการที่จะนำค่าเซ็ตติ้ง+จำนวนของเลเยอร์เหล่านี้ไปใช้ใน drawing ที่จะสร้างขึ้นใหม่ อีกทั้งต้องการจะส่งค่าเซ็ตติ้งของเลเยอร์เดียวกันนี้ไปให้ทีมงานใช้ ในต่างจังหวัด O_o

Hand On:
1. ที่ Layer Stage Manager >> เลือก New และตั้งชื่อ+รายละเอียด (หรือปล่อยว่าง)

2. คลิกที่ Edit จะพบหน้าต่าง Edit Layer State ตามภาพด้านล่าง ซึ่งจะแสดง layer ทั้งหมด ทีมีอยู่ใน drawing 'ต้นฉบับ' และในขั้นตอนนี้ สามารถที่จะ นำเข้า/ลบ เลเยอร์ที่ไม่ต้องการ ได้ที่คำสั่ง ที่มุมซ้ายล่าง

3. คลิกที่คำสั่ง Export แล้วเซฟเป็นไฟล์ *.las เก็บเอาไว้

4. ที่ drawing ใหม่ >> ที่ Layer Stage Manager >> เลือก Import >> เลือกไฟล์ *.las ที่เซฟเอาไว้จากข้อที่ 3
* อย่าลืมส่งอีเมลล์ไฟล์ *.las ไปให้ทีมงาน ที่ต่างจังหวัด :)