Saturday 6 July 2013

AutoCAD: การปรับ Scale ที่ Layout ให้เข้ากับขนาดกระดาษที่ต้องการพล๊อต + Viewport (ม้วนเดียวจบ)

>> การใช้งานโปรแกรม AutoCAD กับการพล๊อต Scale ให้เข้ากับขนาดกระดาษที่ต้องการ คือเรื่องที่ถูกสอบถามเข้ามาทางอีเมล์อยู่เนืองๆ ต่างกรรม ต่างวาระ กันไป และเมื่อไม่นานมานี้ มีท่านสมาชิกในเว็บบอร์ดได้สอบถามเข้ามาในประเด็นเดียวกันนี้อีกครั้ง ซึ่งทำให้ผู้เขียนฉุกคิดขึ้นมาว่า ควรที่จะเขียนอธิบายเรื่องดังกล่าว 'แบบจัดเต็ม' ให้หายสงสัยกันสักครั้ง สำหรับท่านที่ต้องเกี่ยวดองหนองยุ่งอยู่กับเครื่องพล๊อตเตอร์ตัวใหญ่ๆ กระดาษ A0, A1, A2 ฯลฯ วางกองเป็นม้วนๆ พะเนินเทินทึก  -_- " 
ถ้าเข้าใจหลักการแล้ว ไม่ยากครับ ชิวๆ
ตัวอย่าง Layout ขนาดกระดาษ A0 แสดงการ Zoom แบบ Full Extent ไม่มีการอ้างอิงมาตราส่วน

การกำหนดให้ตัวแบบร่างฯแสดงมาตราส่วน ให้สัมพันธ์กับขนาดกระดาษต้องอาศัยการกำหนด (เลือก) ขนาดกระดาษได้จาก 2 วิธี (2 ยุค สมัย) คือ

ยุคอดีต (AutoCAD เวอร์ชั่น 2000 ถึง เวอร์ชั่น 2005):

Hand On:
1. การเลือก Layout (ขนาดกระดาษ) จาก Template ที่ตัวโปรแกรมฯ เตรียมไว้ให้
>> คลิกขวาที่ Layout เลือก From Template > คลิกเลือกแบบพล๊อต (ขนาดกระดาษ) ที่โปรแกรมฯเตรียมไว้ให้แล้ว หรือแบบพล๊อต (เฉพาะ) ที่สร้างขึ้นเอง (*.dwt)
ตัวอย่าง Layout ขนาดกระดาษ ISO A1 แสดงการ Zoom แบบ Full Extent ไม่มีการอ้างอิงมาตราส่วน

2. การเลือก Layout (ขนาดกระดาษ) จาก Page Setup Manager (สามารถใช้ Layout ที่มีอยู่เดิม หรือสร้างขึ้นใหม่ โดยการคลิกขวาที่ Layout เลือก New Layout) > เลือก Modify
* ในส่วนของช่องมาตราส่วน 'อย่าไปแตะต้อง'

ตัวอย่าง Layout ขนาดกระดาษ A3 (ค่าเดิมคือขนาดกระดาษ A4 ซึ่งเล็กกว่า)
(ทำการขยายพื้นที่พล๊อต ให้เต็มหน้ากระดาษ A3 โดยการคลิก ลากขยายขนาด)
ตัวอย่าง Layout ขนาดกระดาษ A3 แบบ ไม่มีการอ้างอิงมาตราส่วน

การอ้างอิงมาตราส่วน ที่ต้องการ
แบบร่างแผนที่ หรือแบบงาน CAD ที่ต้องการนำเสนอผลงานผ่านการพล๊อตลงกระดาษ ขนาด A4,A3,A2,A1 และ A0 โดยให้มีความสัมพันธ์ ระหว่างระยะทางในแผนที่ (ที่วัดได้) กับระยะทางจริง และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ดังกล่าวเราเรียกว่า 'มาตราส่วน' (Scale)

ผู้เขียน คือชนชาวช่างรังวัดยุคโบราณ ซึ่งยังยึดติดอยู่กับชุดคำสั่งเก่าๆ (คนก็เก่า T_T) โดยเฉพาะการพิมพ์คำสั่งจาก Command Line ฉะนั้น การอ้างอิงมาตราส่วน ให้กับแบบร่าง (AutoCAD เวอร์ชั่นเก่าๆ) ผู้เขียนจะสาธิตวิธีการปรับสเกลพล๊อต ด้วยการพิมพ์คำสั่ง
1000/nxp ที่ Command Line


ตัวอย่าง Layout ขนาดกระดาษ ISO A1

คลิกที่ขอบ (พื้นที่พล๊อตแบบร่าง) และ 'คลิก' ที่ใดๆ ในพื้นที่พล๊อตแบบร่าง

* จะเห็นขอบ (พื้นที่พล๊อตแบบร่าง) 'หนา' ขึ้น และจะสามารถลากตัวเคอร์เซอร์ ได้เฉพาะในกรอบหนา เท่านั้น

- ที่ Command Line พิมพ์ Zoom (หรือ z) กด Enter
- พิมพ์ Scale (หรือ s) กด Enter
- พิมพ์ 1000/มาตราส่วนที่ต้องการxp กด Enter
ตัวอย่างการแสดงผล 1000/2000xp
 (ใช้คำสั่ง Pan เพื่อขยับ/เลื่อนไปหาพื้นที่ๆ ต้องการพล๊อตด้วยมาตราส่วน 1: 2000)

ตัวอย่างการแสดงผล 1000/10000xp (1:10,000) ที่ขนาดกระดาษ A3 (ไม่มี Template/ข้อมูลแบบร่าง)


ยุคปัจจุบัน (AutoCAD เวอร์ชั่น 2006 ถึงปัจจุบัน):
>> ชุดคำสั่ง Viewport (พิมพ์ Viewports ที่ Command Line หรือเลือกจาก Toolbar) เป็นชุดคำสั่งที่ผู้เขียน (ส่วนตัว) ชอบมากเวลาที่ต้องพล๊อตนำเสนอผลงานแบบหลายหน้าต่าง และยังสามารถแสดงผลในแบบ 3D ได้นะเออ 

Hand On:
1. เปิดแท๊ป Layout ใดๆ (ตัวอย่างด้านล่าง คลิกขวาที่แท๊ป Layout เลือก New Layout)
2. ทำการปรับ (เลือก) ขนาดกระดาษที่ต้องการ โดยการคลิกขวาที่แท๊ป Layout ดังกล่าว เลือก Page Setup Manager > Modify 
* ในส่วนของช่องมาตราส่วน 'อย่าไปแตะต้อง'

ทำการปรับขนาด port ให้พอดีกับขนาดกระดาษ
คลิกเลือกที่ตำแหน่งใดๆ ใน port (*จะเห็นกรอบของ port หนาขึ้น)

Zoom In/Out หรือ Pan ให้ตัวแบบร่าง เลื่อนออกไปจากตำแน่งจากกรอบของ port (ว่าง)

3. พิมพ์ Viewports ที่ Command Line หรือเลือกจาก Toolbar
* สามารถทำการเลือกจำนวนหน้าต่าง หรือปรับเปลี่ยนการแสดงผล โดยการคลิกเลือกที่ port ที่ต้องการ
 เลือก Fit กด Enter

4. จากขั้นตอนนี้ จะได้กรอบ Viewport ทั้ง 3 หน้าต่าง > คลิก ในกรอบ port ที่ต้องการ จะเห็นขอบของกรอบหนาขึ้น > ทำการปรับการแสดงผลของแบบร่างอ้างอิงมาตราส่วน โดยการพิมพ์คำสั่ง 1000/มาตาราส่วนxp 'หรือ' เลือกการแสดงผลของแบบร่าง ตามมาตราส่วน ที่ตัวโปรแกรมฯจัดเตรียมไว้ให้แล้ว โดยการคลิกเลือกที่ Viewport Scale ที่ แท๊ปบาร์มุมขวาล่าง
* สามารถทำการ 'เพิ่ม' ขนาดมาตราส่วนที่ต้องการได้ที่ Custom

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

10 comments:

  1. ขอบคุณมากครับ อธิบายได้เข้าใจง่าย แถมมีรูปประกอบ

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณครับ...และรู้สึกยินดี ที่บทความข้างต้น ได้ยังประโยชน์ต่อท่าน

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอเบอร์ติดต่อครับ

      Delete
    2. ติดต่อหลังไมค์ทางเมล์ครับผม geospatialjs@gmail.com

      Delete
  3. ขอบคุณครับละเอียดเข้าใจง่ายครับ

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะครับ

    ReplyDelete
  5. thank you หลายเดี้

    ReplyDelete
  6. Luis
    Muy Buen aporte amigo

    ReplyDelete
  7. เข้าใจง่ายมากค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    ReplyDelete
  8. ขอบคุณครับ

    ReplyDelete