>> ข้อจำกัดของตัวโปรแกรม AutoCAD Civil 3D เมื่อต้องนำ surface ที่ได้จากโปรแกรม Google Earth มาใช้ในการออกแบบ อาทิ งานถนน ซึ่งเส้นแนว alignment มีความยาวมากกว่า ตัวภาพ+surface และเมื่ิอทำการ zoom out เพื่อให้เห็นพื้นที่กว้างขึ้น จะทำให้คุณภาพของพื้นผิว หรือเส้นคอนทัวร์ มีความคลาดเคลื่อนมากยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่องานออกแบบ หรืองานคำนวณค่าต่างๆ ฯลฯ
เพื่อที่จะให้ค่าระดับพื้นผิวมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด (อ้างอิงค่าระดับ จากโปรแกรม Google Earth) จะต้องทำการ zoom in ให้ได้ภาพจาก Google Earth ชัดที่สุด และนั่นหมายความว่า พื้นผิว surface ของภาพ ก็จะมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย...การนำ surface หลายๆ ไฟล์ มา copy & paste หรือ อาจจะทำการ 'ตัดต่อ' เส้นคอนทัวร์ทีละเส้น ก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่จะใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลายๆ surface นำมาเรียงต่อๆ กัน...สำหรับโปรแกรม Civil 3D มีคำสั่งที่สามารถรวม surface เป็นชิ้นเดียวกันได้ ดูตามตัวอย่างด้านล่างครับ
ภาพตัวอย่าง การนำทั้ง 3 surface มาวางต่อกันซึ่งได้จากการ import surface+image จาก โปรแกรม Google Earth ซึ่งที่แท๊ป Prospector > Surfaces จะเห็นรายชื่อ และจำนวน surface ที่นำเข้ามา
จากภาพด้านล่าง จะเห็นขอบของ surface มีการซ้อนทับกันอยู่
>> ที่แท๊ป Prospector > Surfaces > (ขยาย) + surface ที่ต้องการจะใช้เป็น surface หลัก > Definition > คลิกขวาที่ Edit เลือก Paste Surface จะพบหน้าแสดงรายชื่อ surface ทั้งหมดที่อยู่ในตัว drawing คลิกเลือกที่ surface ที่ต้องการจะรวม (ทำทีละ surface)
ผลลัพธิ์ที่ได้
* ตรวจสอบโดยการคลิกที่ surface จะพบว่าถูกรวมเข้าเป็น surface เดียวกันแล้ว
วันพุทธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'Surface จาก Google Earth'
>> ผู้เขียนได้สังเกตุเห็นยอดผู้เข้าชมบทความนี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จึงอยากที่จะขออนุญาติเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับการนำ Surface ที่ได้จาก Google Earth ไปใช้ในงานต่างๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมจากบทความ >> Mapping Satellite (ดาวเทียมสำรวจแผนที่ฯ)
>> ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระบบที่ใช้ในการผลิตแผนที่ และการนำแผนที่ไปใช้ให้ถูกกับงาน และวัตุประสงค์...จากประสบการณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบและคำนวณปริมาณงานทางวิศวกรรมต่างๆ...ขอยกตัวอย่าง งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งวิศกรผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้สังซื้อภาพถ่าย+DEM จากผู้ให้บริการแผนที่ฯชื่อดัง เมื่อได้ภาพถ่ายฯ (Registered แล้ว) ก็ลุยถั่วสร้างแผนที่เส้นชั้นระดับความสูง ออกแบบ คำนวณกันวุ่นวาย และสั่งให้ บ.ผู้รับเหมาไปขุดดิน/ถมดิน ตามแบบกันให้วุ่น...ขุดกันไป ขุดกันมา ปรากฎว่าคิวของรถบรรทุกดิน มาจนถึงเกือบจะคิวสุดท้ายแล้ว จากที่ได้ประเมินปริมาณงานดินทั้งหมดเอาไว้จากแบบ แต่ดินยังหมดไปไม่ถึงครึ่ง...งานเข้าแล้วพี่น้อง...
สุดท้ายต้องได้ 'รื้อ' งานกันใหม่ทั้งหมด โดยการส่งทีมสำรวจฯ ไปเก็บโทโปฯ และนำข้อมูลมาออกแบบกันใหม่ และผลจากการเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างการสำรวจฯ แบบกราวด์เซอร์เวย์ และข้อมูลสำรวจฯ ที่ได้จากดาวเทียม มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางแกนราบ 2-3 เมตร และ 5-10 เมตร (10-20 เมตร ในเขตป่าทึบ) ในทางแกนดิ่ง
มีเจตนาที่ดีครับ ในเรื่องของการประหยัดงบประมาณ ซึ่งการจ้าง บ.สำรวจฯ จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ๆขนาดใหญ่ จึงตัดสินใจเลือกภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า...แต่สุดท้าย กลับต้อง 'ได้จ่ายมากกว่า' ทั้งเวลา และสารพัดสิ่งที่ได้ลงเงิน ลงแรงไปแล้ว
* มีการบอกต่อๆกันไปเหมือนไฟลามทุ่งในกลุ่ม บ.รับเหมาฯ ทั้งหลาย ถึงความสามารถของตัวโปรแกรม Civil 3D ในการดึง/ Import surface หรือสภาพภูมิประเทศ และเส้นชั้นระดับความสูง ออกมาจากโปรแกรม Google Earth ได้โดยตรง (พูดกันไปถึงว่าตัวโปรแกรมสามารถสร้างเส้นคอนทัวร์ที่ความละเอียด 0.100 ก็ทำได้) เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหรือคำนวณปริมาณงานต่างๆ ทำให้ลดรายจ่าย และไม่ต้องไปทำการสำรวจกราวด์เซอร์เวย์ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ (*_* " )
>> Surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้นมีเกณฑ์ความถูกต้อง 'ต่ำ' (หยาบ) กว่าการใช้แผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียมฯ ฉะนั้นจึง 'ไม่เหมาะสม' ในการนำมาใช้สำหรับงานออกแบบ Infrastructure และงานคำนวณปริมาณต่างๆ...surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้น มีไว้สำหรับการวิเคราะห์ หรือประเมินปริมาณงานต่างๆเบื้องต้น หรือแบบคร่าวๆ เท่านั้นครับ
No comments:
Post a Comment