![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEirVHC9covUu43RTV98BSgblthNSOcAmYRItTpvsDAQq0TIXybYRp2A3HXje2-J6m8PpHJOmDWTPiktjn1HgESE044IPig9BPEorEnOMIrE9_UmIzCXATFkoVHvlAN0AhX3V7oNinEuYzE/s400/NovaSAR-in-flight_resize_resize.jpg)
>> ณ ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสำรวจแผนที่ด้วยดาวเทียม ได้ถูกพัฒนาไปถึงความละเอียดของภาพฯ (Pixel) ที่ระดับต่ำกว่า 1 ม. และมีแนวโน้มที่จะมีความละเอียดมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งในแบบ 2D (Plane maping) และ 3D (มีข้อมูลดาวเทียม สำหรับการประมวลผลจุดระดับ DEM และการสร้างแผนที่ภูมิประเทศ) อีกทั้งยังได้ถูกพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพจากระบบการใช้แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ Active/Passive เพื่อการบันทึกภาพ มาเป็นการใช้ระบบเรดาร์ (SAR) ในการกวาดสแกนพื้นที่ ซึ่งให้ความละเอียดของภาพ และความถูกต้องเชิงตำแหน่ง ที่มีความความละเอียดและความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างภาพถ่ายดาวเทียม ในระบบ Panchoromatic (ภาพถ่ายขาว-ดำ)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjMeMhmiD4GMGDBOXYk2JoSX8vE1i15HHKEdA_Xq0JtoHBCLflpb4MighgyFTUQGRqQv3m2YoZK4RTME8kfOKEZpKBFQaXdoBLvIewWOJdVnAz5VnE6LQjqTITyZm0MpWz8MMhimWzG4I4/s400/BW.jpg)
* การสร้างแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม ในระบบโฟโตแกรมเมททรี นิยมใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ Panchoromatic ซึ่งจะให้ความละเอียดของภาพ ทางด้านความคมชัด แสง-เงา ความสูง-ต่ำของพื้นที่ เมื่อนำภาพ 2 ภาพมาซ้อนทับกันในกระบวนการ Sterioscope เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และสร้างจุดระดับ (DEM Spot) เพื่อใช้ในการสร้างแผนที่เส้นชั้นความสูงต่อไป
ตัวอย่างภาพถ่ายดาวเทียม ในระบบ Multispectral (ภาพถ่ายสี)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj8QEt-chK6qRbwasrSBvIDVeQSe1SfVszqad0XNoDKZsE973Xo32bip5KwXSIHRnVHcfHMJW3mySVJy5P3xqIF32MUqAAe3xjpDJ5ElWh3ns7ebg2bGNEbgG3tev__a3GwpTJyUw2cpT4/s400/COLOR.jpg)
* การจำแนกประเภทของพืชคลุมดิน หรือสีของพื้นผิวดิน (Classification) นิยมใช้ภาพถ่ายดาวเทียม ในระบบ Multispectral ซึ่งสามารถที่จะแสดงเฉดสีของพืชคลุมดินชนิดต่างๆ หรือเพื่อการติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน และติดตามการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร แหล่งน้ำ ป่าไม้ ภัยพิบัติ ฯลฯ
ดาวเทียมสำรวจฯ
>> ถ้าไม่นับรวมดาวเทียมสำรวจฯ ทางด้านการทหารทั้งลับ และไม่ลับ ของเหล่าประเทศมหาอำนาจทั้งหลายแล้ว ดาวเทียมสำรวจแผนที่ หรือทรัพยากรฯ ก็เป็นอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดอายุแล้วและยังคงล่องลอยอยู่ในวงโคจร หรือที่ยังทำงานอยู่ และที่ยังกำลังจะถูกส่งขึ้นไปเพิ่มอีก ในจำนวนนี้มีจำนวนไม่น้อยที่ ให้บริการงานสำรวจฯ ทางด้านการพานิชย์ อาทิ (เรียงลำดับตามความละเอียดของภาพที่ถ่ายได้)
GeoEye
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh9B8iHVBJ3hBWxOaSVD2ZW0xF2KGqjz74JtqdHukfedz34fztUsGQJ2tZloGWQlRgi3AOFEaaIc92HiDMPzBggEF3krPMgWyCsayRiyE4DeUboBRmWb_r_Sf-VrHh2g2GxrUBUpuQILDY/s400/LMC_GeoEye-2_resize.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic/Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 0.41 เมตร (Panchoromatic) และ 1.65 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 15 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 1-3 วัน
WorldView
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiSXi3vx2kKXexM7ug4sJoHSZQU-Da0Zmk0gX21eAOqMoqf_QL_NGGlE0w29zBVRDVBfgDBoGrAQEpwghTBDSiYk3Ci2seIcLtzZLXY3itdWHbwUCYPaCxCi6a4c_gLyTMQ1G5jjwcXbU0/s400/worldview-1_resize.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 0.5 เมตร
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 17.6 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 2-5 วัน
QuickBird
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhSXfVTMZc4SpVFlMti0wTbvcwP9rGIr13poTjtlVwUtC8GEf5HAtep3B92-tYN3WDmXIC7O3kzSOnOn9OKOIK2uF75iQU19fc3eg-HSoPaGD36nLwWWUXYRwypH6QNJ4PJ9fFo-C6DiNs/s400/qb.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic/Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 0.61 เมตร (Panchoromatic) และ 2.44 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 16.5 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 1-3 วัน
Ikonos
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhxNI2ielBA0rAISe1ASdFDP077IKFDqGZHAAqcFGxHeVWxOEscpwsT-RG6_yAmxOMB3K7-uAntHCBVrX6nJFmUwBnhmrixzgw_ORKtx4tFhbi4EU3hPUotm-lwVp7M8R6NIL3d9QC1Z-A/s400/ikonos_1.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic/Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 1 เมตร (Panchoromatic) และ 4 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 11 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 1-3 วัน
EROS-A
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi-7rNtXbBmxlk9QH0EOyGhyphenhyphenK4p8d8L1sTMTR0nOvceGrHqkorgDEMIKWhYbQdcuTDseli4DiWGuHdY7_T0U_J1wOO_muWtGtkao_uD-BYPW4Y0BQK1XIyOb0KT09YKawPCNfIcJNNFX0E/s400/EROS-A_resize.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 1.9 เมตร
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 14 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 3-4 วัน
THEOS (ไทยโชติ)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhGUVgn4QihUV6IougS-RrKx0Xmh4zasZG6psIay-PF7FhlUGmneLj_fbKnHB-xOnOW5Z57xxerlMYTkuoBVH_phyphenhyphenA8q0jIfLrP_-RyxEzLgYLiftGFhP3I6KJNEQ0PPzfwD76NKD9C8Mk/s400/galleryIMG20120301090345_8206.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic/Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 2 เมตร (Panchoromatic) และ 15 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 22 กิโลเมตร (Panchoromatic) และ 90 กิโลเมตร (Multispectral)
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 26 วัน
SPOT-5
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhC2iFJIvVDfakfUSL8j5oU6_11pbNaVQHhwagYYwe-J19OYBhucWR9OWmrmz8nErX40VAhn8NAdKiaUfwOEeSRIsnL_ghJybht7AIO-c0-xpTTx_NR6JDWaIifO76gWf_A0TweDmUCvSE/s400/satellite_spot5.jpeg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Panchoromatic/Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 2.5 เมตร (Panchoromatic) และ 10 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 60 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 2-3 วัน
ALOS
ประเภทการบันทึกข้อมูล: PRISM, AVNIR-2, PALSA Fine Mode, PALSA ScanSAR Mode
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล:
2.5 เมตร (PRISM)
10 เมตร (AVNIR-2)
10 เมตร (PALSA Fine Mode)
100 เมตร (PALSA ScanSAR Mode)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 70 กิโลเมตร (PRISM, AVNIR-2, PALSA Fine Mode)
250-350 กิโลเมตร (PALSA ScanSAR Mode)
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 46 วัน
RADARSAT-2
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgZDjPyiOLf2A2tcVj2RXyAHfGk9g36B3BrD3Erwr7sNrC46tpBUQDrvF6OiZwezQbJKtZh1j6f1eQpFdT-ecvht6lz3IuVWlZ3l2evjQZHuXPJeyxrZxpbnhzaP1gqsf_ExT_IoqiQUyY/s400/radarsat2.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: SAR
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล:
3 - 100 เมตร (SAR Mode)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 20-500 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 24 วัน
RapidEye
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhEZ8vdatD4bAzhjqroVQCTW6XtSZmu6QYMvZQSYfrjE9Nvmf1cLSei3pDcRzi6xdcneA_3xFp_kcXyEPomqWzwJ8J0aqmKPiG9cJGUh2X_kXEmE9Eu-ev5DpPguTKEDM7sH4ZVQ-bYQWQ/s400/RapidEye.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Multispectral
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 5 เมตร (Multispectral)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 77 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 1 วัน
AQUA (MODIS)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgRuaJezBBaFFgbmaSbqh_1Z9TvRtY_afI8z9F-C21XhkaurbCLUFAsQOaBum7XimoUCasLppQ0G5hqj9O5mh99TIok8prgAOxRyFnPXQvH72dRmFYThyphenhyphenpr0fKBaOw1IFBov-bB7aYsCHs/s400/aqua_sat.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: VNIR, SWIR, TIR
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล:
15 เมตร (VNIR)
30 เมตร (SWIR)
90 เมตร (TIR)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 60 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 16 วัน
TERRA
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj81VGcQfX3cX_0B5LZLDiPyYAYX_Vjae4pBja41zSoH-x-TtfnM2eRXCt5L8PFa78IUWqemgiK6f0qKOya-fW2qlwf9vC5WZ0WSJd5p2zmQSNNqsgZfNoBYA_Ov5fX-8Al4TZyMVA6yoA/s400/terra.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: VNIR, SWIR, TIR
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล:
15 เมตร (VNIR)
30 เมตร (SWIR)
90 เมตร (TIR)
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 60 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 16 วัน
LANDSAT-5
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdZF0edvrAqfG_xns2s4d789MTTSpziPfF4Ugvu6VJN6clTjbaJnI3nkZV80ku6m7cB_rrxYqxp1MqO3ejQ3z9efqCMiu1OCaye6jFWpEk0GhJG5glkOYlcvQUuXbX1xHISRV7NwHJaEM/s400/landsat5.jpg)
ประเภทการบันทึกข้อมูล: Thematic Mapper
ความละเอียดของภาพต่อ พิกเซล: 30 เมตร และ 120 เมตร
ความกว้างแนวถ่ายภาพ: 185 กิโลเมตร
โคจรกลับมายังตำแหน่งเดิม: 16 วัน
...และอีกจำนวนนับร้อย นับพันในอวกาศ (บ้างถูกเรียวกว่า 'ขยะอวกาศ')
* โหลดไฟล์ Satellite.kmz ได้ที่ http://www.mediafire.com/?tg6d7z4t2uj1dh2
'เพิ่มเติม'
>> ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับระบบที่ใช้ในการผลิตแผนที่ และการนำแผนที่ไปใช้ให้ถูกกับงาน และวัตุประสงค์...จากประสบการณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบและคำนวณปริมาณงานทางวิศวกรรมต่างๆ...ขอยกตัวอย่าง งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งวิศกรผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้สังซื้อภาพถ่าย+DEM จากผู้ให้บริการแผนที่ฯชื่อดัง เมื่อได้ภาพถ่ายฯ (Registered แล้ว) ก็ลุยถั่วสร้างแผนที่เส้นชั้นระดับความสูง ออกแบบ คำนวณกันวุ่นวาย และสั่งให้ บ.ผู้รับเหมาไปขุดดิน/ถมดิน ตามแบบกันให้วุ่น...ขุดกันไป ขุดกันมา ปรากฎว่าคิวของรถบรรทุกดิน มาจนถึงเกือบจะคิวสุดท้ายแล้ว จากที่ได้ประเมินปริมาณงานดินทั้งหมดเอาไว้จากแบบ แต่ดินยังหมดไปไม่ถึงครึ่ง...งานเข้าแล้วพี่น้อง...
สุดท้ายต้องได้ 'รื้อ' งานกันใหม่ทั้งหมด โดยการส่งทีมสำรวจฯ ไปเก็บโทโปฯ และนำข้อมูลมาออกแบบกันใหม่ และผลจากการเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างการสำรวจฯ แบบกราวด์เซอร์เวย์ และข้อมูลสำรวจฯ ที่ได้จากดาวเทียม มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยทางแกนราบ 2-3 เมตร และ 5-10 เมตร (10-20 เมตร ในเขตป่าทึบ) ในทางแกนดิ่ง
มีเจตนาที่ดีครับ ในเรื่องของการประหยัดงบประมาณ ซึ่งการจ้าง บ.สำรวจฯ จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ๆขนาดใหญ่ จึงตัดสินใจเลือกภาพถ่ายดาวเทียมซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า...แต่สุดท้าย กลับต้อง 'ได้จ่ายมากกว่า' ทั้งเวลา และสารพัดสิ่งที่ได้ลงเงิน ลงแรงไปแล้ว
** มีการบอกต่อๆกันไปเหมือนไฟลามทุ่งในกลุ่ม บ.รับเหมาฯ ทั้งหลาย ถึงความสามารถของตัวโปรแกรม Civil 3D ในการดึง/ Import surface หรือสภาพภูมิประเทศ และเส้นชั้นระดับความสูง ออกมาจากโปรแกรม Google Earth ได้โดยตรง (พูดกันไปถึงว่าตัวโปรแกรมสามารถสร้างเส้นคอนทัวร์ที่ความละเอียด 0.100 ก็ทำได้) เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหรือคำนวณปริมาณงานต่างๆ ทำให้ลดรายจ่าย และไม่ต้องไปทำการสำรวจกราวด์เซอร์เวย์ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณ (*_* " )
>> Surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้นมีเกณฑ์ความถูกต้อง 'ต่ำ' (หยาบ) กว่าการใช้แผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียมฯ ฉะนั้นจึง 'ไม่เหมาะสม' ในการนำมาใช้สำหรับงานออกแบบ Infrastructure และงานคำนวณปริมาณต่างๆ...surface หรือเส้นชั้นระดับความสูงที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นั้น มีไว้สำหรับการวิเคราะห์ หรือประเมินปริมาณงานต่างๆเบื้องต้น หรือแบบคร่าวๆ เท่านั้นครับ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi_N6GSqFDFxs2v8cZXH1G2qFQp9HgP7cm2JFrgEZ8gWq0mZH4KpcGCIABPQcYu5_1OuZQbH9hTcR_6XB6aszeNq5I1KiP3mKVCKDPZvAVI-7MA0HYWu_rsglGomToiwUTVoqfrDxPQOwM/s400/01.jpg)
เทคโนโลยีการผลิตแผนที่ฯ ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามเกณฑ์ความถูกต้องของแผนที่)
1. การสำรวจทางภาคพื้นดิน (Ground Survey) ซึ่งสามารถแยกประเภทงาน ได้อีกหลายประเภท
2. การสำรวจทางอากาศด้วยเทคโนโลยีการใช้แสงเลเซอร์ฉายลงมายังพื้นผิว (LiDAR)
3. การสำรวจทางอากาศ/อวกาศ ด้วยเทคโนโลยีการใช้คลื่นเรดาร์ (SAR)
4. การสำรวจทางอากาศ ด้วยการบินถ่ายภาพทางอากาศ (ทั้งแบบ Analog และ Digital)
5. การสำรวจโดยการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม
* ปัจจุบัน การสำรวจจาก ข้อ 4 และข้อ 5 มีเกณฑ์ความถูกต้องใกล้เคียงกันมากโดยเฉพาะ การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดของภาพต่ำกว่า 1 เมตร (และครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างมากขึ้น) แต่ข้อเสียของเทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิดนี้คือ ความคลาดเคลื่อนจะมีค่าสูง (โดยเฉพาะค่าระดับ) เมื่อพื้นที่เป็นป่าทึบ หรือพรรณไม้มีชั้นเรือนยอดปกคลุมอยู่หนาแน่น และทั้งนี้ การผลิตแผนที่จาก ข้อ 4 และข้อ 5 ยังต้องอาศัยจุดควบคุุมทางราบ และทางดิ่ง ในเชิงคุณภาพที่เหมาะสม และหลังจากนั้น ยังต้องอาศัยกระบวนการทางโฟโตแกรมเมททรี เพื่อผลิตแผนที่ฯ ต่อไป
SAR
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
'ปล่อยไก่'
>>ได้ยินท่านผู้ใหญ่ ผู้โตของบ้านเมืองนี้ให้สัมภาษณ์สื่อในประเด็นเรื่อง ความสุ่มเสี่ยงทางด้านความมั่นคงของประเทศ ถ้าหากมีการอนุมัติให้องค์การนาซา ขึ้นบินตรวจวิเคราะห์สภาพอากาศ ซึ่งอาจจะถูกสอดใส้ด้วยการลักลอบถ่ายภาพสถานที่ทางด้านความมั่นคงต่างๆ อาทิ สนามบิน ฐานทัพ หน่วยราชการ ฯลฯ และเมื่อเร็วๆนี้ ก็ยังได้ยินท่านผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงท่านอื่นๆต่างก็ให้สัมภาษณ์ 'นักข่าวต่างประเทศ' ในประเด็นคล้ายๆกันคือ ปัญหาทางด้านความมั่นคง หรือปัญหาการจารกรรมแอบถ่ายภาพข้อมูลภาคพื้นดิน จากทางอากาศ...โอว แม่เจ้า
ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาติให้สัมภาษณ์สื่อ (ทางอินเตอร์เน็ต) ฝากไปถึงท่านเหล่านั้นว่า ท่านครับ...ถ้าท่านได้อ่านบทความข้างต้น ผู้เขียนเชื่อว่าท่านคงจะไม่กล้าให้สัมภาษณ์สื่อ (แบบปล่อยไก่ แบไต๋ เสียรังวัด) ถึงประเด็นทางด้านงานจารกรรมด้านการแอบถ่ายภาพจากทางอากาศ ดอกครับ...เพราะว่าทุกวันนี้ข้อมูลสภาพพื้นที่ภูมิประเทศ ตลอดจนสถานที่ต่างๆ บนโลกใบนี้ มิได้เป็นความลับอีกต่อไปแล้วครับท่าน แถมยังถูกอัพเดท ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทุกๆวันเสียอีก
และอย่างน้อยที่สุด โปรแกรมฟรีๆ อย่าง Google Earth หรือแม้แต่ Point Asia ก็สามารถมองเห็นหลังคาบ้านของท่านในเมืองใหญ่ได้อย่างชัดเจนทีเดียว...ท่านลองดาวน์โหลดโปรแกรมนี้มาใช้ดูนะครับ แล้วจะพบกับคำว่า...'ดวงตาเห็นธรรม'
No comments:
Post a Comment