Tuesday, 20 December 2011

'ตามน้ำ' หลังน้ำลด

>> ประสบการณ์เล็กๆ กับงานสำรวจพื้นที่ใต้เขื่อนแห่งหนึ่ง (ใน สปป.ลาว) ที่ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำออกจากตัวเขื่อน....กับกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับภาวะน้ำท่วม (พื้นที่ใต้เขื่อน) ในประเทศไทย พ.ศ. 2554

เมื่อหลายปีก่อน ได้มีโอกาสทำการสำรวจฯจุดระดับ (DEM) และ Cross Section ของพื้นที่ๆได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำใต้เขื่อนแห่งหนึ่งใน สปป.ลาว ซึ่งเต็มไปด้วยหมู่บ้านหลายแห่ง ตั้งเรียงรายยาวกันไปตลอดลำน้ำ...โดยมีวัตถุประสงค์ของงานสำรวจคือ การตรวจสอบจุดระดับ สูง-ต่ำ ของพื้นที่ทั้งสองฝั่งของลำน้ำ และสำรวจพื้นที่หน้าตัดของลำน้ำ ตลอดจนการคำนวณปริมาตรมวลน้ำในภาวะวิกฤต ที่เขื่อนจำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำในปริมาณมากกว่าปรกติ หรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยเมื่อทำการปล่อยมวลน้ำออกมากเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด...จะสามารถคำนวณ วิเคราะห์ และประเมิน:

- ทิศทางของมวลน้ำ
- ปริมาตรน้ำ
- เวลาที่มวลน้ำใช้เดินทางไปถึง
- ความสูงของระดับน้ำที่จะเกิดขึ้นในกรณี ภาวะน้ำล้นตลิ่ง
- ขนาดพื้นที่ของผู้ที่ๆ คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
- ระยะเวลา ที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม หรือภาวะน้ำล้นตลิ่ง

การสำรวจ DEM ในยุคนั้น ทางด้านเทคโนโลยีการสำรวจ ได้มีการคิดค้น และผลิตอุปกรณ์สำรวจรังวัดดาวเทียมจีพีเอส ขึ้นมาใช้และจำหน่ายกันแล้ว แต่ยังเป็นระบบความถี่เดียว (L1 แบบ Kinematic) ส่วนเครื่องรับแบบสองความถี่ (L2) ยังคงถูกผูกขาด (License) โดยบริษัท Trimble ซึ่งเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา ซึ่ง ณ เวลานั้น ราคาของมันเกินเอื้อมจริงๆ (ในระดับหลายล้านบาท)...ส่วนเทคโนโลยีการสำรวจอื่นๆ ในระดับความละเอียด ''ทางงานระดับ'' ต่ำกว่า 1 m. ก็ยังอยู่ในขั้นการพัฒนา (หรือยังไม่มี) ทั้ง LiDAR, Fine Satt. Image (large scale), GeoSAR ฯลฯ
>> กรณีศึกษาเปรียบเทียบกับภาวะน้ำท่วม,น้ำหลาก, น้ำล้นตลิ่ง ในสารขันธ์ประเทศ พ.ศ. 2554...ซึ่งเราจะเห็นหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ประกาศหรือนำเสนอแผนที่มวลน้ำ,ทิศทาง, ปริมาตร, ผลกระทบ ฯลฯ ทางสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง...ประเด็นสำคัญที่อยากจะกล่าวถึงคือ ความถูกต้องแม่นยำ ของ ข้อมูล DEM หรือ Ground Surface (เชิงคุณภาพ) จากแผนที่ Base Map ของประเทศ ว่ามีความถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานของภาครัฐที่รับผิดชอบหลัก อยู่ 2 หน่วยงาน คือ 

1. กรมแผนที่ทหารฯ ซึ่งรับผิดชอบในงานสำรวจรังวัด และผลิตแผนที่ คลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งแบบแผนที่กระดาษ และไฟล์ดิจิตอล สามารถแสดงระดับความสูง (Orthophoto) ซึ่งแผนที่ดังกล่าวได้มาจากการบินถ่ายภาพทางอากาศ และผลิตด้วยกระบวนการทางโฟโตแกรมเมททรี (จุด DEM ถูกสร้างขึ้น หรืออินเตอร์โปเลทจาก หมุดควบคุมทางราบ-ดิ่ง ของภาพถ่ายทางอากาศ)

2. สทอภ. หรือ GISDA (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แผนที่ๆใช้ ได้มาจากภาพถ่ายดาวเทียม ธีออส (จุด DEM สามารถสร้างหรืออินเตอร์โปเลทได้จาก หมุดควบคุมทางราบ-ดิ่ง ของภาพถ่ายดาวเทียมเช่นกัน)

>> ท่านทั้งหลายที่เป็นนักการแผนที่ฯ ต่างทราบดีว่า "ค่าระดับ'' ของ DEM ที่ได้จากกระบวนการทางโฟโตแกรมเมททรี (ภาพถ่ายทางอากาศ) หรือ DEM ที่ได้จากกระบวนการทาง Remote sensing จากภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงอย่าง Ikonos, Quickbird ฯลฯ จากต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่ มีค่า 'ความคลาดเคลื่อนทางระดับ ' มากกว่า 3-9 เมตร หรือมากกว่า ขึ้นไปทั้งสิ้น
* และค่าความคลาดเคลื่อนทางระดับ ดังกล่าว ได้ถูกนำมาเป็น 'ค่าระดับพื้นผิว' (ตั้งต้น) ในการคำนวณปริมาณต่างๆ เกี่ยวกับน้ำท่วมใหญ่คราวที่แล้ว...ตัวแปรตั้งต้น ที่มีค่า error สูง ย่อมส่งผลให้ตัวแปรอื่นๆ มีความคลาดเคลื่อนสูงตามไปด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

>> ผู้เขียนไม่ทราบว่าหน่วยงานภาครัฐของไทย ได้มีแนวคิด หรือนโยบายในเรื่องการสำรวจ DEM หรือไม่ อย่างไร แต่มันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการสำรวจ DEM ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางใหม่ทั้งหมด และมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการขุดช่องทางระบายน้ำใหม่อย่าง เจ้าพระยา 2 หรือ 3
* การคำนวณปริมาตร 'มวลน้ำค้างทุ่ง หรือมวลน้ำที่ยังอยู่ในทุ่ง' หรือมวลน้ำที่กำลังเดินทางอยู่ในทุ่ง ไปสู่พื้นที่ใด เวลาใด ปริมาตรเท่าไหร่ ล้วนต้องอาศัย 'ระดับพื้นผิว' ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงทั้งสิ้น

เทคโนโลยีการสำรวจ ณ ปัจจุบัน ที่สามารถทำการสำรวจพื้นที่ขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดอย่าง 'พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง' และใช้เวลาในการสำรวจที่สั้น คือเทคโนโลยี LiDAR เท่านั้น ในความละเอียดทางระดับ มีค่าความคลาดเคลื่อน 5-30 เซนติเมตร....ถึงแม้ว่า จะเป็นเทคโนโลยีการสำรวจที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่เปรียบเทียบกันไม่ได้ กับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม
Schematic of LiDAR Survey

>> ย้อนกลับมาดู ข่าวสารน้ำท่วม ทางสื่อต่างๆ ซึ่งกล่าวถึงปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น-ลดลง ในระดับเพียงแค่ 5-10 เซนติเมตร ระดับเท่านี้ ก็ถึงกับทำให้มีเหตุการณ์ รื้อ เจาะ ทุบ ทำลาย แนวกั้น ปิดถนน ฯลฯ....ความคิดเห็น (ส่วนตัว) คิดว่า ที่มันวุ่ยวาย ขายปลาช่อน และสับสนอยู่ทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก ข้อมูลปริมาณต่างๆ ที่ ถูกนำเสนอสู่ประชาชน น้ำมาสูงเท่านั้น น้ำมาต่ำเท่านี้ ท่วมวันนั้น แห้งวันนี้ ตรงนั้นท่วม ตรงนี้ไม่ท่วม....เมื่อข้อมูลมีคลาดเคลื่อนทางปริมาณ/ปริมาตร ย่อมส่งผลต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
* มาเลเซีย เป็นประเทศที่ประสบกับปัญหาภาวะน้ำท่วมซ้ำซากเช่นกัน ทางรัฐบาลมาเลเซียจึงได้จัดให้มีการสำรวจสภาพพื้นที่ภูมิประเทศใหม่ทั้งหมด ด้วยเทคโนโลยี LiDAR แล้วนำข้อมูล Ground Surface ความละเอียดสูงที่ได้ มาวางแผนการจัดการ ทั้งการออกแบบ ช่องทางระบายน้ำ อุโมงค์ผันน้ำ ฯลฯ
* และเป็นเรื่องที่ 'ยัง งง อยู่ถึงทุกวันนี้' ที่ว่าในช่วงน้ำท่วม มีนักวิชาการออกมานำเสนอข้อมูลระดับน้ำท่วมผ่านสื่อ เช่น พื้นที่ ก. จะมีระดับน้ำเข้าท่วม 2 ม. แต่ระดับน้ำ 2 ม. ดังกล่าวนี้ เป็นค่าระดับความสูงของน้ำเทียบกับระดับน้ำทะเล ซึ่งมีค่า = 0 ซึ่งเมื่อหักลบ กับค่าความสูงของตัวบ้านของท่าน อาจจะเหลือเพียงแค่ 20 เซนติเมตร เท่านั้น แล้วทำอย่างไร ที่จะทำให้ทราบว่า บ้านของท่าน อยู่สูง-ต่ำ กว่าระดับน้ำทะเล => ให้ท่านหาไม้ยาวมาประมาณ 2 เมตร แล้วทิ่ม/แหย่ ลงไปในท่อระบายน้ำหน้าบ้านของท่าน แล้วยกขึ้นมาดู ท่านจะเห็นคราบระดับน้ำที่ติดอยู่กับไม้ วัดความยาวของคราบน้ำที่ติดไม้เอาไว้ แล้วให้ท่านเอาระดับน้ำ 2 ม. มาลบออก นั่นคือ 'ระดับน้ำที่จะท่วมบ้านของท่าน'!!.....โอว พระคุณเจ้า...นักวิชาการไทยแลนด์ (*_* " )



วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตัวอย่าง ข้อมูลสำรวจที่ได้จากเทคโนโลยี GeOSAR (X-band) เป็นไฟล์ *.img
Dowload : http://www.mediafire.com/?a8878a7zz9di5d4

ตัวอย่าง 3D จากโปรแกรม Global Mapper

ลองทดสอบกับ ArcGIS 10 (Trial)
* ได้มีมติอนุมัติ จาก ครม. ออกมาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วว่า ให้ดำเนินการสำรวจข้อมูล "ระดับ" พื้นผิว หรือ DEM ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางใหม่ทั้งหมด...แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่า วิธีการสำรวจนั้น จะใช้วิธีใด...ดูเหมือนวิธีการจะไม่ใช่ประเด็น แต่ 'ค่าต๋ง/หัวคิว' นี่สิ ประเด็นสำคัญ...อ้อยเข้าปากช้าง อีกแล้วครับท่าน

นายกฯ ท่านบอกว่าทุกอย่างต้องเสร็จก่อนเดือน พฤษภาคม...นี่ก็เดือนกุมภาเข้าไปแล้ว แต่เท่าที่ทราบ ก็ยังไม่มีการกระดิกพลิกตัว จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ...งานนี้ อาจมี 'ลอยคอ' ภาค 2


No comments:

Post a Comment