Saturday 6 October 2012

ประสบการณ์เล็กๆ กับ Leica Builder

>> ในช่วงปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนได้สังเกตุพบว่ากล้องมุม Theodolite ยี่ห้อ Leica ซีรี่ Builder มีให้เห็นหนาตามากขึ้นตามเหมืองแร่ขนาดเล็ก และตามไซต์ก่อสร้างคอนโดฯสูงๆ (แต่ทำไม คนส่องกล้องเป็นคนจีน?) และเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสสนทนา สอบถาม กับคนอ่านกล้อง รุ่นดังกล่าวในหน้างาน...ก็ต้องถึงกับ อึ้ง ทึ่ง ฉงน เมื่อเห็นความสามารถของตัวกล้องรุ่นนี้กับตา (เดี๋ยวนี้มันทำได้ขนาดนี้เลยหรือ?)
แต่เดิม ผู้เขียนเข้าใจมาตลอดว่า กล้องมุม (Theodolite) ทั่วๆ ไป เป็นกล้องสำหรับงานในไซต์ก่อสร้าง สำหรับการสอบมุมดิ่ง-มุมราบ วางแนว วางไลน์ ส่วนการวัดระยะทางก็ใช้เทปลากกันไปมาให้ว่อนหน้างาน ก่อสร้างอาคาร บ้านจัดสรร ฯลฯ ดึงเทปตึงบ้าง หย่อนบ้าง ตามเรื่อง (พูดจาภาษาพม่ากัน ล้งเล้ง...ออปชั่นเสริม) ดูไปแล้วมันค่อนข้างหยาบพอสมควร ส่วนความละเอียดของมุมอยู่ที่ประมาณ 7" หรือ 9" ซึ่งก็เหมาะสมกับงานในลักษณะนี้

แต่เมื่อ...มาเจอกับเจ้า Leica Builder ที่ว่านี้ความคิดเดิมๆ ของผู้เขียนเหล่านั้นได้ถูก 'กลบ,ลบ และเขียนทับใหม่' (Overwrite) ด้วยความรู้ใหม่ๆ ที่ว่า เดี๋ยวนี้;

- กล้องมุม ถูกพัฒนา (ติด EDM) ให้อ่านระยะทางได้กันแล้ว
- มีระบบ Reflectoress ไม่ต้องใช้เป้าสะท้อน
- มีโปรแกรมคำนวณมากมาย ได้คำตอบเสร็จสรรพ 
- มี Wireless
- มี Bluetooth
- บันทึกข้อมูลจุดสำรวจได้ แต่เมื่อโหลดออกมาจากตัวกล้องฯแล้ว จะแสดงผลเป็นค่ามุม และระยะทาง (อันนี้ 'งง'...เหมือนมีกั๊ก จากทางผู้ผลิตฯ)

>> ย้อนกลับมาที่การสนทนาของผู้เขียนกับ คนกล้องฯ ซึ่งกำลังอ่านเก็บงาน สอบปริมาตรกองแร่ (ผู้เขียนแอบคิดในใจ แร่กองเบ้อเริ่ม เดินตั้งโพล กันไม่ถึง 20 จุด...'งานหยาบ' น่าดู) จับเวลาได้ไม่ถึง 20 นาที คนกล้องฯบอกเสร็จแล้ว แถมกดปุ่มคำนวณคลิกเดียว ได้คำตอบออกมาแล้ว xxx คิวบิคเมตร...โอว แม่เจ้า (อะไร มันจะไวปานวอกขนาดนั้น)...และก็ถึงบางอ้อ (ขึ้นในใจ) ที่ว่าทำไมพักนี้ถึงเห็นเจ้าตัว Leica Builder หนาหู หนาตาขึ้นตามไซต์เหมืองแร่ ซึ่งน่าจะมาจากความสามารถในการคำนวณปริมาตร แบบอัติโนมัตินี่เอง (ไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดข้อมูลจากกล้องฯ เข้าโปรแกรมคำนวณให้ยุ่งยากเสียเวลา)

ข้อสังเกตุของผู้เขียน:
- การสอบกองปริมาตร ถ้าเป็นกองเดี่ยวๆ ที่มีรูปทรงพื้นฐานง่ายๆ สูตรคำนวณที่ใช้น่าจะเป็นแบบ Prism Modal (Prismoid) ที่ไม่ซับซ้อน แต่ในกรณีที่รูปทรงของกอง ที่มีการซ้อนกอง เกยกัน เป็นชั้นๆ และมีการอ่านเก็บตำแหน่ง+ระดับ เป็นร้อยๆ พันๆ จุด...อยากถามว่า Leica Builder จะทำการคำนวณปริมาตรได้หรือไม่ และด้วยวิธีการคำนวณปริมาตรแบบใด (ถ้ายังตอบว่า Prismoid...ผลลัพธิ์การคำนวณปริมาตรที่ได้คงจะคลาดเคลื่อนน่าดู)

- ชื่อที่ถูกเรียกเจ้ากล้องตัวนี้คือ 'กล้องมุม' (Theodolite) ถ้าการดาวน์โหลดข้อมูลออกจากกล้องฯออกมาเป็นค่าพิกัด และ ค่าระดับได้...ก็น่าที่จะเรียกว่า กล้องโททอล สเตชั่น ได้เลย

- ราคาตัวท๊อปๆ ของรุ่น Builder (หลายแสน)...ราคานี้ ผู้เขียนเอาไปซื้อ กล้องโททอล สเตชั่น ดีกว่า

No comments:

Post a Comment