>> เป็นอีกหนึ่งบทความ (ส่วนตัว) ที่เขียนเก็บเอาไว้ตั้งแต่ปี 2012 แต่มิได้นำมาลงใน blog ด้วยเหตุว่า ตัวผู้เขียนเองก็ไม่แน่ใจว่า เมื่อมีผู้ทำตามขั้นตอนการแบ่งเนื้อที่ (Parcel) ด้วยโปรแกรมฯดังกล่าวแล้ว จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ชึ่ง ณ เวลานั้นผู้เขียนคิดว่า น่าจะเป็นเพราะตัว bug ของโปรแกรมฯ หรืออาจจะเป็นเพราะความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ของตัวผู้เขียนเอง ก็เป็นได้...จึงหยุดค้างคา เรื่องดังกล่าวไว้แค่ตรงนั้น (งานสำรวจฯส่วนตัวไม่ได้ใช้ชุดคำสั่งดังกล่าวมากนัก)
ในกาลถัดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตัวโปรแกรม Autocad Civil 3D ได้ถูกพัฒนามาโดยลำดับ จนถึงเวอร์ชั่น 2017 ณ ปัจจุบัน (แต่ตัวผู้เขียนเองกลับยังหมกมุ่นอยู่กับเวอร์ชั่น 2012 T_T)...ผู้เขียนเข้าใจว่า ในเวอร์ชั่นถัดๆมา ตัวโปรแกรมน่าจะถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการใช้ชุดคำสั่ง Parcel แต่ทั้งนี้ผู้เขียนก็ไม่เคยได้มีโอกาส ทำการทดสอบเวอร์ชั่นรุ่นใหม่ๆ เหล่านี้
ผู้เขียนได้ให้คำแนะนำกับท่านผู้สนใจในเรื่องชุดคำสั่ง Parcel ผ่านอีเมล์อยู่หลายวาระ จนมาถึงเพื่อนนายช่างสำรวจฯท่านหนึ่งจากเว็บไซต์ใหญ่ทางด้านงานสำรวจฯ ได้ถามไถ่เข้ามาในประเด็นเดียวกันนี้อีก ผู้เขียนจึงตัดสินใจขุดบทความชุดนี้ เอามาลงใน blog ให้ท่านผู้สนใจ ลองใช้ชุดคำสั่ง หรือนำไปต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป หรือกลับมาชี้แนะ ชี้ทางสว่างให้กับผู้เขียน...จักเป็นพระคุณยิ่ง
หมายเหตุ: ขั้นตอน และวิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ โดยการใช้โปรแกรม Autocad Civil 3D นี้ ได้มาจากการทดสอบ (ส่วนตัว) โดยการใช้ โปรแกรมฯเวอร์ชั่น 2012 อนึ่ง ผู้เขียนไม่สามารถยืนยันผลสัมฤทธิ์ของการแบ่งพื้นที่ ในทุกๆกรณี โดยเหตุว่า ในบางกรณี ผู้เขียนพบว่า ไม่สามารถแบ่งซอยพื้นที่ Parcel ออกเป็นส่วนๆได้ โดยเฉพาะพื้นที่ๆมีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยมแบบซับซ้อน
Civil 3D: Land Parcels
(การแบ่งซอยพื้นที่ ออกเป็นส่วนๆ ให้มีขนาดเท่ากัน)
จากภาพข้างต้น ผู้เขียนจะสาธิต การแบ่งซอยพื้นที่ขนาด 5,000 ตร.ม. ออกเป็น 10 ส่วน ส่วนละ 500 ตร.ม. โดยใช้ชุดคำสั่ง Parcel
1.1 ออกแบบพื้นที่: ทำการลากเส้น polyline วงปิดตามภาพทางด้านล่าง
1.2 สร้าง Parcel หลัก (ก่อนแบ่งออกเป็นส่วนๆ): ที่แท๊ป Parcels เลือก Create Parcel from Objects > ลากคลุมพื้นที่ ตามข้อ 1.1 > Enter จะพบหน้าต่าง Create Parcel from Objects > ตั้งค่าการแสดงผลของ Parcel ตามต้องการ > OK
ภาพแสดง Parcel ที่ถูกสร้างขึ้น
โดยตัวโปรแกรมฯจะทำการคำนวณพื้นที่ และเส้นรอบวง อัติโนมัติ
1.3 กำหนดค่า Parcel LayOut
Parcel Sizing: การกำหนดขนาด-ปรับแต่ง Parcel ย่อย
1.3.1 Minimum Area: กำหนดขนาดพื้นที่ให้กับ Parcel ย่อย โดยในการสาธิตนี้กำหนดพื้นที่ Parcel ย่อยให้มีขนาดพื้นที่ Pacel ละ 500 ตร.ม. (เมื่อคูณกับ 10 Parcel จะได้เท่ากับ 5,000 ตร.ม. พอดี)
1.3.2 Minimum Frontage: กำหนดระยะทาง (ยอมให้ได้ต่ำสุด) ให้กับแนว Frontage (อาทิ แนวเขตที่ดินหน้าบ้าน ห่างจากถนน 2 เมตร) โดยในการสาธิตนี้กำหนดระยะต่ำสุดของ Frontage ให้มีค่าตามระยะกว้างของตัว Parcel ย่อย นั่นคือ 10 ม.
1.3.2 Minimum Frontage: กำหนดระยะทาง (ยอมให้ได้ต่ำสุด) ให้กับแนว Frontage (อาทิ แนวเขตที่ดินหน้าบ้าน ห่างจากถนน 2 เมตร) โดยในการสาธิตนี้กำหนดระยะต่ำสุดของ Frontage ให้มีค่าตามระยะกว้างของตัว Parcel ย่อย นั่นคือ 10 ม.
1.3.4 Frontage Offset: กำหนดระยะ Frontage ให้ล้ำเข้ามา (Offset) ในพื้นที่ๆต้องการแบ่ง Parcel ย่อยโดยในการสาธิตนี้ ไม่กำหนดให้มีการ Offset ใดๆ ออกจากแนว Frontage
1.3.5 Minimum Width: กำหนดระยะกว้างต่ำสุด ให้กับ Parcel ย่อย โดยในการสาธิตนี้ กำหนดให้มีระยะกว้างต่ำสุดเท่ากับ 10 ม.
1.3.5 Minimum Depth: กำหนดระยะทางลึก (แนวยาว) ต่ำสุด ให้กับ Parcel ย่อย โดยในการสาธิตนี้ กำหนดให้มีระยะทางลึกต่ำสุดเท่ากับ 50 ม.
1.3.8 Multiple Solution Preference:
1.3.8.1 Use Shortage Frontage: แสดงผลของ Parcel ย่อยที่ถูกแบ่งซอย ไปตามทิศทางเดียวกัน กับแนว Parcel ย่อย อื่นๆ โดยในการสาธิตนี้ เลือก Use Shortage Frontage
1.3.8.2 Use Smallest Area: แสดงผลของ Parcel ย่อย ในกรณีที่มีพื้นที่เศษเหลือ ตามหัวมุมของพื้นที่ (มีความสัมพันธ์กับ หัวข้อ 1.3.10)
Automatic Layout: การเปิด-ปิด ระบบ LayOut อัติโนมัติ
1.3.9 Automatic Mode: เปิด-ปิด ระบบการแสดงผลการคำนวณ และแบ่งซอย Parcel ย่อย แบบอัติโนมัติ โดยในการสาธิตนี้ เลือก Off (กด Enter ทีละครั้ง เพื่อแสดงผล Parcel ย่อย ทีละส่วนๆ)
On
Off
1.3.10 Remainder Distribution: การจัดการพื้นที่ ส่วนที่เหลือ (ในกรณีแบ่ง/หารพื้นที่ ไม่ลงตัว)
1.3.10.1 Create parcel from remainder: กำหนดให้สร้าง Parcel ขึ้นมาเฉพาะพื้นที่ส่วนที่เหลือ
1.3.10.2 Place remainder in last parcel: กำหนดให้ Parcel ย่อยส่วนสุดท้าย รวมพื้นที่ส่วนที่เหลือ เข้าไว้ด้วยกัน
1.3.10.3 Redistribute remainder: กำหนดให้นำพื้นที่ส่วนที่เหลือ มาหารด้วยจำนวน Parcel ย่อย แล้วแชร์ส่วนที่ถูกหาร เข้าไว้ในแต่ละ Parcel ย่อย
* โดยการสาธิตนี้ เป็นการแบ่งพื้นที่ 'แบบหารลงตัว' คำสั่ง Remainder Distribution จึงไม่มีผลบังคับ
1.4 ที่แท๊ป Tool > Slide Line-Create จะพบหน้าต่าง Create Parcel Layout > ตั้งค่าการแสดงผลของ Parcel ตามต้องการ > OK > คลิกเลือก ที่ตัว Parcel หลัก (คลิกที่ตัวหนังสือ แสดงขนาดพื้นที่)
> สังเกตุที่ Command line: Select start point on frontage (คลิกที่ตำแหน่งจุดเริ่มต้น ที่ต้องการแบ่งซอยพื้นที่ย่อย บนแนวเส้น Frontage) > ที่ Command line: Select end point on frontage (คลิกที่ตำแหน่งจุดสิ้นสุด ที่ต้องการแบ่งซอยพื้นที่ย่อย บนแนวเส้น Frontage จะพบแนวเส้นแสดงจุดเริ่มต้น-สิ้นสุด ของการแบ่ง Parcel ย่อย) >
> ที่ Command line: Specify angle or [Bearing/aZimuth] คลิกที่ตำแหน่งเริ่มต้นใดๆ บนแนวเส้น Frontage (คลิก 1) > คลิกที่ตำแหน่งสิ้นสุดใดๆ (ในกรณีนี้อาจจะคลิกไปในทิศทางอื่นๆ) โดยการสาธิตนี้คลิกจุดสิ้นสุดในแนวตั้งฉากกับแนวเส้น Frontage (คลิก 2)) >
> กด Enter ทีละครั้ง เพื่องสร้าง Parcel ย่อย ทีละส่วน จนไปถึง Parcel ย่อย สุดท้าย
>> ตัวโปรแกรมจะสร้าง Parcel ย่อยจนครบ โดยในการสาธิตนี้ เป็นการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ส่วนละเท่ากันๆ (แบบหารลงตัว จึงไม่เหลือเศษ)
2. พื้นที่ๆมีลักษณะเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยม (Polygon)
Example 1:
Example 2:
ขอบคุณมากๆคับสำหรับบทความเป็นประโยชน์สำหรับช่างผู้ใช้งานและเริ่มศึกษาโปรแกรม
ReplyDelete