>> ท่านทั้งหลาย ที่ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพ ในการเดินทางสัญจรไป-มา ระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน ซึ่งมีช่วงระยะทางตอนหนึ่ง ที่ท่านสามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำลำตะคอง และภูเขาซึ่งอยู่ฝั่งเดียวกันกับถนนมิตรภาพ ซึ่งมีชื่อว่า 'เขายายเที่ยง' นั้น...ท่านทราบหรือไม่ว่า บนยอดเขาดังกล่าว ได้มีงาน Grading (Pond) ถูกขุดเป็นแอ่งขนาดใหญ่ สำหรับกักเก็บน้ำ และปล่อยน้ำลอดผ่านอุโมงค์จากตัวอ่างเก็บน้ำบนภูเขา ลงมายังอ่างเก็บน้ำลำตะคองทางเบื้องล่าง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 250x2 เมกกะวัตต์
'โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ' เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการใช้สอยพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า (สะอาด) โดยอาศัยหลักการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ขึ้นไปเก็บไว้บนอ่างเก็บน้ำ (Pond) ที่ขุดเอาไว้บนยอดเขา และทำการปล่อยมวลน้ำลอดผ่านอุโมงค์ขนาดใหญ่ ลงมาหมุนใบพัดของตัวเทอร์ไบท์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ภาพ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ขนาด 600x600 เมตร
ภาพ: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ
ภาพ: เครือข่ายกาญจนภิเษก
>> ในบทความนี้ เราจะมาลอง 'สมมุติ' สถานการณ์ที่ว่า เราต้องกลายเป็นผู้รับผิดชอบงานออกแบบ การออกแบบตัวบ่อ (Pond) หรืออ่างเก็บน้ำแห่งที่ 2 เพื่อการกักเก็บน้ำโดยมีคุณลักษณะทางเรขาคณิต ที่ต้องเหมือนกันทุกประการ กับตัวอ่างเก็บน้ำแห่งที่ 1 และเครื่องมือออกแบบที่นำมาใช้คือโปรแกรม AutoCAD Civil 3D
Hand On:
1. เตรียมพื้นที่ โดยใช้ surface จากโปรแกรม Google Earth เพื่อการสาธิต (* ในงานจริง ต้องทำการสำรวจฯระดับดินเดิม ซึ่งจะทำให้การคำนวณปริมาตรงานดินมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น)
2. ออกแบบรูปร่างอ่างเก็บน้ำขนาด 600x600 ม. มีรัศมีโค้ง 150 ม.
* กำหนดค่าระดับที่พื้นอ่าง 620 ม.
3. สร้างพื้นผิว Grading
<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>
4. คำนวณปริมาตรงานดิน Cut ออกแบบชิวๆ
ขอขอบคุณอย่างสูง สำหรับความรู้ครับ ผมผ่านไปผ่านมาบ่อยๆ ไม่เคยรู้ว่ามีแอ่งน้ำอยู่บนเขา พี่สุดยอดจริงๆ ผมได้อะไรดีเยอะเลยจากเว็บนี้ ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ด้วยคนนะครับ ^^
ReplyDeleteช่างนิก ขอนแก่น