>> ผู้เขียนได้พิจารณาแล้วว่า เรื่องดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆบ้าง ไม่มากก็น้อย...จึงขออนุญาตินำอีเมลล์คำถามของคุณ xxx ที่ถามเข้ามาเกี่ยวกับเรื่องงานออกแบบถนน ซึ่งผู้เขียนได้ตอบคำถามดังกล่าวไปเมื่อช่วงกลางเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา
- ผมกำลังหัดใช้โปรแกรม Civil 3D เพื่อออกแบบถนนเลียบภูเขาเขตสัมปทานเหมือง ใน จ.เลย ผมอยากจะออกแบบถนนแบบที่พี่สาธิตให้ดู แต่คงจะต้องใช้เวลาศึกษานาน ผมเลยอยากให้พี่แนะนำวิธีการ หรือทางลัด ไม่ต้องการมาตรฐานแบบงานทางหลวง ผมแค่อยากทราบเรื่องดังต่อไปนี้
1. เป็นถนนธรรมดา ไม่เทลูกรัง กว้าง 5 เมตร
2. มีแบบร่างโทโป ดิจิไทด์จากแผนที่เก่า คอนทัวร์ 10 เมตร
3. ให้รถแบ็คโฮ ขุดไปตามทิศทางที่กำหนด
4. ปริมาตรงานขุด-งานถม ในภาพรวม เพื่อประเมินรายจ่ายจ้างรถบรรทุกขนดิน
5. ค่าระดับถนนเสมอกันหมดทั้งเส้น มีระยะทางประมาณ 700 เมตร ใช้กล้องระดับ ให้ค่าระดับ
6. ไม่ต้องการ การยกโค้ง หรือรายละเอียดมาก เหมือนแบบงานทางทั่วไป
ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณครับ
ปล. ผมติดตามพี่มาตั้งแต่อยู่เว็บบอร์ด thaitopo แล้วครับ
>> ขอบคุณครับสำหรับคำถาม และการติดตามบทความ...จากประเด็นคำถามข้างต้น สิ่งที่เข้ามาในหัว (ยุคโบราณ) ของผู้เขียนทันทีทันใด นั่นคือ 'ไม่น่าจะมีทางลัด' ในกระบวนการออกแบบถนนด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D และ AutoCAD LDT...คิดไป คิดมา และย้อนกลับไปอ่านข้อ 1-6 อีกครั้ง พยายามตัดเรื่อง alignment, profile, curve design ฯลฯ ออกไปจากความคิด แต่ก็ไม่สำเร็จ...เพราะยังงัยๆ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการวางแนวเส้น Alignment และตามด้วยขั้นตอนดังที่ได้กล่าวถึงในบทความอื่นๆ
ปัญหามา ปัญญาจึงเกิด (*_* ")...ผู้เขียนจึงได้ลองประยุกต์ 'งานขุดบ่อ-ถมที่' มาใช้ในการออกแบบถนน และสามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้ครับ
Hand On:
1. เตรียมพื้นที่ (surface) สำหรับการออกแบบ....ในกรณีที่ดิจิไทด์เส้นคอนทัวร์มาจากแผนที่เก่า อย่าลืมใส่ค่าระดับของเส้นคอนทัวร์ให้กับเส้นคอนทัวร์ทุกเส้น
2. ที่โปรแกรม Civil 3D สร้าง surface จากเส้นคอนทัวร์ตามข้อ 1.
3. กำหนดแนวเส้น CL และทำการ offset ระยะ 2.5 เมตร ออกจากแนวเส้น CL
4. ลบแนวเส้น CL ออก และทำการกำหนดค่าระดับที่ต้องการให้กับแนวเส้น offset (ทุกด้าน) และทำการสร้างเส้น Feature line จาก Object
* ทำการออกแบบแนว grading โดยศึกษาการใช้งานชุดคำสั่งงาน Grading ได้จากบทความ
>> การประยุกต์การออกแบบถนนด้วยคำสั่ง Grading ข้างต้น ได้ทำการกำหนดแนวเกรดไปตาม surface (Grade to surface) โดยกำหนดอัตราความลาดชันเท่ากับ 2:1
5. ทำการคำนวณปริมาตรงานดินในภาพรวม ได้จากคำสั่ง Analyze > Volume
* ความถูกต้อง/คลาดเคลื่อนของงาน ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่ง ทิศทาง และปริมาตรที่คำนวณได้ จะขึ้นอยู่กับ ''คุณภาพ" ของพื้นผิว surface ซึ่งในที่นี้คือ 'แบบร่างโทโป' ที่นำมาใช้
รอครับ เอาแบบสุดๆไปเลยนะ
ReplyDeleteผมเคยทำเป็นบทความเอาไว้นานแล้วครับ เรื่อง "Civil 3D: Grading >> การออกแบบพื้นที่ เพื่อการขุดบ่อ (Pond)"
ReplyDelete>> http://geomatics-tech.blogspot.com/2011/12/grading-civil-3d-pond.html
ผมคิดว่า ละเอียดพอสมควรนะครับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้ (ชุดคำสั่ง Grading ไม่มีอะไรมาก)
ส่วน คำสั่ง Grading ในการออกแบบถนน...ผมนำอีเมลล์คำถามของท่าน xxx มาเขียนตอบครับ
และถ้าคุณ Thawatchai มีข้อสงสัยประการใด เกี่ยวกับการใช้คำสั่ง Grading...สอบถามเข้ามาได้ครับ
ขอบคุณครับ