Saturday 5 January 2013

Behind the 'Geospatial' (เรื่องส่วนตัว)

>> บทความแรกของปี 2013 ผู้เขียนขออนุญาติอ้างถึง และตอบประเด็นคำถามที่ 'มักจะถามตบท้าย' อีเมล์ที่ส่งเข้ามาหาผู้เขียน ตั้งแต่เริ่มเขียน Blog เมื่อช่วงต้นปี 2012 นั่นคือ 'คำถามเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว' ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายพอสมควร บ้างก็เป็นคำถามที่ทำเอาผู้เขียนถึงกับหัวเราะ ขำๆ หรือ ออกอาการ งงๆ กับคำถามเหล่านี้
- ท่านไม่ใช่คนไทยใช่ไหมครับ ท่านเป็นชาวลาว ผมสังเกตุท่านมาตั้งแต่เว็บบอร์ด thaitopo แล้วครับ 
- ดูจากแบ็คกราวด์พี่ เหมือนไม่ได้จบช่างสำรวจ และไม่ได้เป็นวิศวกรสำรวจ ดูบทความก็เหมือนจะเป็นเซอร์เวย์เหมือนผม แต่ก็ดูจะเหมือนพวกจบภูมิศาสตร์ รู้เรื่องงานแผนที่ แต่แบ็คกราวด์พี่มีเรื่องงานภาพถ่ายทางอากาศด้วย ในประเทศไทย มีแต่ทหารที่กรมแผนที่ทหารเท่านั้นครับ ที่ทำงานแบบนี้ เพราะผมเคยไปซื้อภาพถ่ายทางอากาศบ่อยๆ หรือพี่จะเป็นทหารกรมแผนที่ ???
- คุณ Geospatial ทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดิน ใช่ไหมครับ ดูจากลักษณะคำพูด เหมือนเคยได้ยินตอนไปอบรม
- พี่ทำงานของรัฐ หรือเอกชนครับ
- พี่ไปทำงานหลายประเทศ ไปทำงานอะไรครับ
- ท่านทำงานอยู่ที่ ช การช่าง หรือ อิตาเลียนไทยครับ
- Geospatial แปลว่าอะไรครับ ไม่มีคำแปลในดิกชันนารี่

>> อันดับแรก ผู้เขียนต้องขอขอบคุณอีกครั้ง สำหรับคำถามเกี่ยวกับ 'เรื่องส่วนตัว' เหล่านี้ ซึ่งเจ้าของอีเมล์คำถามแต่ละท่าน ต่างได้รับคำตอบจากผู้เขียนต่างกรรม ต่างวาระกันไปแล้ว และท่านจะสังเกตุเห็นว่า ยังมีประเด็นคำถามในลักษณะเดียวกันนี้อีก จากท่านอื่นๆข้างต้น ที่สอบถามเข้ามาเช่นเดียวกัน...และนั่นคือที่มา...ที่ผู้เขียนต้องขออนุญาติ อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับตนเองใน 'ภาพรวม' อีกครั้ง พอสังเขป (บางที ผู้เขียนอาจจะวิตกจริตเกินไป ในทำนองว่า กลัวท่านจะเข้าใจกันแบบคลาดเคลื่อน หรือร่ำลือกันไปต่างๆนาๆ o_o)


Who is?
Who is Benjamin Templeton?
ผู้เขียนมีสัญชาติไทยครับ เกิด เติบโต เรียนหนังสืออยู่ในประเทศไทย แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนต้องเดินทางไปทำงานอยู่ในประเทศลาว ปีหนึ่งๆ ก็หลายเดือน จนเรียกว่าเป็นบ้านหลังที่สองก็ว่าได้ ดังนั้นประสบการณ์ การทำงานทางด้านงานสำรวจแผนที่ฯ จึงมักเน้นประสบการณ์ตรงจากดินแดนแห่งนี้ และ (ส่วนตัว) ชอบอัธยาศรัย ไมตรี พื้นฐานจิตใจดี ของคนลาวครับ อีกทั้งวัฒนธรรม จารีต ประเพณี ฮีต 12 ครอง 14 ของชาวลาวยังถูกยึดถือ รักษา ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นอย่างดี...
ถูกต้องครับ...งานบินสำรวจถ่ายภาพทางอากาศ หรือผลิตภาพถ่ายทางอากาศ ต้องดำเนินการอยู่ในกรมแผนที่ทหารฯ เท่านั้น ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงของประเทศ...โดยเมื่อช่วงปี 2543-2547 หรือกว่า  10 ปีที่แล้ว ผู้เขียนได้เป็นผู้ร่วมงาน (ในฐานะพลเรือน) ในโครงการบินสำรวจฯและผลิตภาพถ่ายทางอากาศให้กับกระทรวง xxx และได้มีโอกาสได้ทำงานในกรมแผนที่ทหารครับ

ส่วนทางด้านแบ๊คกราวด์การศึกษานั้น ผู้เขียนได้ผ่านหลักสูตรการเรียน-การสอนทางด้านงานสำรวจรังวัด งานแผนที่ฯ ยีออเดซี ภูมิศาสตร์ ฯลฯ...ผู้เขียนเป็นเซอร์เวย์เยอร์ หรือนายช่างสำรวจฯ เหมือนท่านครับ (แต่ไม่ได้มาจากสายวิชาชีพ ปวช. หรือ ปวส. หรือเซอร์เวย์เฉลิมสาสน์ ที่มีบางท่านเคยถามเข้ามา)
ประสบการณ์การทำงาน (ไม่ค่อยอยากจะอ้างถึงเท่าใดนัก เพราะจะบ่งบอกถึงอายุอานาม ของผู้ขียน ฮา)...ผู้เขียนไม่ได้ทำงานในภาคส่วนของรัฐใดๆ อาทิ สำนักงานที่ดินฯ อบต. อบจ. ฯลฯ...เป็นเพียงนายช่างสำรวจฯ ทำงานอยู่บริษัทสำรวจเอกชนธรรมดาๆ ครับ ไม่ใช่ บ. ที่มีชื่อเสียง ใหญ่โต เช่น ช.การช่าง อิตาเลียน-ไทย หรือชิโนไทย ฯลฯ

และสำหรับประวัติการทำงานนั้น ขออนุญาติไม่ขอลงในรายละเอียด เพราะมันมากมาย (ตามอายุ...ฮา) ผ่านงานสำรวจฯแผนที่ทางอากาศ พื้นดิน และใต้น้ำ ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสายงานสำรวจเขื่อน และงานสำรวจเหมืองแร่ ซึ่งชาวนักสำรวจฯ และนักธรณีฯ จะรู้จัก คุ้นหน้าคุ้นตากับผู้เขียน ทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับคำว่า Geospatial ซึ่งมาจากคำว่า Geography (ภูมิศาสตร์) รวมกับคำว่า Spatial (อ้างถึงเชิงพื้นที่)...Geospatial เป็นศัพท์ที่ถูกตั้งขึ้นใหม่เมื่อไม่นานมานี้ มีที่มาจากสายงานทางด้าน GIS โดยมาจากคำเต็มว่า Geospatial Analysis ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลที่อ้างถึง หรือเชื่อมโยงกับตำแหน่งบนพื้นโลกเข้ากับข้อมูล non-spatial อื่นๆ...ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า บ้านเราได้มีการบัญญัติคำดังกล่าวเป็นภาษาไทย (เป็นทางการ) ไว้แล้วหรือยัง (ซึ่งถ้ายัง ผู้เขียนขอเรียกร้องให้เรียกทับศัพท์ จะดีกว่า...ไม่เอาแบบ 'คอมพิวเตอร์วางตัก')

ผู้เขียนไม่ทราบเช่นกันว่า Geospatial ควรจะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไรดี เพราะคำว่า Geography และ Spatial มีความหมายใกล้เคียงกันมาก นั่นคือ การอ้างถึงตำแหน่ง ที่ตั้ง ถิ่นที่อยู่บนพื้นโลก...รอให้ท่านผู้รู้ กูรูเมืองไทย ที่มีชื่อเสียง มาให้ความหมายของคำดังกล่าว จะดีกว่านะครับ...

* ขออนุญาติเพิ่มคำศัพท์ควรรู้ อีกหนึ่งคำ คือ Geomatics เป็นศัพท์ที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ โดยมีความหมายครอบคลุมงานสำรวจฯ (ทุกสาขา), งานแผนที่ และรวมถึงงานทางด้าน GIS...ในต่างประเทศ คำว่า Geomatics ถูกนำมาใช้แทนคำว่า Survey หรือ Surveying
* เขียนว่า Geomatics ไม่ใช่ Geomatric

5 comments:

  1. ผมว่าเราน่าจะรู้จักกันนะครับ เมื่อซัก 10 ปีก่อน ผมนั่งอยู่หน้าห้องทำงานคุณ และคอยตรวจงานของคุณที่กรมแผนที่ทหาร และจำได้ว่ามาเจอกันอีกครั้งที่กระทรวงเกษตร ช่วยกันเรียงภาพถ่ายทางอากาศของกรมผังเมือง
    ไม่คิดว่า คนเขียนเว็บจะเป็นคนที่ผมรู้จัก ผมดูจากรูปทางขวา รู้สึกคุ้นๆ
    ขอนับถือน้ำใจครับ ที่ให้ความรู้สู่ผู้อ่าน เว็บแบบนี้มีน้อยในบ้านเมืองเรา
    พล(กรมที่ดิน)

    ReplyDelete
  2. อืม...ยุคนั้น คนที่เข้ามาตรวจงานผม มีทั้งที่มาจากกรมที่ดิน และมาจากกระทรวงฯ มีหลายท่านที่สับเปลี่ยนกันเข้ามา ผมจำไม่ได้ว่ามีท่านใดบ้าง แต่วันที่ไปเรียงภาพถ่ายทางอากาศของกรมผังเมือง ตอนนั้นมีกันอยู่ไม่เกิน 10 คน
    รบกวนติดต่อหลังไมค์ครับ
    ขอบคุณครับ

    ReplyDelete
  3. คอยติดตามอยู่ทุกเรื่องครับ ขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับความรู้ ที่ไม่มีสอนแบบพี่ในเว็บไซต์ภาษาไทย ผมเป็นวิศวกรสำรวจอยู่นิคมมาบตาพุด ตอนนี้พี่ทำงานอยู่ที่ไหนครับ อยากรู้จักเป็นการส่วนตัว นับถือๆ
    ยิ่งยศ

    ReplyDelete
  4. >> ขอบคุณครับ ตอนนี้ถูกส่งมาประจำอยู่ที่ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังครับ งานสำรวจ QC การออกแบบก่อสร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล
    ยินดีครับ ติดต่อหลังไมค์ได้ครับ
    สำหรับเนื้อหาในเว็บฯ (บทความต่างๆ) ผมคิดว่ายังมีข้อจำกัดทางด้านเนื้อหาอยู่พอสมควร บางเรื่องที่เนื้อหายาวๆ (ไม่มีเวลาพอที่จะอธิบายลงลึกในรายละเอียด) ผมพยายามที่จะจับเอาประเด็นที่สำคัญๆ (แก่นของเรื่อง) มาอธิบาย และสำหรับท่านใดที่ยังมีข้อสงสัยปลีกย่อยลงไป สามารถโพสต์ถามหน้าเว็บ หรือในบอร์ดฯได้ครับ
    ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมครับ

    ReplyDelete
  5. อ้าว อยู่ใกล้ๆกันนี่เอง ผมเพิ่งส่งเบอร์โทรไปให้ทางเมลครับ ผมมีโอกาสผ่านไปทางนั้นจะติดต่อไปครับพี่ นับถือๆ

    ReplyDelete