Thursday, 11 April 2013

เก็บตกงาน Grading ถนน จาก สปป.ลาว

>> หยุดเขียนบล๊อคไปเสียหลายสัปดาห์ เนื่องจากติดภารกิจงานสำรวจแผนที่ฯ ในเขตปกครองพิเศษไซสมบูรณ์ สปป.ลาว...ในระหว่างการเดินทาง ได้พบเห็นงาน Grading ของถนน ที่ บ.รับเหมาฯ กำลังดำเนินงานอยู่ ก็เลยถ่ายรูปมาฝากกัน ^_^
สัญญาณบอกให้หยุด (ข้างหน้ามีงานเกรดถนน)

พี่เบอร์ 18 ขี่ 'รถจักร' (มอเตอร์ไซด์) เป็นกองหน้า

การออกแบบแนว Slope ค่อนข้างชันทีเดียว 
คะเนด้วยสายตา อัตราส่วนงาน Cut น่าจะไม่เกิน 1 (ประมาณ 0.5:1) ตัด Bench กว้าง 1 เมตร

รับรองได้เลยว่า ฝนตกหนักคราวหน้า ได้มาเกรด กันใหม่อีกรอบ

สภาพดิน ค่อนข้างอ่อน และง่ายต่อการชะล้าง พังทลาย
(*น่าจะมีการสร้างแนวป้องกันดินพังทลาย)


>> ต่อมา ผู้เขียนได้มีโอกาสทดสอบเส้นทางตัดใหม่ จากเมืองกาสี ไปเมืองหลวงพระบาง (ไปออกที่เมืองนาน แล้วไปบรรจบที่เมืองเซียงเงิน) ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางได้ถึงกึ่งหนึ่ง หมายความว่า แต่เดิมการเดินทางจากเมืองกาสี ไปเมืองหลวงพระบาง ด้วยเส้นทางสายเก่านั้น จะต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง (ทางบนภูเขาสูง คดเคี้ยว)...แต่เมื่อใช้เส้นทางตัดใหม่ จะใช้เวลาแค่เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
ภาพถ่ายบางช่วง บางตอน ของถนน
อัตราส่วน คะเนจากสายตาน่าจะประมาณ 0.3-0.5 : 1
 (เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นที่ลาดชัน ประเภทหินแข็ง)
 ระหว่างการเดินทาง ยังพบเห็น 'งานทาง' อยู่หลายช่วง หลายตอน

แนวกั้นทาง (Safety) สำหรับหุบเหว หรือหน้าผาชัน สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
(ถ้าตกลงไป ไม่ต้องเสียเวลาตามลงไปเก็บ)


 'เอาไม่อยู่' ครับท่าน...ฝนมาคราวหน้า ค่อยมาเกรดกันใหม่อีกรอบ

 การระเบิดภูเขา ให้ลงไปถึงค่าระดับที่ออกแบบ (งานหินๆ)

เป็นเรื่องที่ 'ลักลั่น' อยู่เสมอๆ สำหรับ บ.รับเหมาฯ งานถนน 
(เมื่อต้องขุดกันไปให้ถึงค่าระดับที่ออกแบบ...ขุดมาก ขาดทุน...ก็ Cut มันแบบชันๆละกัน แล้วค่อยมาแก้กันใหม่)

>> สำหรับถนนตัดใหม่ จากเมืองกาสีไปยังเมืองหลวงพระบางข้างต้นนั้น ผู้เขียน (ส่วนตัว) ขอแนะนำว่า เหมาะสม/น่าใช้ เป็นทางสัญจรสำหรับรถขนาดเล็ก เบรกดี เครื่องยนต์ดี น้ำมันเต็มถัง เดินทางช่วงกลางวัน เท่านั้นครับ และไม่แนะนำให้ใช้ทางในช่วงฤดูฝน...เหตุผล เพราะว่า ทางตัดใหม่ดังกล่าว เขาออกแบบถนน แบบที่เรียกว่า 'ลากเกียร์กันยาว' ขึ้นก็ขึ้นทีเดียว ลงก็ลงทีเดียว...ถึงจะเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ถ้าเบรกไม่ดี ได้มีลุ้น มีเสียว อีกทั้งงาน Cut ค่อนข้างชันทีเดียว ในช่วงฤดูฝน ถึงได้ลุ้นกับ Land Slide...และทางบนยอดเขาสูงสายนี้ ไม่มีหมู่บ้านคน.....ยังเสียวได้อีก O_O
ภาพถ่ายดาวเทียม บางช่วง บางตอน ของเส้นทาง

จากภาพงาน Cut ถนนข้างต้น...ทำตามแบบ ชิวๆ กับ Civil 3D

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

4 comments:

  1. ผมทำงานเขื่อนที่ลาวได้ 3 ปีแล้วครับพี่ อยู่ที่นี่ค่าครองชีพแพงกว่าบ้านเรามากครับ จะซื้ออะไรทีต้องคิดก่อน เงินเดือนคนลาวก็ไม่ได้สูง ยังสงสัยอยู่ว่า คนลาวเขากินอยู่กันอย่างไร
    ขอขอบพระคุณสำหรับความรู้ ต่างๆ ครับ
    ทรงวุฒิ@LDG

    ReplyDelete
  2. การ GRADDING แบบเป็นชั้นเหมือนถนนที่ลาว บริเวณภูเขา ต้อง GRADE แบบไหนคับ รบกวนขอความรู้หน่อยคับ


    ขอบพระคุณมากครับ
    เอก

    ReplyDelete
  3. ถ้าเป็นแบบงานถนนมาตรฐาน ต้องทำการสำรวจชั้นดินที่อยู่ในแนวถนนที่ต้องการออกแบบก่อนครับว่า เป็นดินหรือหินประเภทใด (อาจจะทำการสุ่มเจาะสำรวจ เป็นช่วงๆ) แล้วทำการออกแบบถนน Cut/Fill Slope ตามประเภทของดิน หรือหิน นั้นๆ ซึ่งมีหลักการทางทฤษฏีที่ต้องร่ายกันยาวครับ (เอาไว้โอกาสหน้าจะพูดถึงเรื่องนี้ครับ)
    >> ถ้าเป็นหินแข็ง ยากต่อการชะล้างพังทลาย อัตราส่วนงาน cut จะไม่เกิน 0.5 ครับ ไม่ต้องตัด bench
    >> ถ้าเป็นดินอ่อน ง่ายต่อการชะล้าง หรือทรุดตัว อัตราส่วนงาน cut ที่ดีต้องมากกว่า 1.5 ขึ้นไป และต้แงมีการตัด bench และอาจจะต้องสร้างแนวป้องกันการพังทลายเสริมเข้าไปอีก ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณครับ เดียวจะรอติดตามหลักการทางทฤษฏีครับ

    เอก.

    ReplyDelete