Friday 10 August 2012

Civil 3D: Horizontal Curve Calculator (การคำนวณงานโค้งราบ)


>> บ่อยครั้ง ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสตรวจงานแบบร่าง drawing ของการออกแบบแปลนที่อยู่อาศัย เคหะฯ และสวนสารธารณะ ฯลฯ ซึ่งมีตัวออปเจ็คที่เป็นเส้นแสดงส่วนโค้ง ส่วนเว้า ตามการออกแบบของสถาปนิก...ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ตรวจว่า ส่วนโค้ง หรือส่วนเว้า โดยมีลูกศรชี้บอกรายละเอียดของค่ารัศมี+ความยาวโค้ง มัน 'ผิด' หรือไม่ถูกต้อง และขัดแย้งกับเส้นที่แสดงอยู่ในแบบร่าง อาทิ ส่วนโค้งของถนนด้านหนึ่ง มีรัศมีโค้ง เท่ากับ 100 ม. ความยาวโค้งเท่ากับ 150 ม. ค่ามุมหักเห เท่ากับ 95.526 องศา...แต่เมื่อ ทำการตรวจสอบจากเครื่องมือของโปรแกรม AutoCAD และคำนวณจากสูตรฯงานโค้ง พบว่าค่าที่คำนวณออกมาได้นั้น 'ไม่สัมพันธ์' กับแบบงานโค้ง ที่แสดงอยู่ในแบบร่าง (ขออนุญาติไม่พาดพิงถึงความบกพร่องของผู้ออกแบบ หรือ Draftsman)
บทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอพื้นฐานการออกแบบโค้งตามหลักการเลขาคณิตที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้คำสั่งการตรวจสอบรายละเอียดของโค้ง ด้วยโปรแกรม AutoCAD Civil 3D ดังการสาธิตในลำดับถัดไป

Hand On:
>> ทำการลากเส้น 2 เส้นมาบรรจบกัน ตามภาพด้านล่าง
>> ที่คำสั่ง Create Curve > Curve between Two Lines (หรือคลิกไอคอนที่ Ribbon)
<< คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย >>
ที่ Command Line
Select the first tangent: คลิกเลือกที่เส้นตรง หรือเส้น Tangent เส้นที่ 1
Select the second tangent: คลิกเลือกที่เส้นตรง หรือเส้น Tangent เส้นที่ 2
Select entry 
[Tangent/External/Degree/Chord/Length/Mid-ordinate/miN-dist/Radius] <Radius>: กด Enter
Specify radius: 50 (การสาธิต) กด Enter
* กด F2 ดูรายละเอียดค่าพารามิเตอร์ของโค้งที่ Command Line

การตรวจสอบการคำนวณงานโค้ง
>> ในการสาธิตถัดไป เป็นการแสดงการตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ต่างๆของโค้ง ว่าเป็นไปตามสเป็คหรือแบบแผนของงานหรือไม่
ตัวอย่างภาพด้านล่าง แสดงค่าพารามิเตอร์ต่างๆของโค้ง

>> ที่ Lines/Curves > Curve Calculator 

>> พิมพ์ค่า รัศมี 70.0 ที่ Radius

>> ที่ Fixed Property ให้เปลี่ยนจาก Delta Angle เป็น Radius

>> จะสังเกตุเห็นที่ช่อง Delta Angle เป็นสีขาว (สามารถพิมพ์ค่ามุมเข้าไปได้) พิมพ์ 93.930 จะพบว่าตัวโปรแกรมทำการคำนวณค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของโค้งออกมาดังภาพ
* จะสังเกตุเห็นความยาวของโค้ง มีค่าเท่ากับค่าความยาวของโค้งในแบบร่างข้างต้น (ถูกต้อง)

>> ทำการตรวจสอบงานคำนวณโค้ง จากตัวอย่างข้างต้น ซึ่งมีส่วนโค้งของถนนด้านหนึ่ง มีรัศมีโค้ง เท่ากับ 100 ม. ความยาวโค้ง เท่ากับ 150 ม. ค่ามุมหักเห เท่ากับ 95.526 องศา...นำค่าต่างๆ พิมพ์ใส่เข้าไปในโปรแกรม ซึ่งจะพบว่าค่าความยาวโค้งเท่ากับ 150 ม. เป็นค่าที่ไม่ถูกต้อง (ต้องเท่ากับ 166.724 ม.)

1 comment:

  1. แล้วจะให้โปรแกรมแสดงรายละเอียดของข้อมูลโค้ง
    อยากให้แสดงเป็นตาราง พอจะมีวิธีแก้ไขอย่างไง ครับ

    ReplyDelete