Sunday 11 August 2013

Civil 3D: การตรวจวิเคราะห์ 'ค่าระดับ' ของตัว Surface ด้วยชุดคำสั่ง Elevation

>> วันหยุดสุดสัปดาห์ ขออนุญาติหยิบยกเอาชุดคำสั่ง 'เบาๆ' ที่ใช้ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ หรือจำแนก 'ค่าระดับ' ของตัว Surface มาเล่าแจ้งแถลงไข ซึ่งผู้เขียน (ส่วนตัว) นิยมใช้ชุดคำสั่งดังกล่าวอยู่เป็นนิจ ในการแยกแยะ ตรวจหาค่าระดับของเส้นชั้นความสูงที่สนใจโดยเฉพาะ

Hand On:
1. เตรียม Surface ที่ต้องการตรวจสอบ วิเคราะห์ 'ค่าระดับ'

2. คลิกขวาที่ตัว surface เลือก Edit Surface Style > Display > ที่ drop down menu เลือก Plan > เปิดการแสดงผลของ Elevation ตามภาพด้านล่าง
<คลิกที่ภาพ เพื่อขยาย>

3. คลิกขวาที่ตัว surface เลือก Surface Properties > Analysis > 
- ที่ Analysis Type เลือก Elevation

การตรวจสอบวิเคราะห์ค่าระดับ ด้วยวิธี Number of range >> เป็นวิธีการแบ่งจำแนกค่าระดับ ด้วยการกำหนดค่า 'จำนวน' อันตรภาคชั้น (จำนวนชั้นที่กำหนด) โดยตัวโปรแกรมฯจะใช้ค่าระดับของตัว surface ค่าน้อยที่สุดและค่ามากที่สุด แล้ว 'หาร' ออกจากจำนวนอันตรภาคชั้น

การสาธิต: ใส่ตัวเลข 5 เพื่อแบ่งแยกค่าระดับ 
จากน้อยที่สุดไปหาค่าระดับที่สูงที่สุด ออกเป็น 5 ชั้น

ผลลัพธ์
* สามารถทำการปรับเปลี่ยนการแสดงผลของ Color Scheme ได้โดยการคลิกขวาที่ตัว surface เลือก Edit Surface Style > Display > Analysis ปรับเปลี่ยนการแสดงผล ตามภาพด้านล่าง

ผลลัพธ์
* สามารถทำการปรับเปลี่ยนค่าระดับ ที่ต้องการตรวจสอบ 'แบบเจาะจง' โดยการกำหนดค่าระดับที่ต้องการตรวจสอบ ลงไปในช่อง Min.-Max. Elevation
ผลลัพธ์

การตรวจสอบวิเคราะห์ค่าระดับ ด้วยวิธี Range interval >> เป็นวิธีการแบ่งจำแนกค่าระดับ ด้วยการกำหนดค่า 'ความกว้าง' ของอันตรภาคชั้น (ระยะห่างของค่าระดับ)

การสาธิต: ใส่ตัวเลข 10 เพื่อแบ่งแยกค่าระดับ 
ในแต่ละช่วง ออกเป็นช่วงละ 10 ม. โดยเริ่มจากค่าระดับที่น้อยที่สุด ไปหาค่าระดับที่สูงที่สุด

ผลลัพธ์
* กำหนดค่าระดับเริ่มต้น โดยเริ่มที่ค่าระดับ 500.000 ม. (ค่าระดับต่ำกว่านั้น ไม่แสดงผล)

การตรวจสอบวิเคราะห์ค่าระดับ ด้วยวิธี Range interval with datum >> เป็นวิธีการแบ่งจำแนกค่าระดับ ด้วยการกำหนดค่า 'ความกว้าง' ของอันตรภาคชั้น (ระยะห่างของค่าระดับ) 'คล้ายกัน' กับคำสั่ง Range interval ข้างต้น แต่ต่างกันเล็กน้อยในเรื่องการแสดงผล โดยคำสั่ง Range interval with datum จะแสดงผล (เฉดสี) ค่าระดับทั้งหมด แต่จะแบ่งแยกค่าระดับ (Datum) ที่กำหนดให้เห็นเฉดสี อย่างเด่นชัด

ผลลัพธ์
หมายเหตุ: ทั้ง 3 คำสั่งข้างต้น สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงผลของเฉดสี ได้ทุกๆอันตรภาคชั้น ตามต้องการ

Saturday 3 August 2013

'ทิศ' โบราณ...องค์ความรู้ที่กำลังจะสูญสิ้น ของชนชาวสารขันธ์

>> ผู้เขียน ได้มีโอกาสนั่งพูดคุย วิสาสะ กับอดีตนายช่างรังวัด วัยเกษียณท่านหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นการพูดคุย สนทนาที่มีคุณค่า และสาระประโยชน์ ครั้งหนึ่งในชีวิตเลยทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องราวในงานสำรวจรังวัด ตามหัวเมืองต่างจังหวัด เมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว ที่ยังเป็นยุคสมัยที่มี ผกค. (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) ยังเคลื่อนไหว อยู่ตามป่า ตามเขาลำเนาไพร และมีสายงานข่าวแฝงตัวอยู่ตาม หมู่บ้าน ร้านคามชนบท
เอาล่ะสิ...งานสำรวจฯ ซึ่งเป็นงานที่ยากลำบากพอตัวอยู่แล้ว ยังต้องบวก 'ความเสียว' เพิ่มเข้าไปอีก เมื่อต้องเดินทางไปทำงานสำรวจฯในถิ่นทุรกันดาร ในยุคสมัยที่ถนนลาดยาง 'เป็นของหายาก' ทางลูกรัง เป็นของหาง่าย 
ลุงนายช่างฯ แกเล่าว่าสมัยยังเป็นหนุ่ม ถูกสั่งให้ไปทำงานสำรวจรังวัด ที่ อ.หล่มสัก เพชรบูรณ์ ที่กำลังมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ของชาวบ้าน กับที่ดินของรัฐ...ระหว่างช่วงพักเที่ยงนั่งล้อมวงกินข้าวกับลูกน้อง 4 คน มีกลุ่มคนแต่งตัวเหมือนทหารแต่ใส่ชุดสีดำ โผล่ออกมาจากแนวป่าด้านหลังหลัง เอาปืน AK-47 มาจี้ที่หัว พวกลุงแกทุกคนถูกมัดมือด้วยเชือก และผูกปิดตาด้วยผ้าดำ จากนั้นก็ถูกลาก-ดึงให้เดินกันเป็นชั่วโมงๆ ขึ้นๆลง ลุยน้ำระดับเอว ทากเกาะขากินเลือด ก็แกะออกไม่ได้
ลุงแกว่า มาถูกเปิดผ้าที่ตาออก ก็พบว่าตัวเองยืนอยู่ที่ค่าย หรือน่าจะเรียกว่าหมู่บ้านขนาดเล็กๆ ใต้ร่มเงาป่าทึบ (เครื่องบินมองลงมา ไม่มีทางเห็นพื้นดิน)...ลุงแกว่าในค่าย มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย ที่ดูแล้วอายุยังน้อย ยังวัยรุ่นกันอยู่ ลุงแกกับพวกถูกพาไปพบหัวหน้า (ลุงแกว่า หัวหน้ากลุ่ม หรือหัวหน้าค่ายนี้ หน้าตาคุ้นๆเหมือนคนที่กำลังเป็นใหญ่เป็นโต ในสารขันธ์ประเทศแห่งนี้)...ลุงแก กับพวกถูกสอบสวนอย่างละเอียด ด้วยเหตุว่าเป็นคนของฝ่ายรัฐ โดยที่สายข่าวรายงานมาว่า พวกลุงแกเอา 'กล้องมาถ่ายรูป' พื้นที่ในเขตหมู่บ้านหลายวันแล้ว...ว่าแล้ว ก็เอากล้อง Wild T3 มาตั้งต่อหน้าลุงแกกับพวก ให้จำนวนด้วยหลักฐาน แบบคาหนังคาเขา กะว่า 'ดิ้นไม่หลุดแน่ๆ หลักฐานทนโท่' (ฮา)
ลุงแกว่า 'ตอนนั้น อยากจะหัวเราะก็หัวเราะไม่ออก' เพราะมีคนถือปืนรายล้อมอยู่พรึบ จึงตอบปฎิเสธ และพยายามอธิบายว่า 'มันเป็นกล้องสำรวจที่ดิน ไม่ใช่กล้องถ่ายรูป' ไม่มีฟิล์ม...ต้องได้อธิบายกันตั้งนาน สองนาน กว่าสถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ลุงแกว่า หัวหน้าค่ายเอากล้อง Wild T3 ออกมาลองทดสอบด้วยตนเอง เอากล้องฯตั้งบนสามขา ลองส่องไปตรงโน้น ตรงนี้ดูแล้วรู้สึก จะชอบอก ชอบใจ ซูมภาพก็ได้ แถมมีเข็มทิศด้วย...สุดท้าย ลุงแกว่า เมื่อตะวันรุ่งถัดมา แกกับลูกน้องถูกปิดตาด้วยผ้าดำ ถูกมัดมือ ดึง-ลาก มาส่งที่หมู่บ้าน...และเมื่อถามถึงกล้องฯ ปรากฎว่า 'โดนยึด'
ลุงแกบอกต่อไปว่า พอกลับมาถึงที่ทำงาน ก็ถูกสอบสวนเรื่องราว และต้องทำเรื่องแจ้งหลวงไป ฯลฯ...ลุงแกว่า จริงๆแล้ว พวก ผกค. กลุ่มนี้ดูแล้วก็ไม่น่ากลัวอย่างที่เคยคิด แต่ดูเหมือนจะเป็นพวกที่ถูกล้างสมอง หรือมีความเชื่อ ความศรัทธา ยึดมั่นในวิถีทางใดทางหนึ่ง เอามากโข...

>> ย้อนกลับมาที่เรื่องที่ผู้เขียนได้จั่วหัวเอาไว้ นั่นคือ 'ทิศ โบราณ' ซึ่งที่มาของบทความนี้ ก็มาจากคำสนทนาของลุงนายช่างฯ เมื่อเวลาลุงแก พูดถึงเรื่องทิศทาง ลุงแกยังใช้คำพูด หรือภาษาเก่าๆ อาทิ ขึ้นไปทางทิศอุดร เลี้ยวซ้ายไปทางประจิม ฯลฯ...เมื่อผู้เขียนถามเรื่องการเรียกชื่อทิศทางต่างๆ ลุงแกก็ถามกลับมาว่า ผู้เขียนรู้จักชื่อทิศทางโบราณ ทิศใดบ้าง ลองพูดให้ฟังหน่อยซิ...ผู้เขียน ก็พยายามนึกเท่าที่จะจำได้ แบบผิดๆ ถูกๆ
- ทิศเหนือ เรียกว่า ทิศอุดร (จำมาจากการ์ตูนเรื่องหมัดเทพเจ้าดาวเหนือ, หมัดอุดรเทวะ...ฮา)
- ทิศใต้ เรียกว่า ทิศทักษิณ (จำมาจากชื่อพระตำหนักฯ...'ไม่เกียวกับคนดูไบ')
- ทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศบูรพา (จำมาจากชื่อมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ จ.ชลบุรี)
ทิศประจิม ทิศพายัพ ทิศหรดี ทิศอาคเนย์ เคยได้ยินแต่นึกไม่ออกว่า อยู่ทิศทางใด
ลุงนายช่างฯ แกเลยว่า "นั่นงัย คนยุคสมัยนี้ กำลังจะลืมทิศ ลืมทาง 'องค์ความรู้ของชนชาติ" ที่สั่งสมมานับร้อย นับพันปี เอาแค่ 8 ทิศหลัก ผู้เขียนก็ไปไม่รอดแล้ว...ว่าแล้ว ลุงแก ก็ร่ายยาวให้ผู้เขียนฟัง และต้องจดลงกระดาษ กันลืม สำหรับทิศทางทั้ง 32 ทิศ 
4 ทิศพื้นฐาน ที่ส่วนใหญ่จะเคยผ่านหู ผ่านตา

8 ทิศ (ได้ยินบ้าง นานๆครั้ง แต่จำไม่ได้ว่าทิศไหน อยู่ทางไหนบ้าง)

16 ทิศ (เหมือนไม่เคยได้ยิน ผ่านหู)

32 ทิศ (ดับสนิท...ไม่เคยได้ยินเลย *_* '' )

>> เป็นองค์ความรู้ ที่มีค่า ที่กำลังจะสูญสิ้นไปจากสารขันธ์ประเทศของเราครับ...ดูตัวอย่างได้ จากรุ่นอายุของผู้เขียน ที่เพียงแค่ชื่อทิศทั้ง 8 ทิศก็แย่แล้ว...ฉะนั้น จึงต้องช่วยกันกระตุ้นเตือน ช่วยกันรักษาให้ดำรงค์คงไว้ และถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง ต่อๆไป...
การนำไปประยุกต์ใช้ในงานสนาม...ก็จะดีไม่ใช่น้อย

* ก่อนจากลาลุงนายช่างฯ ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะนำบทความเรื่อง การสำรวจรังวัดในสมัยโบราณ มาเล่าให้ลุงแกฟัง พร้อมทั้งตั้งคำถามที่ว่า 'ชนชาวขอม เมื่อยุคพันปีก่อนนั้น เขาทำได้อย่างไร'...ลุงแก ใช้เวลานั่งคิดอยู่นาน (ลุงแกบอกว่าเคยไปเที่ยว นครวัด-นครธม มาแล้ว) แล้วก็บอกว่า 'อืม ยากที่จะคิด' เพราะเครื่องไม้เครื่องมืออะไรก็ไม่มี แค่การรักษาระทางเป็นเส้นตรงหลายกิโลเมตรนี่ก็ยากแล้ว ลุงแกบอกว่า เรื่องทิศทางต้องใช้ดวงอาทิตย์เป็นแนวเล็งแน่นอน แต่การวัดระยะทางให้ตรงยาวเกินกิโลเมตรขึ้นไป จะว่าใช้การเล็งหลัก 3 หลัก ต่อเนื่องกันไป ต้องคลาดเคลื่อนแน่นอน อีกทั้ง เอาเครื่องมืออะไรมาใช้วัดระยะทาง เชือกยาวๆ จะยาวได้ซักกี่เมตร และเมื่อนำมาวัดต่อๆกันไป ทั้งการดึงเชือกตึง ดึงเชือกหย่อน แถมตกท้องช้าง ฯลฯ errror สะสมบานเลย...ลุงแกก็คิดไม่ตกเหมือนกันว่า ทำได้อย่างไร?