Sunday 28 April 2013

การสำรวจหาแหล่งน้ำมัน...ด้วย ดาวเทียมสำรวจน้ำมัน?

>> ในประเทศสารขันธ์ที่ผู้เขียนอาศัยอยู่  มีผู้ออกมาให้ข้อมูลเรื่องพลังงานน้ำมัน กับประชาชน ชนชาวเรา อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งจากฝ่ายรัฐบาล, ฝ่ายค้าน, กูรู ผู้รู้จากทีมกีฬาสี ฯลฯ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า
"อเมริกา (ฝรั่ง) มันเอา ดาวเทียม มาบินสแกนประเทศเราหมดทุกตารางนี้ว 'มีหรือไม่มี' มันรู้หมดแล้ว"

และเมื่อไม่นานมานี้ กับเสียงอื้ออึงคะนึงมี จากสื่อต่างๆ ไปจนถึง Talk of the Town ในโลกออนไลน์ ในประเด็นเรื่อง 'พลังงานน้ำมัน' ในประเทศ

ผู้เขียน ในฐานะ 'นักการแผนที่ใต้ดิน' (ฮา) ขออนุญาติไม่แสดงความคิดเห็นว่ามีการหมกเม็ด ซ่อนเร้น หรือลับ ลวง พราง พลังงานน้ำมันที่ไหนอย่างไร...นอกจากคำพูดสั้นๆว่า "ปตท. พลังไทย เพื่อใคร"

ขออนุญาติหยิบยกเอาประเด็นเรื่อง 'ดาวเทียมสำรวจน้ำมัน' มาเล่าแจ้ง แถลงไขว่า "การสแกนด้วยดาวเทียม ทะลุผ่านพื้นดินลงไปในชั้นใต้พื้นผิวโลก จนสามารถมองเห็นแหล่งน้ำมัน แหล่งก๊าซ" ว่าอยู่ที่ไหนบ้าง นั้น...มันทำไม่ได้

ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียม หรือจากภาพถ่ายทางอากาศ สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยการสะท้อนของสเปกตรัมเฉดสี เพื่อใช้ในการจำแนกสภาพพื้นผิว หรือสิ่งปกคลุมพื้นผิว อาทิ พื้นที่ภูเขา พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฯลฯ 
และภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายจากทางอากาศ ยังสามารถส่องทะลุ พื้นผิวน้ำ (ใส ไม่มีตะกอนแขวนลอย) จนสามารถเห็นลักษณะสัณฐานทางภูมิประเทศใต้ท้องน้ำได้ แต่...ไม่สามารถส่องทะลุพื้นผิวใต้ท้องน้ำลงไปได้อีก
ฉะนั้น "ไม่มี" ดาวเทียมใดๆ ที่สามารถส่อง หรือสแกนทะลุผ่านชั้นดินลงไปเห็น หลุมก๊าซ หลุมน้ำมัน ว่าอยู่ที่ไหน ตรงไหน มีเท่าไหร่...'ไม่มีครับ'...และถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสำรวจใหม่ๆ อาทิ LiDAR และ SAR แต่ก็เป็นเพียงเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจรูปทรงสัณฐานของพื้นผิวโลกเท่านั้น หาได้ใช่การ ส่องทะลุ มองเห็น แหล่งสินแร่ หรือแหล่งน้ำมัน ในชั้นใต้ดินลึกลงไปไม่
* ถ้าทำได้จริง เราๆท่านๆ ที่อาศัยอยู่ภายใต้หลังคาบ้าน เคหะสถานร้านถิ่น...พี่เบิ้มอเมริกา แกน่าจะส่องทะลุ มองลงมาเห็นได้ง่ายกว่า (You ทามอารายกานอยู่? อิอิ)  หรือไม่ก็ ซัดดัม กับบินลาเดน (ก่อนตาย) คงจะถูกจับตัวไปตั้งนานแล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลาหนีลงท่อ มุดถ้ำ ดำน้ำ กันให้หัวซุกหัวซุน (หัวกระเซิง)


แล้วภาพถ่ายดาวเทียม ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรในการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน?
>> เป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำมัน เกิดจากการการทับถมของซากพืช ซากสัตว์ (อินทรีย์วัตถุ) ในชั้นใต้พื้นผิวโลกเป็นเวลานับล้านๆ ปี จนเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (ก๊าซ และน้ำมัน) อยู่ในชั้นใต้พื้นผิวโลก และอาจจะมีการซึมออกมาสู่ผิวโลกถ้ามีช่องทาง
>> ในยุคอดีต การสำรวจแหล่งน้ำมัน นั้นต้องอาศัยวิธีการสังเกตุจาก 'การซึม'  ผ่านชั้นผิวดิน หรือชั้นผิวน้ำขึ้นมา ดังเช่นการค้นพบบ่อน้ำมัน ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้นำ 'น้ำมันดิบ' ขึ้นมาใช้ ตั้งแต่สมัยโบราณ

ภาพ: กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

"น้ำมัน เกิดจากการการทับถมของซากพืช ซากสัตว์" ซึ่งเป็นคำ keyword ที่สำคัญในการตั้งเป็นหัวข้อ คำถามที่ว่า "พื้นที่ตรงไหนล่ะ ที่เป็นแอ่งกะทะที่เกิดการทับถมของซากพืช ซากสัตว์ ขนาดใหญ่" ซึ่งคาดว่าน่าจะมีแหล่งน้ำมันดิบ อยู่ใต้ชั้นดิน

ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายจากทางอากาศ ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบวิเคราะห์ "เบื้องต้น" เพื่อค้นหาพื้นที่ๆ 'คาดว่า' น่าจะเป็นแหล่งที่รวบรวม ทับถมของอินทรีย์วัตถุ หรือเกิดจากการพัดพาขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ จากยุคล้านๆ ปีก่อน 
ภาพถ่ายดาวเทียม: บริเวณแหล่งก๊าซ น้ำมัน ปากอ่าวแม่น้ำสิแตง ประเทศพม่า

ภาพถ่ายดาวเทียม: บริเวณแหล่งก๊าซ น้ำมัน ปากอ่าวแม่น้ำโขง ประเทศเวียดนาม

ภาพถ่ายดาวเทียม: บริเวณแหล่งน้ำมันบนบก (ล่าสุด)  อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์

การสำรวจหาแหล่งน้ำมัน
หมายเหตุ: ผู้เขียน มิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจน้ำมัน แต่อย่างใด และบทความนี้ถูกเขียนขึ้นตามความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในการร่วมทีมสำรวจฯ (ทางด้านล่าง) และสอบซัก หาความรู้จากวิศกรต่างชาติหลายท่าน ที่ทำงานด้านการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน...ว่ามีวิธีการ หรือขั้นตอนสำคัญในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันอย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้กำหนดขอบเขตแปลงสำรวจฯแล้ว

1. การสำรวจทางจีโอฟิสิกส์ โดยการสำรวจ Seismic Profiling
น้ำมันเป็นของเหลว (และก๊าซ+คอนเดนเสท) ที่อยู่ใต้ชั้นดิน ชั้นหิน มีความลึกลงไปจากพื้นผิวโลกในระดับกิโลเมตรขึ้นไป วิธีการสำรวจที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบัน คือการวางไลน์ Cross Section บนแปลงสำรวจโดยการใช้เครื่องมือสำรวจ Seismic ซึ่งจะส่งผ่านคลื่นเสียงอัดลงไปยังผิวดิน และสะท้อนคลื่นเสียงนั้นกลับมายังตัวรับ ซึ่งความถี่ (Mhz) ของคลื่นเสียงต่างๆกัน ที่ถูกส่งผ่านลงไปใต้ชั้นผิวดิน เมื่อไปกระทบกับวัตถุ หรือวัสดุ อาทิ ชั้นดิน ชั้นน้ำใต้ดิน ชั้นหิน สายแร่ หรือของเหลวใดๆ จะสะท้อนออกมา มีค่าต่างกัน (ในระดับความลึกต่างๆ)
การสำรวจ Seismic Profiling ทางน้ำ (ทะเล) ก็อาศัยหลักการเดียวกัน คือการวางไลน์ Cross Section บนแปลงสำรวจ เพื่อนำมาสร้างโปรไฟล์หน้าตัดของชั้นดิน ชั้นหิน และทำการวิเคราะห์คำนวณหาปริมาตรของน้ำมันที่พบ ว่ามีมากน้อย คุ้มทุนหรือไม่ในการลงทุนเจาะ และสูบขึ้นมาใช้

2. การสำรวจทางจีโอฟิสิกส์ โดยการสำรวจ Gravity and Magnetic Survey (การสำรวจค่าแรงโน้มถ่วง และค่าสนามแม่เหล็ก)
โดยอาศัยหลักทฤษฎีที่ว่า พื้นที่ๆ ต่างกัน ทางด้านความสูง-ต่ำ รวมไปถึง 'แหล่งแร่ธาติ  แหล่งน้ำมัน' ที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จะแสดงผลของค่าความหนาแน่น ของสนามแม่เหล็กและ แรงโน้มถ่วงที่ต่างกัน และเมื่อทราบถึงค่าความแตกต่างดังกล่าวแล้ว จะทำให้สามารถจำแนกประเภท และขอบเขตของแหล่งทรัพยากร

3. การเจาะสำรวจฯ
เป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการพิสูจน์ว่า สิ่งที่กำลังค้นหา (น้ำมัน) นั้น มีอยู๋จริงหรือไม่ ซึ่งหลังจากการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล จากการสำรวจฯ จากทั้ง 2 วิธี ข้างต้นแล้ว ในขั้นตอนนี้ สามารถที่จะจำกัดวงตำแหน่ง 'ที่คาดว่า' น่าจะพบหลุมน้ำมัน และดำเนินการเจาะสำรวจฯต่อไป...

ตัวอย่างขั้นตอน การเจาะสำรวจหาแหล่งน้ำมัน ที่เขตทวีวัฒนา
ผลของการเจาะ ตามข่าวบอกว่า 'ไม่มีน้ำมัน' แต่คนวงในกลับพูดไปอีกอย่าง...งานนี้ 'อย่ากระพริบตา'


>> มีผู้ให้ข้อมูลว่า การค้นพบซากฟอสซิล หรือโครงกระดูกไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ในหลายจังหวัด ทางภาคอีสาน เป็นข้อพิสูจน์ที่สำคัญ ที่ทำให้ทราบว่าดินแดนแห่งนี้เคยเป็นดินแดนในยุคโลกล้านปีมาก่อน...และนั่น คือความเป็นได้ ในการค้นพบแหล่งน้ำมัน ใต้ดิน
ภาพทางขวา แสดงแนวเขตแปลงสัมปทานสำรวจน้ำมัน ในภาคอีสาน (เกือบทั้งภาค)

>> ภาพด้านล่าง เป็นภาพที่ถูกแชร์กันมากในโลกออนไลน์ ซึ่งอ้างถึงผลการสำรวจ 'ศักยภาพ' ของแหล่งก๊าซ และแหล่งน้ำมัน ในสารขันธ์ประเทศ โดยเฉพาะ ในเขตภาคเหนือ ภาคอีสาน ทะเลฝั่งอันดามัน และในอ่าวไทย

และกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาว่า ในเมื่อสารขันธ์ประเทศแห่งนี้มีกำลังการผลิต หรือกำลังจะผลิตได้ (ในอนาคต) ติดอันดับโลก...แต่ทำไม 'ราคาน้ำมัน' ที่ขายอยู่ในประเทศ ถึงได้ 'แพง' ติดอันดับโลก ทั้งๆ ที่เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน? 

ชนชาวเรา ที่กำลังนั่งๆ นอนๆ กันอยู่ตอนนี้...อาจจะกำลังนั่งทับ นอนทับ บ่อเงิน บ่อทอง อยู่ ก็เป็นได้
อีกไม่นานคงจะรู้...O_O
Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United


วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556
'กระจ่าง'

>> ติดตาม ฟังความคิดเห็นเรื่อง 'พลังงานน้ำมัน' จากผู้ใหญ่ผู้โตในกระทรวงพลังงาน และผู้รู้ กูรู้ เอ้ย กูรู ฯลฯ...มีกั๊ก อม อุบอิบ มุบมิบ พูดจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง หรือจริงเพียงครึ่งเดียว ฯลฯ...จนสุดท้าย ได้มาฟังการพูดอธิบายแบบภาษาชาวบ้าน จากรายการ 'คิดการใหญ่'...จึงได้ 'กระจ่าง'
ที่มา: รายการคิดการใหญ่

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Thursday 25 April 2013

Geospatial Article บนระบบปฏิบัติการ Android

>> สำหรับท่านที่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือแท๊ปเลต ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ซึ่งแต่เดิมนั้นการเปิดเว็บบล๊อค Geospatial Article ต้องอาศัย Apps เว็บบราวเซอร์ จากค่ายต่างๆ อาทิ Chrome, Opera, Dolphin ...etc.

เพื่ออำนวยความสะดวกต่อท่านให้มากยิ่งขึ้น ผู้เขียนจึงได้จัดทำเว็บบล๊อค Geospatial Article ในรูปแบบของ Application สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ดังภาพด้านล่าง
Link Download ไฟล์ .apk >> http://www.mediafire.com/?4u4uh1i7fxz6w4t

หรือ ดาวน์โหลดจาก QR Code

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United

Thursday 11 April 2013

เก็บตกงาน Grading ถนน จาก สปป.ลาว

>> หยุดเขียนบล๊อคไปเสียหลายสัปดาห์ เนื่องจากติดภารกิจงานสำรวจแผนที่ฯ ในเขตปกครองพิเศษไซสมบูรณ์ สปป.ลาว...ในระหว่างการเดินทาง ได้พบเห็นงาน Grading ของถนน ที่ บ.รับเหมาฯ กำลังดำเนินงานอยู่ ก็เลยถ่ายรูปมาฝากกัน ^_^
สัญญาณบอกให้หยุด (ข้างหน้ามีงานเกรดถนน)

พี่เบอร์ 18 ขี่ 'รถจักร' (มอเตอร์ไซด์) เป็นกองหน้า

การออกแบบแนว Slope ค่อนข้างชันทีเดียว 
คะเนด้วยสายตา อัตราส่วนงาน Cut น่าจะไม่เกิน 1 (ประมาณ 0.5:1) ตัด Bench กว้าง 1 เมตร

รับรองได้เลยว่า ฝนตกหนักคราวหน้า ได้มาเกรด กันใหม่อีกรอบ

สภาพดิน ค่อนข้างอ่อน และง่ายต่อการชะล้าง พังทลาย
(*น่าจะมีการสร้างแนวป้องกันดินพังทลาย)


>> ต่อมา ผู้เขียนได้มีโอกาสทดสอบเส้นทางตัดใหม่ จากเมืองกาสี ไปเมืองหลวงพระบาง (ไปออกที่เมืองนาน แล้วไปบรรจบที่เมืองเซียงเงิน) ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาการเดินทางได้ถึงกึ่งหนึ่ง หมายความว่า แต่เดิมการเดินทางจากเมืองกาสี ไปเมืองหลวงพระบาง ด้วยเส้นทางสายเก่านั้น จะต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง (ทางบนภูเขาสูง คดเคี้ยว)...แต่เมื่อใช้เส้นทางตัดใหม่ จะใช้เวลาแค่เพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
ภาพถ่ายบางช่วง บางตอน ของถนน
อัตราส่วน คะเนจากสายตาน่าจะประมาณ 0.3-0.5 : 1
 (เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นที่ลาดชัน ประเภทหินแข็ง)
 ระหว่างการเดินทาง ยังพบเห็น 'งานทาง' อยู่หลายช่วง หลายตอน

แนวกั้นทาง (Safety) สำหรับหุบเหว หรือหน้าผาชัน สามารถพบเห็นได้ทั่วไป
(ถ้าตกลงไป ไม่ต้องเสียเวลาตามลงไปเก็บ)


 'เอาไม่อยู่' ครับท่าน...ฝนมาคราวหน้า ค่อยมาเกรดกันใหม่อีกรอบ

 การระเบิดภูเขา ให้ลงไปถึงค่าระดับที่ออกแบบ (งานหินๆ)

เป็นเรื่องที่ 'ลักลั่น' อยู่เสมอๆ สำหรับ บ.รับเหมาฯ งานถนน 
(เมื่อต้องขุดกันไปให้ถึงค่าระดับที่ออกแบบ...ขุดมาก ขาดทุน...ก็ Cut มันแบบชันๆละกัน แล้วค่อยมาแก้กันใหม่)

>> สำหรับถนนตัดใหม่ จากเมืองกาสีไปยังเมืองหลวงพระบางข้างต้นนั้น ผู้เขียน (ส่วนตัว) ขอแนะนำว่า เหมาะสม/น่าใช้ เป็นทางสัญจรสำหรับรถขนาดเล็ก เบรกดี เครื่องยนต์ดี น้ำมันเต็มถัง เดินทางช่วงกลางวัน เท่านั้นครับ และไม่แนะนำให้ใช้ทางในช่วงฤดูฝน...เหตุผล เพราะว่า ทางตัดใหม่ดังกล่าว เขาออกแบบถนน แบบที่เรียกว่า 'ลากเกียร์กันยาว' ขึ้นก็ขึ้นทีเดียว ลงก็ลงทีเดียว...ถึงจะเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก ถ้าเบรกไม่ดี ได้มีลุ้น มีเสียว อีกทั้งงาน Cut ค่อนข้างชันทีเดียว ในช่วงฤดูฝน ถึงได้ลุ้นกับ Land Slide...และทางบนยอดเขาสูงสายนี้ ไม่มีหมู่บ้านคน.....ยังเสียวได้อีก O_O
ภาพถ่ายดาวเทียม บางช่วง บางตอน ของเส้นทาง

จากภาพงาน Cut ถนนข้างต้น...ทำตามแบบ ชิวๆ กับ Civil 3D

Author supported to Thai Topo and Land Surveyors United