Wednesday 27 June 2012

หมุดหลักฐานฯ งานสำรวจรังวัดดาวเทียมด้วย GPS

>> เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวดองหนองยุ่ง อยู่กับงานสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม GPS น่าจะเคยมีคำถามอยู่ในใจ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ 'หมุดหลักฐานฯ อ้างอิง' ของบ้านเรา (เยอะแยะ เต็มไปหมด จะใช้หมุดไหนดี ? ) บางสถานที่ (โรงเรียน) มีหมุดหล่อซีเมนต์ ครบทุกหน่วยงาน (จัดเต็ม)   

สยามประเทศของเรา มีหมุดหลักฐานฯ อ้างอิง GPS ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่:
- หมุดหลักฐาน ของกรมแผนที่ทหารฯ
- หมุดหลักฐาน ของกระทรวงเกษตรฯ
- หมุดหลักฐาน ของกรมที่ดิน
- หมุดหลักฐาน ของกรมโยธาธิการและผังเมือง
- หมุดหลักฐาน ของกรมชลประทาน
- หมุดหลักฐาน ของกรมทรัพย์ฯ
- หมุดหลักฐาน ของกรมเจ้าท่า

* ถ้าถามว่าหมุดหลักฐานฯ ของหน่วยงานใดแม่นยำที่สุด....ผู้เขียนมีคำตอบอยู่ในใจเป็นการส่วนตัวครับ จากประสบการณ์ที่ใช้ GPS ใช้ออก-บรรจบ (ไม่ต้องการพูดพาดพิงถึงชื่อหน่วยงาน) และ ผู้เขียนเคยถามคนที่รู้จักในหน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ต่างก็บอกว่าหมุดหลักฐานฯ ของตน มีเกณฑ์ความถูกต้องยอมรับได้ (งานชั้นที่ 1) และดีที่สุดของประเทศ  (*_* " )

* น่าจะมีประเทศของเราเพียงประเทศเดียวในโลก ที่ 'หน่วยงานราชการด้วยกัน' มีหมุดหลักฐานฯ ใช้แบบ 'ของใครของมัน' และถ้านำมาเช็คหรือตรวจสอบระหว่างกัน ยังพบมีความคลาดเคลื่อน ต่างกันเป็นเมตรก็มี? ทั้งแกนราบ แกนดิ่ง...ประเทศเพื่อนบ้านของเรา เขามีหน่วยงานของรัฐ รับผิดชอบทางด้านงานแผนที่ฯ 'เพียงหน่วยงานเดียว' เท่านั้น และมีความเป็น 'เอกภาพ' มากกว่าบ้านเราครับ

ข้อมูลหมุดหลักฐานฯ จากหน่วยงานภาครัฐ
>> หมุดหลักฐานฯ ของกรมแผนที่ทหารฯ, สามารถทำเรื่องขอซื้อ (คัดสำเนา) หมุดหลักฐานฯ ได้ที่กรมแผนทหารฯ (ราคาหมุดละ 400 บาท) หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ > http://www.rtsd.mi.th/MapInformationServiceSystem/index.php?option=com_content&view=article&id=19&Itemid=24


>> หมุดหลักฐานฯ ของกระทรวงเกษตรฯ สามารถทำเรื่องขอซื้อ (คัดสำเนา) หมุดหลักฐานฯ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนเทคโนโลยีการบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่ กรมพัฒนาที่ดินถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานครฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2579-0986 , Fax 0-2579-7590 E-mail : osm_6@ldd.go.th
ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ ของกระทรวงเกษตรฯ

>> หมุดหลักฐานฯ ของกรมที่ดิน (ผมไม่แน่ใจว่ามีจำหน่ายให้ทางภาคเอกชนหรือไม่?) 
ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ ของกรมที่ดิน (รุ่นใหม่ 'ล่าสุด')


ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ ของกรมที่ดิน (รุ่นใหม่)

>> หมุดหลักฐานฯ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าหน่วยงานดังกล่าว มีหมุดหลักฐานฯ อยู่กี่ประเภท แต่หนึ่งในนั้น มีหมุดหลักฐานฯ เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ซึ่งมีการสลัก ค่า E,N,Z (Indian Thailand-1975 / WGS84 และค่าระดับอ้างอิงค่าระดับน้ำทะเลปานกลาง) แสดงไว้บนตัวหมุด และหมุดหลักฐานฯดังกล่าว จะมีเพียงจังหวัดละหนึ่งหมุด เท่านั้น (สามารถ PM สอบถามได้ครับว่า แต่ละจังหวัด มีหมุดหลักฐานฯ ดังกล่าวตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง)
ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา ของกรมโยธาธิการและผังเมือง

ตัวอย่างภาพหมุดหลักฐานฯ ของหน่วยงานอื่นๆ
ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ ของกรมชลประทาน

ตัวอย่างภาพ หมุดหลักฐานฯ ของกรมทรัพยากรธรณี

Thursday 21 June 2012

ArcGIS: Extract Coordinates (ในกรณีที่ Shape file ไม่มีข้อมูลค่าพิกัด)


>> บ่อยครั้งที่ผู้เขียนได้รับไฟล์งาน GIS งานแผนที่ฯ ซึ่งเมื่อนำไฟล์ดังกล่าวมาเปิดดูด้วยโปรแกรม ArcGIS ปรากฎว่าในหน้าตาราง Attribute 'ไม่มี' ฟิลล์ข้อมูลค่าพิกัด E,N โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไฟล์นั้นมีลักษณะโครงสร้างเป็น 'Point' 

สำหรับผู้ใช้โปรแกรม MapInfo สามารถใช้ชุดคำสั่ง Extract Coordinate เพื่อสร้างฟิลล์ข้อมูลตำแหน่งค่าพิกัดได้ทันที...แต่สำหรับผู้ใช้โปรแกรม ArcGIS (ArcMap) สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้...

Hand On:
1. ที่ตารางข้อมูล Attribute สร้างฟิลล์ Easting และ Northing ขึ้นมาใหม่ และเลือกประเภทเป็น Double
*ทำขั้นตอนซ้ำ สำหรับฟิลล์ Northing


2. คลิกขวาที่ฟิลล์ Easting เลือก Calculate Geometry

3.เลือก Property: X Coordinate of Point สำหรับ Easting (Y สำหรับ Northing)
*ทำขั้นตอนซ้ำ สำหรับฟิลล์ Northing

ผลลัพท์

Wednesday 13 June 2012

Civil 3D: Google Earth Surface to Excel (E,N,Z)

>> AutoCAD Civil 3D ณ ปัจจุบัน คือโปรแกรมทางสายงาน CAD เพียงหนึ่งเดียวที่มีความสามารถในการนำเข้า Surface หรือสภาพพื้นผิวภูมิประเทศ จากโปรแกรม Google Earth เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล (Based Map) ในการวิเคราะห์สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ในเบื้องต้น (แบบปฐมภูมิ) ในระดับเกณฑ์ความถูกต้องทางแกนราบ 5-15 เมตร และ 7-25 ทางแกนดิ่ง (ขึ้นอยู่กับ 'คุณภาพ' ของภาพถ่ายดาวเทียมฯ ในแต่ละตำแหน่ง)
ข้อมูลสภาพพื้นผิวภูมิประเทศ DSM (Digital Surface Model) ที่นำเข้าสู่ตัวโปรแกรม Civil 3D เป็นข้อมูลที่แสดงสภาพพื้นผิวภูมิประเทศ ในรูปแบบเวกเตอร์ ซึ่งแสดงลักษณะของเส้นชั้นความสูง และพื้นผิวในรูปแบบ TIN (Triangulated Irregular Network) และยังสามารถที่จะทำการส่งออก เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ในรูปแบบฟอร์แมต DEM และฟอร์แมตอื่นๆ 

DSM >> DEM
การวิเคราะห์จุด DEM Spot ในรูปแบบ Point file โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้กับงานฐานข้อมูลทางด้าน GIS ตัวโปรแกรม Civil 3D สามารถทำการสร้างข้อมูลจุด ได้จากชุดคำสั่งที่ใช้ในการส่งออกข้อมูลจุดสำรวจ (รูปแบบไฟล์ Excel) ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งย่อยอีก 4 คำสั่ง คือ
1. Random Points
2. On Grid
3. Along Polyline/Contour
4. Polyline/Contour Vertices

* จาก 4 วิธีข้างต้น ค่าระดับจะถูกกำหนดจากพื้นผิว Surface ณ 'ตำแหน่ง' ที่มีการสร้างข้อมูลจุด

Random Points >> คำสั่งสร้างข้อมูลจุด โดยสามารถคลิกเลือก ณ ตำแหน่งใดๆ บนพื้นผิว Surface ที่ต้องการสร้างข้อมูล surface ณ ตำแหน่งที่คลิกเลือก

On Grid >> คำสั่งสร้างข้อมูลจุด โดยการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ บนพื้นผิว Surface และทำการกำหนดระยะกริด X,Y ที่ต้องการ

Along Polyline/Contour >> คำสั่งสร้างข้อมูลจุด โดยการกำหนดระยะที่ต้องการสร้างจุดไปตามเส้นชั้นความสูง อาทิ การกำหนดให้ทำการสร้างข้อมูลจุดทุกๆ 10 เมตรบนเส้นชั้นความสูง เป็นต้น

Polyline/Contour Vertices >> คำสั่งสร้างข้อมูลจุด โดยที่ข้อมูลจุดจะะถูกสร้างขึ้นทุกๆ node บนเส้นชั้นความสูง

ตัวอย่างการสร้างข้อมูลจุดบนพื้นผิว Surface ทั้ง 4 วิธี

ใช้คำสั่ง Export Points และเซฟเป็นไฟล์ .csv หรือ ฟอร์แมตอื่นๆ ตามต้องการ

* ชุดคำสั่งข้างต้น สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับไฟล์งาน Contour drawing ในกรณีที่ต้นฉบับไม่มี ข้อมูลจุดสำรวจ หรือเกิดการสูญหายของข้อมูลจุดสำรวจ

* น่าเสียดายที่ความสามารถในการทำงานร่วมกับโปรแกรม  Google Earth ได้ถูกตัดออกไปในเวอร์ชั่น 2013 ด้วยเหตุผลทางด้านการตลาด...นับตั้งแต่เวอร์ชั่น 2008 จนถึง 2012 และ Google Earth Extension สำหรับ AutoCAD (รุ่นสามัญ) เวอร์ชั่น 2008 จนถึง 2012 เช่นกัน

Wednesday 6 June 2012

Civil 3D: Drainage Design (Sample)

>> งานออกแบบ การก่อสร้างช่องทางระบายน้ำ เพื่อศึกษาปริมาตรงานดินที่จะเกิดขึ้นเบื้องต้น โดยใช้พื้นผิว Surface ที่ได้จากโปรแกรม Google Earth นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น (คร่าวๆ) ก่อนทำการสำรวจสภาพภูมิประเทศ (Topographic Survey) พื้นที่จริงต่อไป

เส้นชั้นความสูง และภาพถ่ายดาวเทียมฯ (Google Earth)

ทิศทางการออกแบบช่องทางระบายน้ำ

ออกแบบแนว Alignment

EG และ FG Profile

ออกแบบ Assembly ช่องทางระบายน้ำ

Corridor ช่องทางระบายน้ำ

แสดงแนวเส้น Sample line

ตารางแสดงปริมาณงานดินที่เกิดขึ้น

แสดงโปร์ไฟล์แต่ละ section
หมายเหตุ:
- ชุดคำสั่งที่ใช้ในการออกแบบช่องทางระบายน้ำข้างต้น เป็นชุดคำสั่งเดียวกันกับชุดคำสั่งที่ใช้ในการออกแบบถนนเกือบทั้งหมด (ยกเว้นชุดคำสั่ง Superelevation, Curve Tangent ซึ่งไม่จำเป็นสำหรับการออกแบบช่องทางระบายน้ำ) 

- ในการออกแบบข้างต้น เป็นการคำนวณปริมาตรงานดินที่จะเกิดขึ้นในภาพรวม มิได้แยกประเภท material สำหรับผนังคอนกรีตที่จะใช้