Thursday 29 December 2011

Tuesday 27 December 2011

Thursday 22 December 2011

Indian Thailand-1975 (UTM) กับ การใช้งานโปรแกรมประยุกต์

>> กรณีศึกษา เรื่องการแปลงระบบค่าพิกัด จาก WGS84 - UTM เป็น Indain Thailand 1975 - UTM สำหรับโซน 47 และ 48 โดยการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ กับการใช้ ค่าพารามิเตอร์ (Datum Definitions) ของกรมแผนที่ทหารฯ ของไทย

* ต้องขออภัยคุณ xxx เกี่ยวกับการใช้ค่า Datum Definition สำหรับค่าพิกัดในระบบ Indain Thailand 1975 - UTM ผลลัพธ์ที่คุณ xxx คำนวณได้ โดยใช้โปรแกรม GEOTRANS และค่า Datum Definition ของกรมแผนที่ทหารฯ ที่ใช้คือ X>204.4798, Y>837.8940, Z>294.7765

GEOTRANS
WGS84 - 47N
E 672978.171
N 1521044.256

Indian Thailand - 47N
E 673310.690
N 1520741.207

ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้โปรแกรม GEOTRANS ถือว่าใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้อง โดยค่าคลาดเคลื่อนเฉลี่ย จากค่าจริงอยู่ที่ แกน X=19-20 cms. และ แกน Y=17-18 cms. ค่าคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้น ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าตัวโปรแกรม GEOTRANS ได้ใช้ค่าพารามิเตอร์ ของกรมแผนที่ทหารฯ ดังต่อไปนี้ (ด้านล่าง) ไปคำนวณ (ตัวแปร) ร่วมหรือไม่
ส่วนการใช้โปรแกรม Blue Marble Geographic Calculator โดย กำหนดให้ใช้ค่าตัวแปร ของกรมแผนที่ทหารฯ (ข้างต้น) ได้ค่าผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ 

Indian Thailand - 47N (Blue Marble Geographic Calculator)
E 673310.879
N 1520741.385

และการใช้โปรแกรม AutoCAD Civil 3D และ AutoCAD MAP 3D โดย กำหนดให้ใช้ค่าตัวแปร ของกรมแผนที่ทหารฯ (ข้างต้น) ได้ค่าดังต่อไปนี้ 

Indian Thailand - 47N (AutoCAD Civil 3D และ AutoCAD MAP 3D)
E 673310.933
N 1520741.369

* กระทู้ของผู้เขียนก่อนหน้านี้ ได้คอมเมนท์ว่า ผลลัพท์ที่คุณ xxx คำนวณได้จากการใช้โปรแกรม GEOTRANS (โดยใช้ค่าพารามิเตอร์ Datum Definition ของกรมแผนที่ทหารฯ) ต่างกันกับที่ผู้เขียนคำนวณได้จากการใช้โปรแกรม Bluemarble Geographic Calculator (ใช้ค่า Default Setting ของตัวโปรแกรม) โดยมีผลลัพธ์ต่างกันประมาณ 1 เมตร (เชิงเวกเตอร์) ... ทั้ง 2 ผลลัพท์ที่คำนวณได้นี้ "ถูกต้องทั้งคู่" แต่ถูกต้องคนละระบบ (การยอมรับ) และการนำไปใช้ ครับ

มันเกิดอะไรขึ้น?? สำหรับ การแปลงค่าพิกัดจาก WGS84 - UTM ไปเป็น Indain Thailand 1975 - UTM 

แรกเริ่มเดิมที ปี พ.ศ.2518 องค์การแผนที่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (Defense Mapping Agency Hydrographic/Topographic Center : DMAHTC) ได้ทำการปรับแก้และย้ายศูนย์กำเนิดของพื้นหลักฐานจากเขากะเลียนเปอร์ ประเทศอินเดีย มาเป็นที่ภูเขาสะแกกรัง จ.อุทัยธานี การปรับแก้ครั้งนี้ใช้เทคนิคการรังวัดจากดาวเทียมดอปเปลอร์จำนวน 9 สถานี ซึ่งตำแหน่งสัมพัทธ์ที่ได้จากการรังวัดดาวเทียมดอปเปลอร์ มีความถูกต้องสูงกว่าที่ได้จากงานโครงข่ายสามเหลี่ยม เป็นจุดควบคุมโครงข่ายสามเหลี่ยมซึ่งประกอบด้วย จำนวนหมุดสามเหลี่ยมทั้งสิ้น 426 สถานี เรียกผลลัพธ์จากการปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยมในครั้งนี้ว่า พื้นหลักฐาน Indian1975 มีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ จุดศูนย์กำเนิดพื้นหลักฐาน เขาสะแกกรัง(หมุดสามเหลี่ยมหมายเลข91)...ที่มา : http://vconsultgis.blogspot.com/2008/12/thailand-map-datum-2.html
* จากโครงการปรับแก้ดังกล่าว ได้เกิดค่า Datum Definition ค่าใหม่ขึ้นมาคือ X>206, Y>837, Z>295 ชุดค่าตัวแปรดังกล่าวได้ถูกใช้ในงานสำรวจขนาดใหญ่ อยู่หลายโครงการ ในประเทศไทย อาธิ (เท่าที่ผู้เขียนเคยได้ใช้งาน)

1. ข้อมูลหมุดรังวัดดาวเทียม GPS ทั่วประเทศ ของกรมแผนที่ทหารฯ ชื่อโครงการ ยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ ปีงบประมาณ 2537
2. ข้อมูลหมุดรังวัดดาวเทียม GPS ทั่วประเทศ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วงปี 2545
3. ข้อมูลหมุดรังวัดดาวเทียม GPS ทั่วประเทศ (จังหวัดละ 1 หมุด) ของ กรมโยธาธิการและผังเมือง
( 3 โครงการดังกล่าวข้างต้น ใช้ค่า Datum Definition = X>206, Y>837, Z>295)

* เอาค่า Datum Definition ชุดดังกล่าว (X>206, Y>837, Z>295) มาคำนวณ โดยใช้โปรแกรม Blue Marble Geographic Calculator ได้ผลลัพธ์ ดังต่อไปนี้

Indian Thailand - 47N (Bluemarble Geographic Calculator)
E 673312.212
N 1520740.901

>> ได้ผลลัพธ์ต่างกันออกไปอีก (เป็นเมตร) ???

ต่อมา...กรมแผนที่ทหารฯ ได้ทำการสำรวจฯและปรับแก้โครงข่ายสามเหลี่ยม อีกครั้ง (อ่านเนื้อหา เพิ่มเติม : http://www.rtsd.mi.th/section/New_Section/Geodesy/pdf/11.pdf) และได้ประกาศใช้ค่า Datum Definition ชุดใหม่คือ
>> ดูเหมือนว่า ไม่น่าจะยุ่งยากเกินไปนัก จากเดิมที่ใช้ชุดค่าตัวแปรเก่า แล้วเปลี่ยนมาใช้ชุดค่าตัวแปรใหม่ จึงจะได้ค่าพิกัด Indian Thailand-1975 ที่ถูกต้อง...แต่เรื่องมันไม่จบอยู่เพียงเท่านี้ สำหรับท่านทั้งหลายที่ใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ทางด้านงานแผนที่ชั้นนำของโลก (ต่างบริษัท) อาธิ 
- ArcMAP, ArcView, ArcInfo
- MapInfo
- AutoCAD
- ENVI
- Blue Marble Geographic Calculator (Default Setting)
- GEOTRANS (Default Setting)
- Global Mapper
- Etc...

โปรแกรมเหล่านี้ล้วนมีระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) ฝังอยู่ในตัว UI ของตัวโปรแกรม แล้วทั้งสิ้น (บางโปรแกรม สามารถเข้าไปเปลี่ยนค่าบางตัวได้)...ผู้เขียนได้ลองใช้โปรแกรมเหล่านี้แปลงค่าพิกัดจาก WGS84 (UTM) มาเป็น Indian Thailand-1975 (UTM) ผลปรากฎว่า โปรแกรมทุกตัวให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกันมาก หรืออาจจะเรียกได้ว่า ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน แต่ จะต่างกันประมาณ 1 เมตร ถ้าเปรียบเทียบกับค่าที่คำนวณได้จากการ ใช้ชุดตัวแปร ทั้งเก่าและใหม่ ของกรมแผนที่ทหารฯ

และโปรแกรมทางด้านงานแผนที่ชั้นนำเหล่านี้มีค่า Datum Definition เท่ากับ X>209, Y>818, Z>290 โดยชุดค่าตัวแปรดังกล่าว ถูกกำหนดมาจาก คณะกรรมการ Geomatics Committee หรือในชื่อเดิม คือ Surveying & Positioning Committee (www.epsg.org) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับสากลของโลก มีหน้าที่กำหนดระบบมาตรฐานต่างๆ ให้กับงานสำรวจฯ เพื่อให้อยู่ในระบบมาตรฐานเดียวกัน (ทุกๆ ประเทศ)

>> งานเข้าแล้วสิ...แล้ว อันไหนล่ะ? คือค่าที่ควรใช้ เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องมากที่สุด สำหรับระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) ระหว่าง กรมแผนที่ทหารฯ กับ บริษัทผู้ผลิตซอฟแวร์ต่างๆ (ซึ่งอ้างอิงชุดตัวแปรที่ได้จาก EPSG)...อีกทั้ง ตำราทางด้านการใช้งานโปรแกรม GIS ของไทยหลายเล่มก็อ้างถึงการ แปลงค่าพิกัด โดยใช้ตัวคำสั่งในโปรแกรมเอง เพื่อแปลงค่าพิกัดเป็น Indian Thailand-1975 (UTM) (และนั่นหมายถึงว่า จะได้ค่าผลลัพธ์ต่างกันกับ ค่าผลลัพธ์ของกรมแผนที่ทหารฯ)

ในปัจจุบันแม้ว่า งานสำรวจฯส่วนใหญ่จะหันไปใช้ ระบบ WGS84 (UTM) แต่ก็ยังมี งานสำรวจอยู่ไม่น้อยที่ยังคงใช้ระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) อยู่ ฉะนั้น ผู้ใช้ชนชาวเรา ต้องพิจารณาให้รอบครอบว่า จุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ของงานของเรา ต้องการอ้างอิงกับระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) ขององค์กรใด ซึ่งจะต้องเลือกใช้ค่าตัวแปร Datum Definition ให้ถูกต้องสัมพันธ์กัน ทั้งในส่วนของงานสำรวจและการประมวลผลด้วยโปรแกรมประยุกต์

* อาจจะมีหลายท่านสงสัยว่าทำไม ผู้เขียนถึงชอบอ้างถึงการใช้โปรแกรม Blue Marble Geographic Calculator (www.bluemarblegeo.com) เพื่อใช้ในการแปลงค่าพิกัด ทั้งๆที่มีโปรแกรมแปลงค่าพิกัดอยู่มากมาย...ผู้เขียนขอแสดงความเห็น (ส่วนตัว) ดังต่อไปนี้ครับ
1. เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมงานกับชาวต่างชาติหลายท่าน ในโครงการสำรวจ โครงการหนึ่งในประเทศไทย และผู้เขียนได้สังเกตเห็นว่าโปรแกรมแปลงค่าพิกัด ที่ชาวต่างชาติในโครงการเลือกใช้คือ โปรแกรม Blue Marble Geographic Calculator (version 3.0 ณ. เวลานั้น) เมื่อสอบถามชาวต่างชาติเหล่านั้น ต่างก็พากันอ้างเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นโปรแกรมแปลงค่าพิกัดที่มีความถูกต้องมากที่สุด ครอบคลุมทุกระบบพิกัดทั่วโลก (แม้แต่ระบบพิกัดของสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) เก่าๆ อย่าง Krassovsky 1940 หรือระบบแบบที่หายากๆ อย่างประเทศเพื่อนบ้านของเราคือระบบพิกัด Lao National Datum 1997 ก็ยังมีในโปรแกรม) และเรายังสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ ของตัวโปรแกรมได้ในทุกระดับ และยังสามารถออกแบบ หรือสร้างระบบค่าพิกัดขึ้นใหม่ ได้ด้วยตนเอง

2. จากยุคอดีต ถึงยุคปัจจุบัน ผู้เขียนก็ยังใช้โปรแกรมดังกล่าวอยู่เรื่อยมา ทั้งงานสำรวจฯในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ตัวโปรแกรมได้รับการพัฒนา ไปถึงเวอร์ชั่น 7.5 แล้วครับ

เอกสารอ้างอิงชุดค่าตัวแปร Datum Definitions ของระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) ที่บริษัทผู้ผลิตซอฟแวร์ทางด้านงานแผนที่เลือกใช้ >> http://www.globalsecurity.org/military/library/policy/army/fm/3-09-70/appj.htm

และ กระทู้ตอบของ ผู้พัฒนาโปรแกรม ArcGIS (ESRI) แสดงความเห็น ต่อระบบพิกัด Indian Thailand-1975 (UTM) ซึ่งอ้างอิงถึงการใช้ชุดค่าตัวแปร ตามระบบมาตรฐานสากลของ OGP (EPSG)

We do have an Indian 1975 to WGS84 transformation. If no Indian 1975 transformations are listed, then somehow the data's definition isn't matching the gcs definition that we include in the geographic/datum transformation's definition.

Hopefully, I'm misinterpreting your post wrong...
Is the GLC2000 data defined as WGS84, or Indian 1975? You need to define it as WGS84, and then let ArcMap project it on-the-fly after you set the transformation in the UI.

If all else fails, the parameters I have for the Indian 1975 to WGS84 transformation are:

x axis translation: 209.0
y axis translation: 818.0
z axis translation: 290.0

If you have version 9.2, use the Create Custom Geographic Transformation tool to define a custom transformation. The method is geocentric translation.

Melita

P.S. You might want to download the OGP Geodetic Parameter Dataset at http://www.epsg.org and do a (single) transformation search for the data's area of interest to see if they list any transformations we don't have yet.
Melita Kennedy
ESRI Product Specialist 

Civil 3D: Grading >> การออกแบบพื้นที่ (เตรียมพื้นที่)

บทความอ้างอิง:

Hand On:
1. การเตรียมพื้นที่ (Surface)...สมมุติว่าเป็นพื้นที่ภูเขาที่ อ.วังน้ำเขียว นะครับ (กำลังเป็นข่าวอยู่พอดี)  affraid

2. ออกแบบอาณาเขตที่ต้องการเกรดปรับพื้นที่ (ใช้เส้น Polyline) และใส่ค่าระดับ ที่ต้องการให้กับเส้นออกแบบ (คลิกที่เส้น เลือก Properties > เปลี่ยนค่าระดับที่ Elevation)

3. ที่แท็ป Home > Feature Line > Create Feature Lines from Objects > คลิกเลือกที่เส้นออกแบบ แล้วกด Enter จะมีหน้าต่าง Create Feture Lines แสดงขึ้นมา ดังรูป

4. ที่แท็ป Home > Grading > Grading Creation Tools > จะมีหน้าต่าง Grading Creation Tools แสดงขึ้นมา
* ในการส่ธิตนี้เลือกวิธีการแบบ Grading to Distance โดยกำหนดให้มีระยะทางการเกรด Cut/Fill ไปที่ระยะทางสูงสุด 100 เมตร

5. Create Grading Group >> การสร้างกลุ่มของ Object ในกรณีมีหลายๆ พื้นที่ Grading

* เลือก base surface พื้นผิวเดิม ในขั้นสาธิตนี้ คือ surface ที่ชื่อ DTM > Click Ok แล้วจะมีหน้าต่าง Create Surface แสดงขึ้นมา ให้เห็นภาพรวม ที่เราได้กำหนดไปเมื่อสักครู่ 

> Click Ok...สังเกตที่แท็ป Prospector > +Surface > จะมีการสร้าง surface ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนชื่อ หรือ ค่าอื่นๆ ได้ โดยการคลิกขวาที่ surface แล้วเลือก Properties

- Select Surface...เป็นการเลือก base surface เหมือนกับ...ในกรณีมี surface มากกว่าหนึ่ง

- Grading Layer...เป็นการกำหนด Layer ให้กับตัวพื้นผิว grading ที่จะสร้าง

- Click ที่ Drop Down Menu เลือก Grade to Surface > Click ที่ > ติ๊ก เลือกเส้น Feature Line...ดูคำสั่งที่ Command Line
>Select the grading side...คลิกเลือก พื้นที่ว่างๆ ของขอบด้าน 'นอก'
> Apply to entire length? [Yes/No] :Enter
> Cut Format [Grade/Slope] :Enter
> Cut Slope <2.00:1>:....ในขั้นสาธิตนี้ เลือก Cut 2:1 ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นค่าอื่นๆ ก็พิมพ์ลงไปแล้วกด Enter
> Fill Format [Grade/Slope] :Enter
> Fill Slope <2.00:1>:....ในขั้นสาธิตนี้ เลือก Fill 2:1 ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นค่าอื่นๆ ก็พิมพ์ลงไปแล้วกด Enter

- โปรแกรมจะทำการสร้างพื้นผิว Grading ด้านนอกของเส้นออกแบบ และแนวตัด slope (2:1) ของพื้นที่ภูเขา ดังภาพ

- Click ที่ Surface ของแบบพื้นที่ ๆ สร้างเสร็จ แล้วคลิกขวา เลือก Object Viewer


*เปลี่ยนการแสดงผลเป็นแบบ Shaded 

- ถ้าต้องการหาปริมาตรของ งานดิน ให้คลิกที่ Grading Volume Tools จะมีหน้าต่างแสดงปริมาณงานดิน ดังภาพ
หมายเหตุ:  ในการหาปริมาณงานดินโดยการใช้โปรแกรม Civil 3D นั้น นอกจากวิธีการสาธิต การหาปริมาณงานดินข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหนึ่งชุดคำสั่ง (Ribbon) ที่สามารถใช้คำนวณหาปริมาณงานดินได้ => ที่แท๊ป Analysis > Volumes > Volumes...จะมีหน้าต่าง Panorama ซึ่งเราสามารถนำเข้า surface ทั้ง 2 ตัว เข้ามาคำนวณร่วมกัน เพื่อหาปริมาณงานดินตัด ดินถม ต่อไป

ชุดคำสั่ง ประเภทของ Grading ที่ใช้ในโปรแกรม Civil 3D
1.0 Grade to Distance => กำหนดระยะทางให้กับการเกรด ภายในระยะทางที่กำหนด
2.0 Grade to Elevation => กำหนดค่าระดับให้กับการเกรดว่า ต้องการเกรดไปหยุดที่ ค่าระดับที่เท่าไหร่
3.0 Grade to Relative Elevation => กำหนดความลึกที่ต้องการเกรด ว่าต้องการ 'ความลึก' (-) หรือต้องการเกรดแบบเป็นกองสูงขึ้น (+) ที่เท่าไหร่
4.0 Grade to Surface => กำหนดให้เกรดไปตามหน้า surface

* AutoCAD Land Desktop จะต้องทำการ Define stratum/Define site >...etc. หลายขั้นตอนกว่าจะได้ปริมาตรออกมา



การหาปริมาณงาน โดยวิธีตัด section ทุกๆระยะ 10 เมตร (ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบ ปริมาณงานดิน เก่า-ใหม่ ของชุดคอนทัวร์ ทั้ง 2 ชุด)
เอาคอนทัวร์ทั้งสองชุด ที่มีอยู่ มาสร้างเป็น surface 2 ตัว (ชุดละ 1 surface...ต้องมีพื้นที่ surface คร่อมกันอยู่นะครับ) ต่อจากนั้น ให้สร้างเส้น Alignment ผ่านพื้นที่ๆ ต้องการตัด section...จากตัวอย่าง ผมเอา surface ของบ่อ กับ surface ของพื้นที่เดิม มาเปรียบเทียบกัน โดยวิธีตัด section

ถัดมาให้ทำการ Sample Line เส้น Alignment ที่เราสร้าง แล้วกำหนดว่า เราจะสั่งตัดที่ระยะเท่าใด (ในที่นี้ เลือก 10 เมตร) และเลือกแนวตัดว่าจะให้ออกจาก CL ไปทางซ้าย-ขวา เป็นระยะเท่าใด และตัดจาก station ใดบ้าง หรือ ทั้งหมด


Create Section views>>>Create Multi Views (แสดงตัวอย่าง เพียง 1 ภาพ)


Analyze>>>Total Volume Table (แสดงตัวอย่าง เพียง 1 ตาราง)

* ส่วนอีกวิธีที่ง่ายกว่า ก็คือการเอา surface ทั้ง 2 ตัว มาคำนวณร่วมกันใน Analysis > Volumes > Volumes ที่หน้าต่าง Panorama ให้เลือก surface ทั้ง 2 ตัวมา 'เปรียบเทียบ' กัน ก็จะได้ปริมาตร ออกมาครับ


Civil 3D: Grading >> การออกแบบพื้นที่ เพื่อการขุดบ่อ (Pond)

Hand On:
1. การเตรียมพื้นที่ (Surface)

2. ออกแบบรูปบ่อ (ใช้เส้น Polyline) และใส่ค่าระดับ 'ขอบบ่อ' ที่ต้องการให้กับเส้นที่ออกแบบ (คลิกที่เส้น เลือก Properties >> เปลี่ยนค่าระดับที่ Elevation) จากนั้นให้ทำการ Offset ระยะจากขอบใน (ที่เราสร้าง/ออกแบบ) ออกมาถึงขอบนอก ตามที่ต้องการ (ทำตามคำสั่งที่ Command line)...จากขั้นตอนนี้เราจะได้เส้น 2 เส้นที่ขนานกัน และมีค่าระดับเท่ากัน

3. ที่แท็ป Home >> Feature Line >> Create Feature Lines from Objects >> คลิกเลือกทั้ง 2 เส้น แล้วกด Enter จะมีหน้าต่าง Create Feture Lines แสดงขึ้นมา ดังรูป

4. ถ้ามีการใส่ชื่อ อย่าลืม un-tick ที่ Name...หลังจากนั้น คลิก Ok. และจะเห็นว่า เส้นรูปบ่อที่เราออกแบบไว้มีสีเปลี่ยนไปตาม Layer (ที่กำหนด) และ สังเกตที่แท็ป Prospector >> Site >> จะมีการสร้าง Site1 ขึ้นมา ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนชื่อ หรือ ค่าอื่นๆ ได้ โดยการคลิกขวา แล้วเลือก Properties...ขั้นตอนนี้เราก็จะได้เส้น Feature Line ไว้สำหรับใช้ในคำสั่ง Grading ต่อไป

5. ที่แท็ป Home >> Grading >> Grading Creation Tools >> จะมีหน้าต่าง Grading Creation Tools แสดงขึ้นมา
* เลือก base surface พื้นผิวเดิม ในขั้นสาธิตนี้ คือ surface ที่ชื่อ UTM >> Click Ok แล้วจะมีหน้าต่าง Create Surface แสดงขึ้นมา ให้เห็นภาพรวม ที่เราได้กำหนดไว้ >> Click Ok...สังเกตที่แท็ป Prospector >> +Surface >> จะมีการสร้าง surface ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนชื่อ หรือ ค่าอื่นๆ ได้ โดยการคลิกขวาที่ surface แล้วเลือก Properties

- Select Surface (2)...เป็นการเลือก base surface เหมือนกับ (1)...ในกรณีมี surface มากกว่าหนึ่ง
- Grading Layer (3)...เป็นการกำหนด Layer ให้กับตัวพื้นผิว grading ที่จะสร้าง
- Click ที่ Drop Down Menu (4) เลือก Grade to Surface >> Click ที่ (5) >> ติ๊ก เลือกเส้น Feature Line เส้นนอกสุด...ดูคำสั่งที่ Command Line

>Select the grading side...คลิกเลือก พื้นที่ว่างๆ ของขอบด้าน 'นอก'
>Apply to entire length? [Yes/No] :Enter
>Cut Format [Grade/Slope] :Enter
>Cut Slope <2.00:1>:....ในขั้นสาธิตนี้ เลือก Cut 2:1 ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นค่าอื่นๆ ก็พิมพ์ลงไปแล้วกด Enter
>Fill Format [Grade/Slope] :Enter
>Fill Slope <2.00:1>:....ในขั้นสาธิตนี้ เลือก Fill 2:1 ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็นค่าอื่นๆ ก็พิมพ์ลงไปแล้วกด Enter


โปรแกรมจะทำการสร้างพื้นผิว Grading ด้านนอกของขอบบ่อ ดังภาพ
>> Click ที่ Drop Down Menu (4) เลือก Grade to Relative Elevation >> Click ที่ (5) >> ติ๊ก เลือกเส้น Feature Line เส้นในสุด...ดูคำสั่งที่ Command Line
>Select the grading side:...คลิกเลือก พื้นที่ว่างๆ ของขอบด้าน 'ใน'
>Apply to entire length? [Yes/No] :Enter
>Relative Elevation <0.000>: -5...ในขั้นสาธิตนี้ เลือกระดับ ความลึก ของบ่อ ให้ลึก 5 เมตร (-5) แล้วกด Enter
>Format [Grade/Slope] :Enter
Slope <2.00:1>: 1 ...ในขั้นสาธิตนี้ เลือกอัตราส่วนของแนว slope 1:1


โปรแกรมจะทำการสร้างพื้นผิว Grading ด้านในของขอบบ่อ ดังภาพ


Click ที่ Surface ของบ่อที่สร้างเสร็จ แล้วคลิกขวา เลือก Object Viewer

เปลี่ยนการแสดงผลเป็นแบบ Shaded (มีหลายแบบให้เลือก)
* จะสังเกตเห็น ที่ขอบบ่อจะว่าง ไม่มีพื้นผิว ซึ่งเราสามารถเติมพื้นผิวในส่วนนี้ได้โดย Click ที่ Drop Down menu (5) เลือก Create Infill >> เลือกพื้นผิว (แนวขอบบ่อ) ตรงที่ยังไม่มีพื้นผิว >> Click Enter แล้วใช้คำสั่ง Object Viewer หมุน drawing ดูจะพบว่า ตัวขอบบ่อ ได้มี surface เติมลงไปแล้ว

>> ถ้าต้องการหาปริมาตรของ งานดิน ให้คลิกที่ Grading Volume Tools (7) จะมีหน้าต่างแสดงปริมาณงานดิน ดังภาพ

* การสาธิตงานออกแบบพื้นที่การขุดบ่อ (Pond) ที่ได้สาธิตข้างต้นนั้น การใช้งานชุดคำสั่งที สามารถเรียกใช้ได้จากหลายๆทาง ไม่ว่าจะเป็นชุดคำสั่งจาก Ribbon หรือจากเมนูคำสั่งหลัก ตลอดจนการพิมพ์คำสั่งจาก Command Line โดยตรง ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ใช้งานแต่ละคน

* งานออกแบบการขุดบ่อที่ได้สาธิตนี้ เป็นเพียงการออกแบบตัวรูปร่างบ่อ ทั่วๆไป และในชุดคำสั่งของ Grading ยังมีคำสั่งปลีกย่อยอีกเล็กน้อย ที่ไม่ได้อธิบายการใช้งานไว้ เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไข ตัวผิว Grading ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้...ท่านผู้ศึกษา สามารถทำการประยุกต์และปรับเปลี่ยน/พลิกแพลง ในขั้นสูง หรือ ซับซ้อน ต่อๆไป อาธิ การออกแบบบ่อ หรือ Pit ของเหมืองแร่ เป็นต้น

Civil 3D: Grading (Advance) >> Earth Dam

บทความอ้างอิง:

Civil 3D: การประยุกต์งานออกแบบ 'เขื่อนดิน' ด้วยชุดคำสั่ง Grading
หมายเหตุ: เนื่องจากงานเขื่อน เป็นงานที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ ในศาสตร์หลายๆ แขนง ที่ต้องนำมาประกอบร่วมกัน อาธิ อุทกศาสตร์, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา และ วิศวกรรมศาสตร์ ฉะนั้นในส่วนของการสาธิตนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะในเรื่อง ของงาน Grading เท่านั้น โดยไม่รวมถึงงานออกแบบร่วม (ส่วนประกอบอื่นๆ กับตัวเขื่อนดิน) ทางวิศกรรมอื่นๆ อาธิ งานออกแบบ Diversion channel, งานฐานราก, ประตูกั้นน้ำ, Tailrace, แนวควบคุมการกัดเซาะ...ฯลฯ


Hand On:
1. การเตรียมพื้นที่...งานเขื่อนดิน

2. การกำหนดค่าระดับน้ำกับเก็บสูงสุด ในการสาธิตนี้ คือ ค่าระดับ 415.00 เมตร และแนวสันเขื่อนดินสาธิต เผื่อขึ้นไปอีก 1 เมตร คือ 416.00 เมตร

3. ใช้ชุดคำสั่ง ของ Grading ในการสร้างพื้นผิว ของแนวเกรด batter slope

4. ทำการ Merge surface ของ Grading surface และ ตัว surface เดิมเข้าด้วยกัน เพื่อตรวจสอบแนว ค่าระดับน้ำกักเก็บ

5. จำลองค่าระดับ กักเก็บน้ำสูงสุดที่ 415.00 เมตร ของแนวระดับน้ำหน้าเขื่อน เพื่อตรวจสอบแนวเขตน้ำท่วมถึง ว่าพื้นที่ใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม...และทำการคำนวณ ปริมาณงานดินถมในเบื้องต้น


Civil 3D: Grading (Advance) >> Pit-Ramp Design

>> ตัวอย่างสาธิต การประยุกต์งานวางแผน ออกแบบ Pit ของเหมืองแร่ ในขั้น Finished Design (Primary Grade) หรือเรียกว่า Final Pit Limit Design ซึ่งเป็นการออกแบบ Pit ในภาพรวมเบื้องต้น (ก่อนที่จะดำเนินการ ขุด เจาะ จริงๆ) ที่แสดงถึง รูปร่างของ Pit ภายหลังจากดำเนินการขุด ขนแร่ออกไปทั้งหมดแล้ว โดยมีการพิจารณา ตัวรูปร่างของ Pit ซึ่งจะมีลักษณะการเกรด, แนวลาด และ ลักษณะของ Ramp ตลอดจนผลลัพธ์ของการคำนวณปริมาตร ของปริมาณแร่สำรองทั้งหมด (ที่คาดว่าจะได้รับ) ในเบื้องต้น และการสาธิตนี้ ได้นำชุดคำสั่ง ของงาน ออกแบบถนน มาประยุกต์ใช้ออกแบบตัว Ramp ลงไปในบ่อ แทนการสร้างแนวเกรด (Percent Grade) ลงไปทีละชั้น

Hand On:
1. ออกแบบพื้นที่ Pit (Finished Design) โดยการออกแบบแนวลาดชัน Batter Cut (ขึ้นอยู่กับประเภทชั้นดิน) และการออกแบบพื้นที่ Batter cut ลงไปทีละชั้นโดยการสร้างเส้น Feature Line (ทีละชั้น)>> ที่ Home >> Feature Line >> Create Feature Line from Stepped Offset
* ทำการ Merge surface ของตัว surface ของ Pit และ surface ของสภาพพื้นที่เดิม เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในการออกแบบในขั้นต่อไป

2. การประยุกต์ใช้ชุดคำสั่ง งานออกแบบ แนวถนน (Ramp) ลงไปใน Pit แทนการออกแบบด้วยชุดคำสั่ง Grading จากเส้น Feature Line

แบบ Assembly ที่เลือกใช้

3. ทำการ Merge surface ของตัว surface ของ Pit+พื้นที่เดิม กับ Corridor surface เข้าด้วยกัน ดังภาพ

4. ทำการคำนวณปริมาณต่างๆ โดยชุดคำสั่ง ของงานออกแบบถนน